ครั้งแรกในไทย พบ “ซากดึกดำบรรพ์” ปลาซีลาแคนท์ อายุมากกว่า 100 ล้านปี

ซากดึกดำบรรพ์, ฟอสซิล, ปลาซีลาแคนท์, ยุคครีเทเชียส, ปลาโบราณ, ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์, ยุคดีโวเนียน, มหายุคพาลีโอโซอิก, หลักฐานซากดึกดำบรรพ์, ปลาซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิด, หมวดหินภูกระดึง

พบ "ซากดึกดำบรรพ์" ฟอสซิลของปลาซีลาแคนท์ ปลาโบราณสมัยมหายุคพาลีโอโซอิก อายุมากกว่า 100 ล้านปี ครั้งแรกในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวดี! นักวิจัย พบ “ซากดึกดำบรรพ์” ฟอสซิล ของปลาซีลาแคนท์ ในอ.คำชะอี จ.มุกดาหาร เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวดี! นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ม.สารคาม ค้นพบ “ซากดึกดำบรรพ์” หรือซากฟอสซิลปลาซีลาแคนท์ครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บ้านคำพอก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) เป็นกลุ่มปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน (ประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้ว) และยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน โดยปลากลุ่มนี้มีลักษณะเด่น คือ ครีบที่มีลักษณะเป็นพู่เนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ

 

ซากดึกดำบรรพ์, ฟอสซิล, ปลาซีลาแคนท์, ยุคครีเทเชียส, ปลาโบราณ, ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์, ยุคดีโวเนียน, มหายุคพาลีโอโซอิก, หลักฐานซากดึกดำบรรพ์, ปลาซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิด, หมวดหินภูกระดึง

 

ล่าสุด นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาร่วมกับคณะวิจัยชาวต่างชาติ  รายงานการค้นพบชิ้นส่วนซากดึก ดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ในหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุครีเทเชียสตอนต้น (145 – 100 ล้านปีที่แล้ว) เป็นกระดูกด้านหลังขากรรไกรล่าง รหัสตัวอย่าง PRC 160

เป็นปลาซีลาแคนธ์ในกลุ่มมอว์โซนิด แต่ด้วยข้อจำกัดของกระดูกที่พบเพียงชิ้นเดีย วจึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม นี่คือหลักฐานซาก ดึกดำบรรพ์ของซีลาแคนธ์ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ซากดึกดำบรรพ์, ฟอสซิล, ปลาซีลาแคนท์, ยุคครีเทเชียส, ปลาโบราณ, ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์, ยุคดีโวเนียน, มหายุคพาลีโอโซอิก, หลักฐานซากดึกดำบรรพ์, ปลาซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิด, หมวดหินภูกระดึง

ซึ่งซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิดเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ในยุคไทรแอสซิกประมาณ 251-201 ล้านปีที่แล้ว ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 163-145 ล้านปีก่อน พบว่า ปลากลุ่มนี้เปลี่ยนแหล่งอาศัยไปอยู่ในทะเล และมีการเปลี่ยนแหล่งอาศัยกลับมาอยู่ในแหล่งน้ำจืดเมื่อเข้าสู่ยุคครีเทเชียสราว 145-66 ล้านปีที่แล้ว

ปลาซีลาแคนท์ของไทยตัวนี้เคยแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำโบราณร่วมกับ

  • ฉลามน้ำจืดกลุ่มไฮโบดอนต์ (Hybodonts)
  • ปลาน้ำจืดไทยอิกธิส (Thaiichthys buddhabutrensis)

 

ซากดึกดำบรรพ์, ฟอสซิล, ปลาซีลาแคนท์, ยุคครีเทเชียส, ปลาโบราณ, ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์, ยุคดีโวเนียน, มหายุคพาลีโอโซอิก, หลักฐานซากดึกดำบรรพ์, ปลาซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิด, หมวดหินภูกระดึง

 

  • เต่ายักษ์บาซิโลคีลิส (Basilochelys macrobios)
  • พญาจระเข้ชาละวัน (Chalawan thailandicus)

การค้นพบครั้งนี้ จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของซากดึก ดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมวดหินภูกระดึงของไทย และเพิ่มข้อมูลด้านการกระจายทางบรรพชีวภูมิศาสตร์ของปลาโบราณกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น