สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 66 เหลือ 3.2% หวังท่องเที่ยวฟื้นตัว เคลื่อนศก.ประเทศ

สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 66 เหลือ 3.2% หวังท่องเที่ยวฟื้นตัว เคลื่อนศก.ประเทศ

 

17 ก.พ.66 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. แถลง“รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่4 ของปี 2565 ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566” ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ขยายตัว 2.6% ปรับตัวดีขึ้นจาก 1.5% ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจปี 65 ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่คาดว่าอยู่ที่ 3.2% จากผลกระทบการส่งออกที่ชะลอตัวอย่างหนัก โดยไตรมาสสุดท้าย ติดลบลงกว่า 10.5% จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแรงและเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ สอดคล้องกับหลายประเทศอาเซียนที่มีอัตราการส่งออกชะลอตัวลงเช่นกัน ส่วนตัวชี้วัดอื่น ๆ ยังปรับตัวดีและเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2564 รวมถึงการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ขณะที่เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ขยายตัว 1.4% ชะลอตัวลงจากที่การขยายตัว 4.6% ในไตรมาสที่สามของปี 2565 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวลดลง 1.5 %

นายดนุชา ระบุว่า เดิมมองเศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอตัวในปีนี้ แต่ปรากฎว่าข้อมูลในไตรมาส 4/65 พบว่าเศรษฐกิจโลกชะลอเร็วกว่าที่คาดไว้ ส่งออกก็หดตัวแรง จึงทำให้ประมาณการของเราคลาดเคลื่อนไปมาก จากผลความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

นายดนุชา ระบุอีกว่า สศช.ได้ปรับคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 3 – 4% หรือค่ากลาง 3.5% เหลือ 2.7 – 3.7% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 3.2% โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 28 ล้านคน จากเดิมคาดว่าอยู่ที่ 23 ล้านคน มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.31 ล้านล้านบาท

ด้านเงินเฟ้อคาดว่าอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2.5-3.5% ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.3-33.3 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะติดลบ 1.6% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 5.5% จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่จะเกิดขึ้น

สำหรับแนวโน้มของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค ของภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.2% การใช้จ่ายรัฐบาลคาดว่าจะติดลบ 1.5% การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัว 2.2% แบ่งเป็นการลงทุนเอกชน 2.1% และการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 2.7%

สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้ มาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของระบบการเงินและบรรยากาศทางการเมืองหลังเลือกตั้ง

 

ส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ต้องติดตามสถานการณ์ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคนั้นยังไม่มาก ต้องเร่งมาตรการต่างๆ ต่อเนื่อง รวมทั้งบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวต่อไปได้

 

สำหรับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ

1. การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

2. การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาด การสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิตของภาคการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิตและการขยายผลการทำเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์

3. การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดยการอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก /การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง /การติดตามประเมินสถานการณ์และเงื่อนไขการค้าโลก เป็นต้น

4. การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งการพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่นๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน เป็นต้น

5. การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน

6. การขับเคลื่อนการใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระยะปานกลางและเพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

7. การติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

8. การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

 

ส่วนความคืบหน้า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นายดนุชา ระบุว่า ขณะนี้ได้มีการเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในส่วนของตัวชี้วัดที่เป็นแผนการพัฒนา 37 ตัวชี้วัดนั้น มีการบรรลุเป้าหมายช่วงแรกเพิ่มขึ้น 12 เป้าหมาย และในส่วนที่เหลือก็ยังมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นระดับที่อยู่ในช่วงระดับสีส้มสีเหลือง ขณะที่เป้าหมายที่เป็นส่วนสีแดง 5 เป้าหมาย ก็มีการปรับแผนแม่บทและรอการประกาศใช้อยู่ในขณะนี้

ขณะเดียวกัน ในส่วนอัตราการเพิ่มของประชากรหลังจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรเพราะอัตราการตาย มากกว่าอัตราการเกิด และรวมถึงสังคมผู้สูงอายุของไทย นายดนุชา ยอมรับว่าในปีนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ มีอัตราการเกิดที่ต่ำทำให้อนาคตจำนวยประชากรจะลดลง ซึ่งในการเตรียมการ ได้มีการวางแผนการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้การผลิตทักษะแรงงานให้มีความสามารถมากขึ้นรวมถึงการเพิ่มแรงงานต่างชาติเข้ามา

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คอหวยแตกตื่น!!แห่ร่วมพิธีและส่องเลขหางประทัดพิธีอัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นประดิษฐาน ณ วัดคงคาเลียบเมืองคอน
"เจ๊อ้อย" เปิดใจหลังให้ปากคำเป็นวันที่ 4 พร้อมเอาผิด "ทนายตั้ม" ยืนยันคำเดิม เงิน 71 ล้าน ไม่ได้ให้โดยเสน่หา
"สุสานเนอร์วาน่า" แจงชัดไร้ส่วนเกี่ยวข้อง พิธีซื้อที่ดินสะเดาะเคราะห์ต่อชีวิตของ "หมอดูฮวงจุ้ย"
“อนุทิน” มอง “ปทุมธานี” เป็นเมืองต้นแบบกระจายอำนาจ ยินดี “บิ๊กแจ๊ส” นั่งนายกฯอบจ.
สุดเศร้า ลูกเศร้า กลับจากโรงเรียนเจอพ่อผูกคอดับ ขณะแม่ได้ข้อความขอโทษจากลูกชาย แต่ไม่ได้เอะใจ
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธรและงานประจำปีจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 134 ระหว่างวันที่ 12 - 24 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
‘ทนายไพศาล’ ยืนยันไม่ได้เป็นทนายให้ ‘ซินแสดัง’ขออีกฝ่ายอย่าเอารูปถ่ายคู่กันไปแอบอ้าง
งาน CIIE ครั้งที่ 7 เปิดฉากแล้วที่จีน
ตร.เมืองชล ตั้งด่านป้องปรามอาชญากรรม-ยาเสพติดกลางดึก หนุ่มขนยาบ้า 3 แสนเม็ด ขับผ่านด่านแต่ไม่รอด สารภาพรับจ้างขนยา 3 หมื่น ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกจับเสียก่อน
เลือกตั้งสหรัฐเปิดฉากขึ้นแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น