เปิดแผลเน่า “ระบอบทักษิณ” ย่ำยีการบินไทย

เปิดแผลเน่า "ระบอบทักษิณ" ย่ำยีการบินไทย

ติดตามต่อเนื่องจากการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี , นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรมช.คมนาคม ยุครัฐบาลไทยรักไทย ,นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 และเป็นเหตุทำให้ บมจ.การบินไทย ได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

ขณะที่ประเด็นใหญ่ที่หลายคนตั้งคำถามว่า 1 ในผู้ถูกกล่าวหาชั้นไต่สวน อย่าง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม ทำไมถูกป.ป.ช.ตีตกข้อกล่าวหา และเหตุผลว่าเพราะ นายสุริยะไม่เกี่ยวข้องการอนุมัติจัดซื้อ เป็นข้อเท็จจริงมากน้อยขนาดไหน หลากหลายข้อสงสัยเหล่านี้ยังคงรอคำอธิบายชัด ๆ จากผู้เกี่ยวข้อง ด้วยเพราะต้องย้ำว่าด้วยการเผยแพร่เอกสารอ้างอิงว่า มีชื่อ นายสุริยะ ปรากฏอยู่ในเอกสาร เป็นผู้ลงนามนำเสนอครม.ยุครัฐบาลทักษิณ เพื่อขออนุมัติจัดซื้อเครื่องบิน 2 ล็อตใหญ่ให้กับบมจ.การบินไทย

และเพื่อให้ชัดเจนว่าทำไมเรื่องนี้ ถึงได้รับความสนใจอย่างมาก ต้องย้อนกลับไปดูผลการสอบสวนของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ในช่วงปี 2563 ที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช เป็นประธาน จากการแต่งตั้งโดย นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในขณะนั้น

เริ่มจาก 1.การจัดซื้อเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ รุ่นแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ มูลค่าตามบัญชี ณ วันส่งมอบ มียอดเงินจำนวน 53,043.04 ล้านบาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2.เครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 ใช้งานได้เพียง 6-10 ปี จากค่าเฉลี่ยอายุการใช้งานเครื่องบินโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ 20 ปี โดยมีภาวะด้อยค่า หลังจากการปลดระวาง และจอดรอจำหน่าย ไม่ต่ำกว่า 22,943.97 ล้านบาท

 

 

3. เครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นดังกล่าว เริ่มทำการบินตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 ถึง 7 ม.ค.2556 ทั้งเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก ,กรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และเส้นทางอื่นๆ รวม 51 เส้นทาง และประสบปัญหาขาดทุนในทุกเส้นทาง รวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 39,859.52 ล้านบาท

 

 

4.ตัวเลขภาวะขาดทุน แยกเฉพาะเป็นเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส มีมูลค่ารวม 12,496.55 ล้านบาท เนื่องจากแอร์บัส A340-500 และ A340-600 เป็นเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ ใช้เครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานสูง แต่ในช่วงเปิดทำการบินมีจำนวนผู้โดยสารน้อย

5.สรุปผลขาดทุนเฉพาะจากการจัดซื้อและการบริหารจัดการเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ ยอดรวมไม่ต่ำกว่า 62,803.49 ล้านบาท

6.ผลการตรวจสอบฯ บมจ. การบินไทย มีภาระค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลรักษาสภาพเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่น ในช่วงจอดรอจำหน่ายเป็นจำนวนเงินอีก 1,344.87 ล้านบาท แยกเป็นค่าใช้จ่ายจากการเข้าร่วมโครงการ Total Care Agreement (TCA) ในกรณีที่มีการติดตั้งเครื่องยนต์ Trent-500 มากับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2550 และมีระยะซ่อมบำรุงระหว่างปี 2548-2558 มูลค่า 1,129.60 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงระหว่างปี 2559-2560 (ณ เดือน ม.ค.2560) อีก 215.27 ล้านบาท

