“โรคติดจอ” เตือนมนุษย์โซเชียลเสี่ยงป่วย CVS จาก 8 สัญญาณเตือน

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

แพทย์เตือน "โรคติดจอ" เสี่ยงเกิดอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) เช็ค 8 สัญญาณเตือนที่ชาวออฟฟิศ สายโซเชียล ไม่ควรมองข้าม แนะ 5 วิธีป้องกันก่อนทรมานกว่าเดิม

กรมการแพทย์ เผย อาการ “โรคติดจอ” เสพติดอุปกรณ์ดิจิทัลมาก ๆ เสี่ยงเกิดอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) แนะ 5 วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรคติดจอ” ปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์ดิจิตอล เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและการทำงาน ซึ่งจากการที่ใช้อุปกรณ์ดิจิตอลมากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) กันมากยิ่งขึ้น หลายคนเริ่มมีอาการผิดปกติ โดยมี 8 สัญญาณเตือน ดังนี้

  • ปวดเมื่อยล้าดวงตา
  • ตาแห้ง แสบตา
  • ตาไม่สู้แสง
  • ปวดกระบอกตา
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดไหล่-ต้นคอ
  • ตาพร่า
  • ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง

ร่สมกับมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานในแต่ละวัน แนะนำอย่ามองข้าม ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์

 

โรคติดจอ, Computer Vision Syndrome , CVS, ติดจอ, จอคอมพิวเตอร์, เมื่อยล้าดวงตา, ตาแห้ง, แสบตา, ตาไม่สู้แสง , ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยุคปัจจุบันสังคมออนไลน์มีการใช้สมาร์ทโฟนในการอัพเดทข่าวสาร ข้อมูลตลอดเวลา ให้กับทันเหตุการณ์ ทำให้ต้องใช้สายตาในการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน อาจจะใช้เวลาเกือบทั้งวันจ้องแต่หน้าจอสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงแท็บเล็ต ถ้าไม่แบ่งเวลาให้เหมาะสมอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะดวงตาที่ต้องรับภาระจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การนั่งทำงาน
  • หรือการประชุมผ่านอินเตอร์เน็ต
  • อาจเป็นปัญหาต่อดวงตาที่พบจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

นายแพทย์อาคม ชัยวีระวัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่ม ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ท สมาร์ตโฟน เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เชื่อว่าหลายคนอาจเคยประสบปัญหาในอาการเหล่านี้ เช่น

  • ทำให้ปวดเมื่อยตา
  • ตาแห้ง ตาล้า
  • แสบตา เคืองตา
  • ตาพร่ามัว
  • โฟกัสได้ช้าลง
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ
  • หรือบางครั้งมีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดต้นคอร่วมด้วย

อาจส่งผลต่อการนอนหลับได้ หากมีอาการที่กล่าวข้างต้น ร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานในแต่ละวัน อาจบ่งบอกว่าอาจอยู่ในกลุ่มอาการที่เรียกว่า computer vision syndrome แม้ว่ากลุ่มอาการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อดวงตาหรือการมองเห็น แต่มักก่อให้เกิดความไม่สบายตา และอาจเป็นปัญหารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

ภาวะ computer vision syndrome คืออะไร?

  • กลุ่มอาการทางตา ที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น
  • มีการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมง/วัน มักเคยประสบกับกลุ่มอาการนี้

สาเหตุของอาการ computer vision syndrome (CVS) จาก “โรคติดจอ”

อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น

  • การกระพริบตาลดลงขณะใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ตาแห้ง
  • แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม รวมทั้งการมีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
  • การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่คมชัดจึงทำให้ต้องใช้ความพยายามในการโฟกัสมากขึ้นจึง ก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้
  • ระยะห่างจากหน้าจอที่ไม่เหมาะสม
  • รวมถึงระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์
  • ท่าทางในการนั่งที่ไม่เหมาะสม

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

วิธีช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงภาวะ computer vision syndrome ได้แก่

1. กะพริบตาให้บ่อยขึ้น

  • การนั่งจ้องหน้าจอนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน จะทำให้อัตราการกะพริบตาลดลงจาก 20 – 22 ครั้ง/นาที เหลือเพียง 6 – 8 ครั้ง/นาทีเท่านั้น
  • ซึ่งอาจทำให้ตาแห้งได้ ดังนั้น จึงควรกะพริบตาให้บ่อยขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียม เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาก็ได้เช่นกัน

2. ปรับความสว่างในห้องทำงานและหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

  • โดยลดแสงสว่างจากภายนอก หรือแสงจากในห้องทำงานที่สว่างมากเกินไป
  • ซึ่งอาจทำให้เกิดแสงสะท้อนที่จอคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สบายตาได้
  • ปรับเพิ่มความแตกต่างของสีระหว่างตัวอักษรกับพื้นจอภาพ เพื่อให้อ่านง่าย และปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา

3. พักสายตาทุก ๆ ชั่วโมง

  • โดยยึดหลัก 20 – 20 – 20
  • คือ การละสายตาจากหน้าจอ และมองออกไปไกลระยะ 20 ฟุตทุก ๆ 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาทีต่อครั้ง
  • จะช่วยลดอาการตาล้าได้

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

4. ปรับระดับการมองจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

  • โดยจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากตาประมาณ 20-28 นิ้ว
  • และต่ำลงจากระดับสายตาประมาณ 4-5นิ้ว

5.ใส่แว่นแก้ไขสายตาที่เหมาะสม

  • เนื่องจาก การมีสายตาที่ผิดปกติ แล้วต้องเพ่งหน้าจอนาน ๆ อาจทำให้ปวดกระบอกตาได้
  • ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน ประชุมออนไลน์จนดึกดื่น และไม่รู้ว่าจะต้องอยู่ที่บ้านไปอีกนานเท่าไหร่ แนะนำดูแลสุขภาพตัวเอง จัดตารางการทำงาน และชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสม
  • หากรู้สึกว่าดวงตามีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ตรวจเช็คดวงตา เพื่อที่จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น