หายนะ “การบินไทย” ทักษิณก่อหนี้ก่อนเจ๊ง

หายนะ "การบินไทย" ทักษิณก่อหนี้ก่อนเจ๊ง

จากประเด็นปัญหาการทุจริตที่ทั้งนักการเมืองและผู้บริหารบมจ.การบินไทย ในยุคอดีตร่วมกันก่อขึ้น จนกระทั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้เริ่มแจ้งข้อกล่าวหา บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547

เนื่องเพราะการอ้างถึงนโยบายการเปิดน่านฟ้าเสรี หรือ “ Open Sky Policy ” แล้วเร่งอนุมัติจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส ล็อตดังกล่าว ได้สร้างความเสียหายในภาพรวมทางธุรกิจให้กับ บมจ.การบินไทย เป็นเม็ดเงินมหาศาล แต่ประเด็นสำคัญ คือ บาดแผลที่ระบอบทักษิณ สร้างตราบาปไว้กับ บมจ.การบินไทย มีเพียงเท่านั้นจริงหรือไม่

โดยเฉพาะในช่วงปี 2547 ตรวจพบว่ายอดหนี้สินรวมของบมจ.การบินไทย อยู่ที่ 138,887 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นเป็น 172,426 ล้านบาท ในปี 2548 และ 183 ,353 ล้านบาท ในปี 2549

สอดคล้องกับตัวเลขหนี้สินภายใต้เงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของหนี้สินระยะยาว ในช่วงปี 2547 จนถึง 2550 มีจำนวนเพิ่มจาก 39,672 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 70,572 ล้านบาท ณ ยอดสรุปในวันที่ 31 ธ.ค. 2550

ที่น่าสนใจคือนับตั้งแต่ปี 2544 หรือ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศ มีข้อสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับยอดหนี้สินระยะยาวของบมจ.การบินไทย โดยเฉพาะมูลค่าหนี้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน ดังนี้

ปี 2544 หนี้สินภายใต้เงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน ตามรายงานประจำปี 2544 มียอดหนี้ 9,927 ล้านบาท แต่มีการปรับปรุงตามรอบบัญชีใหม่และแสดงในรายงานประจำปี 2545 เพิ่มเป็น 44,822 ล้านบาท

ส่วน ปี 2545 ยอดหนี้ภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบินของบมจ.การบินไทย อยู่ที่ 34,801 ล้านบาท จากนั้นก็มีการปรับขึ้นโดยเฉลี่ยแทบทุกปี คือ

ปี 2546 จำนวน 35,292 ล้านบาท
ปี 2547 จำนวน 39,672 ล้านบาท
ปี 2548 จำนวน 49,101 ล้านบาท
ปี 2549 จำนวน 53,486 ล้านบาท
ปี 2550 จำนวน 70,572 ล้านบาท
ปี 2551 จำนวน 65,336 ล้านบาท
ปี 2552 จำนวน 68,028 ล้านบาท
ปี 2553 จำนวน 54,732 ล้านบาท
ปี 2554 จำนวน 47,793 ล้านบาท
ปี 2555 จำนวน 61,611 ล้านบาท
ปี 2556 จำนวน 63,319 ล้านบาท
ปี 2557 จำนวน 61,389 ล้านบาท

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รายละเอียดสำคัญเพิ่มเติม พบข้อมูลว่าในช่วงที่มูลค่าหนี้สิน บมจ.การบินไทย มีการปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ปัจจัยหลัก ๆ มาจากคำอธิบายจากเจ้าหน้าที่การบินไทย ระบุว่า บมจ.การบินไทยต้องมีผลประกอบการขาดทุนก็คือ ต้นทุนจากหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบินที่เพิ่มพูนขึ้น และบมจ.การบินไทยต้องมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จากการจัดซื้อจัดหาเครื่องบิน ที่ถูกอ้างว่าเป็นไปตามแผนเสริมศักยภาพให้กับบมจ.การบินไทยเพื่อทดแทนเครื่องบินที่มีสภาพเก่า และเพื่อความพร้อมเพื่อแข่งขันกับสายการบินนานาชาติ

ขณะที่ บทวิเคราะห์ของ บริษัท ทริสเรทติ้ง ในขณะนั้น ระบุว่า ภาระหนี้ของ บมจ.การบินไทย มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ปี 2554 และคาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะปานกลาง เนื่องจากบริษัทมีการลงทุนด้วยเงินกู้เป็นจำนวนมากในการจัดหาเครื่องบิน โดยระหว่างปี 2554-2556 บริษัทได้ใช้เงินลงทุนไปแล้วกว่า 100,000 ล้านบาท

ทางด้าน กัปตัน โยธิน ภมรมนตรี ให้ความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก อธิบายถึงสภาพการจัดซื้อเครื่องบินในยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ทื่เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้บมจ.การบินไทยต้องประสบภาวะขาดทุน โดยยกตัวอย่างว่า การอนุมัติจัดซื้อเครื่องบินแบบ A340-500 มูลค่าลำละ 5,232 ล้านบาท จำนวน 4 ลำ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในการนำการบินไทยไปสู่จุดปัญหาขาดทุน

ทั้งที่สภาพัฒน์ ในขณะนั้นแนะนำให้ผู้บริหารบมจ.การบินไทยทบทวนการตัดสินใจแล้วก็ตาม ซึ่งต่อมาฝูงบิน A340-500 ก็พิสูจน์ให้เห็นถึงตัวเลขขาดทุนย่อยยับปีละประมาณ 3 ถึง 5 พันล้านบาท และที่สุดจำเป็นต้องหยุดใช้