7.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาทิ ค่าเครื่องยนต์อะไหล่ รุ่น Trent-500 จำนวน 7 เครื่อง สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จากการจัดซื้อตั้งแต่ปี 2546 และทยอยส่งมอบอะไหล่ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2557 ถึงเดือนธ.ค.2550 วงเงินรวม 3,523.17 ล้านบาท (อะไหล่เครื่องละ 503.31 ล้านบาท) แต่ปรากฎว่าไม่เคยมีการนำมาใช้งานแต่อย่างใด

 

ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาเครื่องฝึกจำลอง (Flight Simulator) สำหรับ เครื่องบินแบบ A340 จำนวน 1 เครื่อง มูลค่า 688.09 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงเครื่องฝึกบินจำลองให้สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องบินแบบแอร์บัส A-330 และ A-340 อีก 144.61 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 832.7 ล้านบาท

เบ็ดเสร็จคณะกรรมการตรวจสอบ ที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช เป็นประธาน ระบุว่ามูลค่าความเสียหายจากการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A-330 และ A-340 ได้ทำให้บมจ.การบินไทย เกิดความเสียหาย คิดเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 68,271.53 ล้านบาท

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของผลตรวจสอบจากคณะกรรมที่ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในขณะนั้น แต่งตั้งขึ้น และนำไปสู่การยื่นคำร้องต่อป.ป.ช.เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2563 เนื่องจากแผนการจัดซื้อเครื่องบินในยุครัฐบาลทักษิณ คือ จุดสำคัญทำให้ บมจ.การบินไทย ต้องประสบภาวะการขาดทุนถึงขั้นวิกฤต

เนื่องจากกรณีการจัดซื้อเครื่องบินของบมจ.การบินไทย ในยุคนั้นถือว่าเป็นการอนุมัติให้จัดซื้อเครื่องบินล็อตใหญ่ที่สุด จนบมจ.การบินไทยมีตัวเลขหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และตามมาด้วยปัญหาการทุจริต ผ่ านการจ่ายสินบนของบริษัท โรลส์ – รอยซ์ ถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐและพนักงานการบินไทย วงเงินกว่า 254 ล้านบาท เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มีการจัดซื้อเครื่องยนต์อะไหล่ 7 เครื่องยนต์และการซ่อมบำรุงแบบเหมาจ่าย Total Care Agreement จนกลายเป็นข่าวฉาวระดับโลก

และยังมีการให้ข้อมูลเรื่องการจ่ายเงินสินบนไม่ต่ำกว่า 5% หรือประมาณ 2,652 ล้านบาท ผ่านนายหน้าคนกลางให้กับนักการเมือง เจ้าหน้าที่ และพนักงานการบินไทย แลกกับการจัดซื้อเครื่องบินรุ่น A340 จำนวน 10 ลำ ซึ่งทั้งหมดถูกเชื่อมโยงว่าเกิดขึ้นในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ทั้งสิ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ
ชวนเที่ยวงาน "เที่ยวถิ่น กินอร่อย สมุทรปราการ" ปี 67 จัดใหญ่จัดเต็มส่งท้ายความสุขช่วงปลายปี
"ทักษิณ" เล่นใหญ่ กลับเชียงใหม่ นำ "พิชัย" ชิงนายกอบจ. เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อไทยได้ 10 สส.
แตกตื่นทั้งวอร์ด! หามผู้ป่วยพม่าติดโรคห่า 1 ราย ข้ามแดน ส่ง รพ.แม่สอด
ซีพีเอฟ ประมงเพชรบุรี และเรือนจำกลางเพชรบุรี นำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำน้ำปลาจากปลาหมอคางดำ ตรา “หับเผย เขากลิ้ง”
หน่อยยลดา มั่นใจ 4 ปี ผลงานเข้าถึงใจ พี่น้องประชาชน ย้ำอีก4 ปี ผลงานที่ค้างจะเดินหน้าก้าว ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
DSI ส่งสำนวนฟ้องคดี "ดิไอคอน" 3.4 แสนแผ่น ยึดทรัพย์สินได้ 747 ล้าน จ่อเอาผิดกลุ่มแม่ข่ายเพิ่ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น