“ส.ว.สมชาย” ชี้ชัดเหตุผล ทำไมนักการเมืองอยากล้ม “รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง”

"ส.ว.สมชาย" ชี้ชัดเหตุผล ทำไมนักการเมืองอยากล้ม "รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง"

จากกรณีเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา ในที่ประชุมวุฒิสภา โดยมีพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการตามที่รัฐสภามีมติในการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง

ข้อเสนอนี้ถูกเสนอโดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เมื่อ 15 ก.ย. 2565 และเมื่อ 3 พ.ย. 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นด้วยกับญัตติให้ทำประชามติ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 324 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 7 เสียง และส่งต่อมาเพื่อให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม ประชุมวุฒิสภา เมื่อ 21 พ.ย. 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาก็ยังไม่ได้ลงมติว่าจะเห็นชอบกับการให้จัดทำประชามติ แต่กลับตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) ขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาศึกษาญัตติดังกล่าว 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 20 ธ.ค. 2565 แต่ กมธ.ขอ “ขยายเวลา” ศึกษาต่ออีก 45 วัน ซึ่งในวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมวุฒิสภาก็มีมติขยายเวลาให้ กมธ. ศึกษาต่อได้อีก 45 วัน

 

 

 

ทั้งนี้ในที่ประชุมวุฒิสภา นายสมชาย แสวงการ ส.ว. และในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญพิจารณาการศึกษาการจัดทำประชามติ โดยการตั้งสภาผู้แทนราษฎร รายงานผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมวุฒิสภา ระบุว่า กมธ. คัดค้านการทำประชามติดังกล่าวเพราะขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งคำถามการทำประชามติยังไม่มีความชัดเจน เพราะเป็นการถามเรื่องการตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้ปรากฏในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจในเนื้อหาและข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ขณะที่การจัดทำประชามติดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดทำประชามติถึง 3 ครั้ง ครั้งละ 5,000 ล้านบาท รวม 15,000 ล้านบาท แม้จะให้เลือกตั้งวันเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ก็ต้องแยกหน่วยเลือกตั้งออกมาจากการเลือกตั้ง ส.ส. และมีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยโดยเฉพาะ หลังจาก กมธ.ศึกษาแล้วเสร็จ ได้ส่งกลับมาให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติ

ล่าสุดนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุถึงเรื่องนี้ว่า “#ทำไมนักการเมืองอยากล้มร่างใหม่
#รัฐธรรมนูญปราบโกง

มาตรา235

1 ในมาตราที่นักการเมืองอยากยกเลิกเพราะกำหนดไว้ให้ตัดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต

“ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป*** และไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ””

 

 

 

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น