ข่าวดี ม.มหิดล พบสารสกัดมีฤทธิ์ต้าน "อัลไซเมอร์" ในหลอดทดลอง จากสมุนไพรไทยนวโกฐ จุดประกายความหวังพัฒนายาป้องกันและชะลอเกิดโรค
ข่าวที่น่าสนใจ
“อัลไซเมอร์” โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่มีใครอยากเผชิญ เพราะ คงไม่มีอะไรเจ็บปวดไปกว่าการลืมคนสำคัญ เรื่องราว หรือสถานที่แห่งความทรงจำในชีวิตไปตลอดกาล จนกระทั่ง ม.มหิดลจุดประกายความหวังใหม่ในวงการแพทย์! เมื่อมีการค้นพบสารป้องกันและชะลอการเกิดอาการอัล ไซเมอร์ ในหลอดทดลอง จากสมุนไพรไทยนวโกฐ
ด้วยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้าในปัจจุบัน พิสูจน์ให้เห็นว่าสมุนไพรไทยอย่างนวโกฐ ซึ่งประกอบด้วย
- โกฐสอ
- โกฐเขมา
- โกฐหัวบัว
- โกฐเชียง
- โกฐจุฬาลัมพา
- โกฐก้านพร้าว
- โกฐกระดูก
- โกฐพุงปลา
- โกฐชฎามังสี
มีสรรคุณล้ำค่ามากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะแก้ลม ได้แล้ว ล่าสุด ยังมีการค้นพบสารต้านอัล ไซเมอร์ ซึ่งอาจใช้พัฒนากลายเป็นยาป้องกันและชะลอการเกิดโรคอัล ไซเมอร์ได้ต่อไปในอนาคต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงบุญรัตน์ จันทร์ทอง หัวหน้าห้องปฏิบัติการพิษวิทยาและการตรวจวิเคราะห์ชั้นสูงศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาวิจัยสารสกัดจากสมุนไพรไทยนวโกฐ จนสามารถค้นพบว่า มีกลไกการออกฤทธิ์ และให้ผลป้องกันการเสื่อมต่อระบบประสาทในหลอดทดลอง
แม้จะเป็นเพียงความสำเร็จในหลอดทดลองกับแบบจำลองเซลล์ประสาท และเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อประสาท แต่มีแนวโน้มที่จะสามารถขยายผลเพื่อพัฒนาสู่ยาป้องกันและชะลอการเกิดโรคอัล ไซเมอร์ได้ต่อไปในอนาคต เนื่องจากพบว่าตัวยาจากสารสกัดสมุนไพรไทยนวโกฐสามารถลดกระบวนการอักเสบของประสาทและสมองได้
นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงบุญรัตน์ จันทร์ทอง ยังได้ค้นพบฤทธิ์ทางยาที่สามารถลดกระบวนการอักเสบของประสาทและสมอง ในพืชสมุนไพร กระชายดำและรางจืด ซึ่งจะพัฒนาควบคู่ต่อไปด้วยในขณะเดียวกัน
อนาคตของพืชสมุนไพรไทยจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการมองเห็นคุณค่าสู่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงได้มากน้อยเพียงใด มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเป็นกำลังสำคัญให้ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมาย BCG ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ และสุขภาวะที่ยั่งยืนของมวลมนุษยชาติต่อไปในอนาคต
ข้อมูล : mahidol
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-