เช็ครายชื่อ 3 กลุ่ม "โรคติดต่อ" ต้องรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับปรับปรุงวันที่ 1 ก.พ. 2566)
ข่าวที่น่าสนใจ
1. “โรคติดต่อ” อันตราย 13 โรค
กำหนดให้รายงานทันทีที่พบผู้ป่วยแม้เพียงสงสัย โดยแจ้งเบื้องต้นไปยังคณะกรรมการโรคติด ต่อระดับจังหวัด ไม่ต้องรอการวินิจฉัยสุดท้ายจากแพทย์ และไม่ต้องรอการลงรหัส ICD-10 ประกอบด้วย
- กาฬโรค
- ไข้ทรพิษ
- ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก
- ไข้เวสต์ไนล์
- ไข้เหลือง
- โรคไข้ลาสซา
- โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์
- โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก
- โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
- โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา
- โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส
- โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส
- วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
2. โรคที่ต้องเฝ้าระวังและรายงานผู้ป่วยสู่ระบบรายงาน 506 57 รหัสโรค แบ่งออกเป็น
(1) กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่
- อหิวาตกโรค
- อาหารเป็นพิษ
- โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา
- โรคบิดมีตัวหรือโรคบิดจากเชื้ออะมีบา
- ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
- ไข้พาราไทฟอยด์หรือไข้รากสาดเทียม
- โรคพยาธิใบไม้ตับ
- โรคโบทูลิซึม
- โรคอาหารเป็นพิษจากเห็ด
- โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด เอ
- โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด อี
(2) กลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
- ไข้หวัดใหญ่
- โรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม
- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(3) กลุ่มโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่
- ไข้หัดเยอรมัน-ไข้หัดเยอรมันที่มีโรคแทรกซ้อน
- โรคสุกใสหรือโรคอีสุกอีใส
- โรคโปลิโอ
- ไข้หัดที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน
- ไข้หัดที่มีโรคแทรกซ้อน
- โรคคอตีบ
- โรคไอกรน
- โรคบาดทะยัก
- ไข้สมองอักเสบเจแปนนิส
- โรคคางทูม
- บาดทะยักในเด็กแรกเกิด
- ไข้หัดเยอรมันแต่กำเนิด
(5) กลุ่มโรคติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่
- ไข้กาฬหลังแอ่น
- ไข้สมองอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ มิได้ระบุรายละเอียด
(6) กลุ่มโรคติดเชื้อที่นำโดยแมลง ได้แก่
- ไข้เลือดออก
- ไข้เลือดออกช็อก
- ไข้มาลาเรีย
- โรคสครับไทฟัส
- ไข้เด็งกี
- ไข้ปวดข้อยุงลาย
- โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
(7) กลุ่ม “โรคติดต่อ” ทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่
- โรคซิฟิลิส
- โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด
- โรคหนองใน
- โรคหนองในเทียม
- โรคแผลริมอ่อน
- กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง
- โรคเริมของอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก
- โรคหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก
- โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด บี
- โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด ซี
- โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด ดี
(8) กลุ่มโรคติดเชื้อจากการสัมผัส ได้แก่
- โรคมือเท้าปาก
- โรคเมลิออยโดสิส
- ไข้เอนเทอโรไวรัส
- ไข้ฝีดาษวานร
(9) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่
- โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ
- โรคเลปโตสไปโรสิส
- โรคแอนแทรกซ์
- โรคทริคิโนสิส
- โรคติดเชื้อสเตร็พโตคอคคัสซูอิส
- โรคบรูเซลโลสิส
- ไข้หวัดนก
3. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการ (รายงานเป็นจำนวนผู้ป่วย)
ลักษณะข้อมูลเป็นแบบการรายงานข้อมูลที่นับจำนวนผู้ป่วยตามกลุ่มอาการที่มารับบริการที่โรงพยาบาล โดยใช้ ICD-10 เป็นตัว แปรในการนับจำนวนจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ ดังนี้
- โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
- โรคตาแดงจากไวรัส
- โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน
- เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- ไข้ไม่ทราบสาเหตุ
- ไข้ออกผื่นจากการติดเชื้อไวรัส
อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของประกาศมีการกำหนดหมายเหตุเอาไว้ โดยระบุว่า โรคที่ตัดออกจากการรายงาน 506 ได้แก่
- วัณโรคทุกระบบ
- โรคเรื้อน
ให้รายงานเป็นทะเบียนผู้ป่วยในฐานข้อมูลที่กรมควบคุมโรคกำหนด
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ
- ไข้ดําแดง
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ที่ไม่ระบุ
- โรคลิชมาเนีย
- โรคเท้าช้าง
ให้สอบสวนผู้ป่วยตามเกณฑ์การสอบสวนการระบาด เช่น พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นโรคที่พบใหม่ในพื้นที่ และรายงาน เป็นเหตุการณ์ผิดปกติทางระบาดวิทยา
ข้อมูล : ddc
ข่าวที่เกี่ยวข้อง