สนธิสัญญานิวเคลียร์ “NEW START” ที่กำลังสั่นคลอนรัสเซีย-สหรัฐ

ทบทวนข้อตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์ ที่กำลังสั่นคลอนอยู่ในขณะนี้ว่าคืออะไร หลังปูตินประกาศชัด ยกเลิกข้อตกลงเดียวที่เหลือกันอยู่ ระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจ

สนธิสัญญา New START หรือ ข้อตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐและรัสเซีย นับเป็นข้อตกลงเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทางประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียได้ตัดสินใจระงับข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ในการแถลงการณ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023

สำหรับจุดเริ่มต้นเดิมนั้น คือ START ที่ย่อมาจาก “Strategic Arms Reduction Treaty” (สนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์)  ลงนามโดย อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐ และนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ อดีตผู้นำโซเวียตในปี 1991 และต่อมาในปี 2010 อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ และอดีตประธานาธิบดีดมิทรี เมดเวเดฟ แห่งรัสเซีย ก็ได้ลงนามในสนธิสัญญา New START เพื่อนำมาใช้แทนที่สนธิสัญญา START ของปี 1991

สำหรับสนธิสัญญา New START นี้ ได้กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็น ICBM (ขีปนาวุธข้ามทวีป), SLBM (ขีปนาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำ) และเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล ที่ทั้ง 2 ฝ่ายอาจมีและอาจนำไปใช้  ทั้งนี้ สหรัฐและรัสเซีย จะต้องลดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ลง ซึ่งจำกัดไว้ที่ 1,550 หัวรบสำหรับแต่ละประเทศ รวมถึงจำกัดจำนวนแท่นส่ง เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป ให้เหลือที่ 700 แท่นหรือน้อยกว่านั้น ข้อตกลงนี้ยังอนุญาตให้แต่ละประเทศ ดำเนินการตรวจสอบอาวุธของอีกฝ่าย, มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล, และให้มีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับอาวุธและสิ่งต่างๆที่ครอบคลุมอยู่ภายใต้ข้อตกลงนี้ด้วย

สนธิสัญญา New START นี้ มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2011 และล่าสุด ได้มีการขยายข้อตกลงออกไป 5 ปี เมื่อปี 2021 เนื่องจากอดีตประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ทำการเจรจาใหม่ไม่สำเร็จ ซึ่งการที่รัฐบาลยุคของทรัมป์ต้องการเจรจาใหม่ เพราะเห็นว่า สนธิสัญญานี้ มีข้อบกพร่องอย่างมาก โดยสนธิสัญญานี้ ระบุไว้เฉพาะอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นอาวุธพิสัยไกลที่สามารถใช้คุกคามดินแดนของประเทศอื่นได้ แต่ไม่ได้ระบุถึงอาวุธพิสัยใกล้อย่างอาวุธทางยุทธวิธี ซึ่งคลังแสงทางยุทธวิธีของรัสเซียนั้น มีความยิ่งใหญ่กว่าของสหรัฐ

สำหรับสนธิสัญญาดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมานั้น ค่อนข้างจะได้ผลดี ทั้งสหรัฐและรัสเซีย ต่างลดขนาดคลังแสงนิวเคลียร์ลงจนถึงขีดจำกัดที่ตกลงกัน ภายในเส้นตายที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาคือปี 2018 โดยสหรัฐมีหัวรบประจำการอยู่ 1,420 หัวรบ และระบบส่งกำลังทางยุทธศาสตร์ 659 หัว ส่วนรัสเซียมีหัวรบประจำการอยู่ 1,549 หัวรบ และระบบส่งกำลังทางยุทธศาสตร์ 540 หัว เมื่อรวมกันแล้ว ทั้ง 2 ประเทศก็มีสัดส่วนกันที่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของอาวุธนิวเคลียร์ของโลก

อย่างไรก็ดี การตรวจสอบนิวเคลียร์ได้เริ่มหยุดชะงักลง โดยในตอนแรก เริ่มระงับที่รัสเซียเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เวลาต่อมา สหรัฐเปิดเผยว่า รัสเซียปฏิเสธที่จะเริ่มต้นใหม่ในเดือนสิงหาคม 2022 เนื่องจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นจากสงครามในยูเครน นอกจากนี้ ความพยายามที่จะเริ่มต้นการเจรจาอีกครั้งที่อียิปต์ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็ล้มเหลว หลังจากรัสเซียตัดสินใจเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น