“ทิพานัน” กางข้อมูลโรงไฟฟ้าชุมชนฯ สร้างความมั่นคงพลังงาน โต้กลับ “สุทิน” หลังโยงมั่วอัดรัฐบาล

'ทิพานัน'กางข้อมูลโรงไฟฟ้าชุมชนฯ โต้'สุทิน' ยันหุ้นวิสาหกิจชุมชนเพิ่มได้ถึง 40% หนุนโครงการฉลุย หวังบูมเศรษฐกิจฐานราก และความมั่นคงพลังงาน

วันที่ 16 ก.พ. น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากนั้น ดำเนินการขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนในชุมชน ประชาชนทุกคนได้มีพลังงานใช้ เกิดประโยชน์แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า มีการใช้วัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียน และชุมชนได้ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจพลังงานอย่างยั่งยืนด้วย

ส่วนในกรณีที่ กล่าวว่า มีเรื่องที่ร้องเรียนต่างๆ ในเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนั้น ก็ได้สิ้นสุดไปแล้ว โดยเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติไม่รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ทำให้ขณะนี้กำลังอยู่ขึ้นตอนดำเนินการลงนามในสัญญาเพื่อเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) ต่อไปได้

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ในส่วนประเด็นที่ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 10 ซึ่งการกำหนดให้มีการถือหุ้นร้อยละ 10 ในเบื้องต้น หากโรงไฟฟ้าชุมชนมีผลประกอบการดีตั้งต้นโรงไฟฟ้าได้ชุมชนสามารถเพิ่มหุ้นได้ถึงร้อยละ 40 เพราะในขั้นตอนแรกของการตั้งโรงไฟฟ้าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้าง ค่าวางระบบ-เทคนิค ยากในการสร้างรายได้คืนทุน หากให้ชุมชนเป็นเจ้าของเต็มสัดส่วนร้อยละ 100 ตามที่นายสุทินเสนอจะเป็นการสร้างภาระให้ต้องใช้เงินจำนวนมาก ยิ่งกลับทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สำเร็จเพราะชุมชนอาจขาดทั้งเงินทุน ความเชี่ยวชาญ หรือข้อมูลทางเทคนิคในการผลิตไฟฟ้า ทางโครงการจึงริเริ่มโครงการแบบค่อยเป็นค่อยไป รัฐบาลต้องการให้โครงการประสบความสำเร็จ ทั้งด้านการผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องการให้ชุมชนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการพัฒนา มีรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้อย่างยั่งยืน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า นอกจากนี้ในแผนการจัดหาเชื้อเพลิงนั้น กำหนดให้ชุมชนมีรายได้จากการขายเชื้อเพลิงที่เป็นพืชพลังงานใน “ราคาประกัน” ตลอดอายุโรงไฟฟ้า คือ 20 ปี เพราะมีสัญญารับซื้อเชื้อเพลิงในราคาประกันกับวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) ประกันราคา มีรายได้แน่นอน และชุมชนยังมีรายได้จากส่วนแบ่งรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายต้นทุนใดๆ ทั้งสิ้น โดยได้รับเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านที่อยู่ใน “พื้นที่พัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น” ของโรงไฟฟ้าชุมชนนั้นๆ

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถร่วมทุนมีเพดานการถือหุ้นสูงสุดได้ถึงร้อยละ 40 ซึ่งการกำหนดให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเริ่มต้นถือหุ้นได้ในร้อยละ 10 นั้นเป็นเพราะในขั้นต้นเป็นโครงการนำร่องที่โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) กำหนดเป้าหมายรับซื้อ 150 เมกะวัตต์ ซึ่งในอนาคตอาจมีกาขยายเพิ่มเติมได้ ซึ่งหากฝ่ายค้านอภิปรายด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนพร้อมข้อเสนอแนะจากความเป็นจริง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน และเหนือสิ่งอื่นใด ผลประโยชน์ต้องเหมาะสมกับทุกฝ่าย ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียค่าไฟฟ้า รัฐบาลจึงเน้นเรื่องการเปิดกว้างพร้อมรับฟังและนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น