ขณะที่ต่อมามีคนพร้อมจะซื้อในราคาลำละ 760 ล้านบาทถึงขั้นวางมัดจำ แต่ในราคานี้บริษัทจะขาดทุนลำละประมาณ 1,595 ล้านบาท คณะกรรมการการบินไทยจึงตัดสินใจไม่อนุมัติให้ขาย ส่งผลทำให้เครื่องบินทั้ง 4 ลำอยู่ในสภาพขาดทุนยิ่งขึ้นถ้าขายออกไปหรือไม่ก็ต้องปล่อยทิ้งเป็นเศษเหล็ก

รวมถึงยังเคยปรารภถึงขั้นว่า ผมเริ่มต้นทำงานกับบริษัทการบินไทยตั้งแต่เมื่อปี 2503 จนถึงปี 2539 และเป็นระยะเวลา 36 ปี ที่อยู่ในฐานะพนักงานการบินไทยและได้รับโบนัสตั้งแต่ปี 2508 จนกระทั่งเกษียณอายุงาน รวมเป็นเวลา 31 ปี เนื่องจากบริษัทไม่เคยขาดทุนเลย รวมถึงการบริหารองค์กรในยุคดังกล่าวก็เป็นไปด้วยความราบรื่น ภายใต้การบังคับบัญชาของกองทัพอากาศ ขณะที่ปัจจุบันจากการติดตามสถานการณ์ของบมจ.การบินไทย พบว่าปัญหาที่หลายคนเรียกว่าวิกฤตนี้สาเหตุหลักใหญ่เลยมาจากมูลหนี้สินที่บมจ.การบินไทยแบกรับภาระไว้เป็นจำนวนมาก

 

ขณะเดียวกัน กัปตันโยธิน ยังได้อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างแผนการจัดซื้อเครื่องบินของบมจ.การบินไทยกับประเด็นที่ถูกตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ บมจ.การบินไทยมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และสุดท้ายกลายเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่ารายจ่าย

ที่สูงกว่ารายได้ เพราะแผนการจัดซื้อเครื่องบินไม่สัมพันธ์กับตัวเลขรายได้ของบมจ.การบินไทย ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าภาวการณ์ขาดทุนที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความผิดพลาดในเชิงนโยบายการวางทิศทางการตลาดให้สอดคล้องกัน

อาทิ การดำเนินธุรกิจของบมจ.การบินไทย โดยการจัดซื้อเครื่องบิน A 340-500 ในช่วงรัฐบาลทักษิณ เพราะถือเป็นกรณีศึกษาปัญหาการซื้อเครื่องบินที่นอกจากจะไม่สอดคล้องกับแผนการลงทุนแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างภาระให้กับบมจ.การบินไทย ในช่วงต่อ ๆ มา

นอกจากนี้ นายอำนาจ โงสว่าง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส ในขณะนั้น ยังเพิ่มเติมประเด็นปัญหาที่กลุ่มการเมือง ได้กระทำทิ้งไว้กับบมจ.การบินไทย ว่า การบริหารต้นทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ น่าจะเป็นเหตุผลหลักทำให้การบินไทยมีผลประกอบการขาดทุน โดยเฉพาะการที่บมจ.การบินไทยยังคงเดินหน้ารับมอบเครื่องบินลำใหม่ลำแล้วลำเล่า แต่จำนวนผู้โดยสารกลับไม่เป็นไปตามที่บมจ.การบินไทยคาดการณ์ไว้ เนื่องจากมีการแข่งขันของสายการบินต้นทุนต่ำเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเส้นทางที่เคยสร้างกำไรหลักมีสายการบินอื่นเข้ามาแย่งตลาด

ท้ายนี้ต้องย้ำว่าเหตุวิกฤตบมจ.การบินไทย แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยเกี่ยวเนื่อง แต่เหตุผลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก คือ ตัวเลขที่เกิดขึ้นจากมูลหนี้สะสมต่อเนื่อง ในช่วงหลังการอนุมัติจัดซื้อฝูงเครื่องบินใหม่ ของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบมจ.การบินไทย ก่อนที่จะจบท้ายด้วยหายนะทางธุรกิจ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เลือกตั้งสหรัฐ: รู้จัก 7 รัฐสวิงสเตทกันให้มากขึ้น
"เลือกตั้งสหรัฐ" รัฐนิวแฮมป์เชอร์ เปิดเลือกตั้งเป็นรัฐแรก
"กษิต" แจงยิบสาเหตุ รบ.อภิสิทธิ์ยกเลิก MOU 44 แต่ไม่สำเร็จ หนุนเจรจาต่อ ยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
"จับผับลับห้วยขวาง" ลอบเปิดให้บริการ จัดเต็มแสง สี เสียง รวบ 26 นักเที่ยวจีนมั่วยา
ระทึก หกล้อขนถังแก๊ส เสียหลักพลิกคว่ำขวางถนนเชียงใหม่-แม่ออน กลิ่นแก๊สกระจายทั่วบริเวณ
"นักร้องสาวมาเลย์" พร้อมพวก ส่อวืดประกันนอนคุก หวั่นหลบหนีคดีไม่กลับมาขึ้นศาลตามนัด
ศาลนนทบุรี สั่งจำคุกหนุ่มใหญ่ 6 ปี 36 เดือน ผิดคดี 112 โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
ตร.ปคบ.หอบสำนวน 7000 หน้า ส่งฟ้องคดีหลอกขายทอง “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” ให้กับอัยการแล้ว
10 บริษัทโฆษณา ชั้นนำในไทย ที่เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing
"รองผู้การกองปราบฯ" กางกม.เอาผิด "ซินแสชื่อดัง" จ่อโดนคดีฟอกเงิน หลังตุ๋นเหยื่อหลายราย สูญเงินกว่า 70 ล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น