กรมประมงเผยข่าวดี เพาะพันธุ์ "ปลาการ์ตูน" โกลด์ครอสธันเดอร์ สำเร็จเป็นครั้งแรก เตรียมส่งกระตุ้นวงการปลาทะเลสวยงามไทย
ข่าวที่น่าสนใจ
ข่าวดี! วงการตลาดปลาสวยงามไทย เมื่อกรมประมง เปิดตัว “ปลาการ์ตูน” โกลด์ครอสธันเดอร์ สายพันธุ์ใหม่ สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยใช้เทคนิคผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ ส่งกระตุ้นวงการปลาทะเลสวยงามไทย เตรียมส่งกระตุ้นวงการปลาทะเลสวยงามไทย สร้างความหลากหลายด้วยลวดลายแปลกใหม่ให้เหล่านักเลงปลาตู้ได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
ดร.เฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง (Gold x thunder maroon) เผยว่า ปลาการ์ ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์ (Gold x thunder maroon) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas biaculeatus เป็นปลาที่กรมประมงใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามหลักพันธุศาสตร์ปลาสวยงามด้วยการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาการ์ ตูนทองโกลด์นักเก็ตกับปลา การ์ตูนแดงทันเดอร์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่พบในธรรมชาติแต่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงพันธุ์จากโรงเพาะฟัก
โดยลูกพันธุ์ปลาที่ได้มีลักษณะลวดลายแปลกใหม่แตกต่างไปจากพ่อและแม่พันธุ์จึงเรียกลักษณะนี้ว่า โกลด์ครอสทันเดอร์ โดยปลาสายพันธุ์นี้เป็นปลาที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อกระตุ้นศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเท่านั้น กรมประมงไม่มีนโยบายปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด
นายสามารถ เดชสถิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาและอนุรักษ์พันธุ์ปู ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกระบี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า เบื้องต้นได้ศึกษาวิจัยการเพาะพันธุ์ปลา การ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์ ตั้งแต่ปี 2563 และในปีงบประมาณ 2565 โดยได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อศึกษาวิจัยตามหลักพันธุศาสตร์จนประสบความสำเร็จ
ซึ่งความท้าทายของการเพาะพันธุ์ปลาสายพันธุ์นี้ คือ
- จำเป็นต้องศึกษาจนทราบรูปแบบการถ่ายทอดลักษณะโกลด์นักเก็ต และลักษณะแดงทันเดอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งปลาสายพันธุ์แท้ หรืออย่างน้อยต้องทราบลักษณะทางพันธุกรรมของปลาแต่ละตัว
- หลังจากนั้นจึงนำปลาที่มีลักษณะทั้ง 2 มาผสมกัน เพื่อให้ลักษณะทั้งสองปรากฏอยู่ด้วยกันและถ่ายทอดให้มีการแสดงลักษณะใหม่ออกมา
ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ลักษณะโกลด์ครอสทันเดอร์ เกิดจากปฏิกิริยาร่วมแบบสะสมของยีนต่างตำแหน่งระหว่างยีนควบคุมลักษณะตัวสีทองจากปลา การ์ตูนทองโกลด์นักเก็ตกับยีนควบคุมลักษณะลายพื้นขาวจากปลา การ์ตูนแดงทันเดอร์ ซึ่งปลานี้ได้เกิดขึ้นจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ให้เกิดลักษณะแปลกใหม่ ไม่ได้เป็นการดัดแปลงพันธุกรรมแต่อย่างใด
ลักษณะเด่น
- จะอยู่ที่ลักษณะรูพรุนและความพลิ้วไหวของลายสีขาวบนพื้นลำตัวสีแดงซึ่งแตกต่างไปจากปลา การ์ตูนทั่วไปที่เคยมี
- โดยที่มาของชื่อเกิดจากการรวมชื่อของสายพันธุ์พ่อและแม่ปลา
- Gold = gold nugget maroon = ชื่อของปลา การ์ตูนแก้มหนามที่มีลักษณะลายตัวสีทอง
- X = cross = การผสมข้าม
- Thunder = thunder maroon = ชื่อของปลา การ์ตูนแก้มหนามที่มีลักษณะลายพื้นขาว
ปลาสายพันธุ์นี้มีชีววิทยาเหมือนปลา การ์ตูนแก้มหนามทั่วไป คือ
- ความยาวสูงสุดประมาณ 17 ซม.
- ปลาเพศผู้เจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ในขณะที่เพศเมียเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน
- โดยมีลักษณะเป็นปลากะเทย นั่นคือ ปลาเพศผู้สามารถเปลี่ยนเพศเป็นเพศเมียได้ แต่เพศเมียไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเพศผู้ได้
- อายุขัยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 15 ปี
ปัจจุบัน ปลาดังกล่าวเริ่มได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ต้นทุน เพื่อขอเสนอจำหน่ายกับสำนักงานเงินทุนหมุมเวียนของกรมประมง และมีแผนถ่ายทอดเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงไปยังเกษตรกร เพื่อให้สามารถเพาะเลี้ยงและจำหน่ายสู่ตลาดปลาทะเลสวยงามของไทยให้เกิดความหลากหลายต่อไปในอนาคต
อธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า “ปลาการ์ตูน” โกลด์ครอสทันเดอร์ นับเป็นปลาสวยงามอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาจากโรงเพาะฟักสามารถเลี้ยงร่วมกับปลาทะเลสวยงามอื่น ๆ ในตู้ปลาได้ตามปกติ แต่ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาที่เป็นนักล่า
และที่สำคัญปลาที่กรมประมงเพาะขยายพันธุ์ได้ทางนักวิชาการจะปรับพฤติกรรมการกินตั้งแต่ขั้นตอนอนุบาลให้สามารถกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อาหารสดจึงสะดวกสำหรับผู้เลี้ยงมากยิ่งขึ้น
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกระบี่ 141 ม.6 ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ เบอร์โทรศัพท์ 075-662059-60
ข่าวที่เกี่ยวข้อง