กรมการแพทย์ เปิด 3 สาเหตุ ทำไม "อุดฟัน" แล้ว ถึงยังมีอาการเสียวฟันอยู่ เช็ค
ข่าวที่น่าสนใจ
การ “อุดฟัน” คืออะไร
- เป็นการบูรณะฟันเพื่อทดแทนเนื้อฟัน ที่สูญเสียไปจากฟันผุ ฟันแตก หรือวัสดุอุด ฟันเก่าชำรุด ให้กลับมามีรูปร่างเหมือนเดิมและใช้งานได้ปกติ
- โดยขั้นตอนการอุด ฟัน ทันตแพทย์จำเป็นต้องกรอตัดเนื้อฟัน ทาสารที่มีความเป็นกรดอ่อน หรือฉายแสงที่อาจเกิดความร้อน
- ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ของเหลวในท่อเนื้อฟันเกิดการเปลี่ยนแปลง และกระตุ้นประสาทฟันในชั้นลึก ๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับการอุด ฟันแบบสีโลหะหรืออุด ฟันแบบวัสดุสีเหมือนฟัน
- ยิ่งฟันผุใกล้โพรงประสาทฟันมากเท่าใด โอกาสเกิดภาวะเสียวฟันภายหลังการอุด ฟัน ก็มีโอกาสเกิดมากขึ้นตามไปด้วย
เปิด 3 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน
กรณีที่ฟันผุลึกมาก
- การอุด ฟันไม่สามารถป้องกันเชื้อที่มีแนวโน้มทะลุโพรงประสาทฟันได้ทั้งหมด อาการเสียว ฟันอาจรุนแรงหรือมีปวด ฟันร่วมด้วย
- เนื่องจากเนื้อฟันและโพรงประสาทฟันไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งจำเป็นต้องรักษาคลองรากฟันและทำครอบฟัน
กรณีที่วัสดุอุดฟันไม่แนบสนิทกับโพรงฟัน
- เนื่องจากธรรมชาติของวัสดุที่ใช้อุด ฟันจะหดตัวลงหลังจากทำการอุด ฟัน จนอาจเกิดรอยรั่วระหว่างชั้นวัสดุอุดและตัวฟัน
- ทำให้ของเหลวหรือเชื้อโรคผ่านเข้ารอยรั่วขนาดเล็กดังกล่าวไปกระตุ้นโพรงประสาทฟัน
- ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเสียวฟันระยะเวลาสั้น ๆ ขณะรับประทานอาหารที่มีรสหวาน
จุดสบฟันภายหลังการอุด ฟันมีการเปลี่ยนแปลง หรือการบดเคี้ยวอาหารแรงเกินไป
- การกัดเค้นฟัน อาจส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟัน และภายหลังการกรอแก้ไข หรือลดพฤติกรรมการกัดเค้นฟัน อาการเสียวฟันดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดลง
- ในบางกรณีที่ผู้ป่วยกัดแล้วเสียวฟัน และอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องหาสาเหตุของฟันร้าวร่วมด้วย
ทั้งนี้ อาการเสียวฟันของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกันในหลายปัจจัย หากอาการเสียวฟันไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 4 สัปดาห์ แนะนำให้มาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการแก้ไขต่อไป
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง