“อัษฎางค์” เตือนสาวก 3 นิ้ว อ้างสิทธิตนเอง ละเมิดสิทธิคนอื่นไม่ได้

“อัษฎางค์” เตือนสาวก 3 นิ้ว อ้างสิทธิตนเอง ละเมิดสิทธิคนอื่นไม่ได้

“อัษฎางค์ ยมนาค” เตือนสาวก 3 นิ้ว อ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเยาวชนหรือประชาชน

 

12 ก.พ. 2566 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟชบุ๊ก ระบุว่า “การอ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น”ด้วยการอ้างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและรัฐธรรมนูญ

การที่ประชาชนทุกคนมีรัฐธรรมนูญคุ้มครองเรื่องสิทธิเสรีภาพ และเด็กทุกคนยังมีอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิเด็ก มันหมายความว่าประชาชนและเด็กทุกคน สามารถทำผิดกฎหมาย เช่น การละเมิดกฎหมายหรือการละเมิดสิทธิของผู้อื่นได้หรือขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน
สมมุติ (ย้ำว่าสมมุติ) ว่าเด็กอายุ 14 (หรือประชาชนทั่วไป) มากล่าวหาว่าเจี๊ยบมีอะไรที่ผิดศีลธรรมกับคนขับรถของตัวเอง แบบนี้เจี๊ยบถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพของเด็กและประชาชนหรือไม่ พวกเขาหมิ่นประมาทเจี๊ยบแบบนี้ได้หรือไม่ เจี๊ยบจะฟ้องร้องเขาหรือไม่
ถ้าเจี๊ยบตอบว่าทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะมันผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิ เป็นการหมิ่นประมาทเจี๊ยบ

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น เมื่อมีประชาชนหรือเยาวชน ไปกล่าวหาหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ทำไมเจี๊ยบจึงอ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเยาวชนขึ้นมา เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ขโมยของ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือแม้แต่ขับรถยนต์ หรือกล่าวหาใส่ความผู้อื่นได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่
กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหรืออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิคุ้มครองเด็ก คุ้มครองให้เด็กทำผิดกฎหมายได้อย่างนั้นหรือเจี๊ยบ
ม.112 คือกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การละเมิด 112 คือการละเมิดพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการทำผิดกฎหมาย
รัฐธรรมนูญไทยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์
แต่การใช้สิทธิและเสรีภาพของตนต้อง….

1. ไม่ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
2. ไม่ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. ไม่ไปกระทบความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ไม่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. ไม่กระทบต่อสุขภาพ(หรือก็คือชีวิต)ของคนอื่น
สรุปให้สั้นที่สุดในหนึ่งประโยคได้ว่า
“อ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเยาวชนหรือประชาชน”
มาดูรายละเอียดที่เป็นข้อกฎหมายแบบยาว ๆ กันหน่อยมั้ย

รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.๒๕๖๐
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

 

มาตรา ๒๕
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิ
และเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
แปลว่า….
คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองในเรื่องสิทธิเสรีภาพโดยรัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์

 

***ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
***และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
แปลว่า….
ทุกคนได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ แต่การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น ต้องไม่เป็นการทำผิดกฎหมาย เช่นไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

 

มาตรา ๒๗
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
***หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้
แปลว่า….
ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการกระทำใด ๆ ได้อย่างเสรีและเท่าเทียมกัน แต่การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น ต้องไม่ขัดกฎหมาย

 

………………………………………………
มาตรา ๒๘
บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายการจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้
***เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
แปลว่า….
ห้ามมีการจับและการคุมขัง ยกเว้นเป็นคำสั่งศาลให้จับกุมและการคุมขัง

 

………………………………………………
มาตรา ๒๙
บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา
***เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
แปลว่า….
ห้ามลงโทษใคร ยกเว้นคนนั้นทำผิดกฎหมาย

 

………………………………………………
มาตรา ๓๔
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้
แปลว่า….
จะไปห้ามใครให้คิด พูด เขียน โฆษณาหรือการสื่อสาร ไม่ได้

 

**เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะ
***เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
***เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
***เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน

 

แปลว่า….
จะไปห้ามใครให้คิด พูด เขียน โฆษณาหรือการสื่อสาร ไม่ได้
ยกเว้นใครก็ตามที่ใช้สิทธิเสรีภาพนั้น
1. ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
2. ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. ไปกระทบความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. ไปกระทบต่อสุขภาพ(หรือก็คือชีวิต)ของคนอื่น

………………………………………………
เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง
***แต่การใช้เสรีภาพนั้น”ต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย*”หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น
หน้าที่ของปวงชนชาวไทยคืออะไร?
หน้าที่ของปวงชนชาวไทยคือ การเคารพและไม่ละเมิดกฎหมายกฎหมาย

 

สรุป
รัฐธรรมนูญไทยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์
แต่การใช้สิทธิและเสรีภาพของตนต้อง…
1. ไม่ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
2. ไม่ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. ไม่ไปกระทบความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ไม่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. ไม่กระทบต่อสุขภาพ(หรือก็คือชีวิต)ของคนอื่น
สรุปให้สั้นที่สุดในหนึ่งประโยคได้ว่า

“อ้างสิทธิ์ของตน เพื่อละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเยาวชนหรือประชาชน”
ชัด ครบ จบ ไหมเจี๊ยบและสาวกสามนิ้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย
"สุดาวรรณ" เยี่ยมชมชุมชนชาวเลสังกาอู้-วิถีวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโวยจ จ.กระบี่
สจ.ธรรมชาติฟ้องตรงอัจฉริยะเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
อย.ตรวจพบสารอันตรายใน อาหารเสริม “กัมมี่” แบรนด์ดัง เร่งดำเนินคดีตามกม.ผู้ผลิต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น