พนง.การท่าเรือฯ จี้ “ดีเอสไอ” รับคดีทุจริตกองทุนฯ 4 พันล้าน เป็นคดีพิเศษ

พนง.การท่าเรือฯ จี้ "ดีเอสไอ" รับคดีทุจริตกองทุนฯ 4 พันล้าน เป็นคดีพิเศษ

นายกฤษฎา อินทามระ ทนายความ พร้อมพนักงานการท่าเรือที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อเร่งรัดการสืบสวนสอบสวนของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรณีตรวจสอบเส้นทางการเงินจำนวนกว่า 4 พันล้านบาทของของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีนายสมเกียรติ เพชรประดับ ผู้อำนวยการส่วนพิจารณาสำนวนร้องทุกข์ ดีเอสไอ.เป็นตัวแทนรับหนังสือ

นายกฤษฎา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเดือนกรกฎาคม 2565 ตนเองซึ่งเป็นทนายความของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีดีเอสไอ ร้องเรียนการบริหารงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้าข่ายความผิดฐานฟอกเงินซึ่งเป็นเงินประเดิมและบำเหน็จตกทอดของสมาชิกกองทุนมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000,000 บาท (สี่พันล้านบาท)

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมา วันที่ 22 กันยายน 2565 อธิบดี DSI ได้อนุมัติให้ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญาเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการสืบสวน เรื่องสืบสวนที่ 190/2565 เนื่องจากปมปัญหาเดียวกันนี้ทนายกฤษฎาก็ได้พาผู้เสียหายหลายคนไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารระดับสูงกับพวกในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เกี่ยวกับเงินประเดิมและเงินบำเหน็จตกทอดมูลค่ากว่า 4,000,000,000 บาท(สี่พันล้านบาท) อีกทางหนึ่งด้วย โดยแจ้งความไว้ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ( บก.ปปป.)

กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2565 กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป.ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พิจารณาเห็นควรให้ตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นคดีและมีคำสั่งให้ผู้กล่าวหาไปให้ถ้อยคำต่อพนักงานไต่สวนในวันที่ 5 เมษายน 2566

ด้าน นางเพ็ญนภารัตน์ ปานสมัย อายุ 67 ปี อดีตหัวหน้าแผนกกีฬา การท่าเรือฯ ถูกหลอกเข้ากองทุนฯ ตอนออกกลับไม่ได้รับเงินตามที่แจ้งไว้ เงินประเดิมแรกเข้าประมาณ 2 ล้านบาท ส่วนบำเหน็จตกทอด 30 เท่าเงินเดือน 6.9 หมื่นบาท คำนวนหายไปกว่า 4 ล้าน ได้รับจริงหลังเกษียณแค่ 2 ล้าน รวมแล้วถูกโกงไปกว่า 4 ล้าน หลังจากที่รู้ว่าถูกโกง จึงได้สอบถามไปที่กองทุนฯ ขอดูเอกสารการนำส่งเงินประเดิมบำเหน็จตกทอดว่าส่งให้เราเมื่อใด ได้รับคำตอบว่า เงินบำเหน็จตกทอดได้จ่ายให้ครบหมดแล้ว ส่วนหลักฐานเอกสารได้ทำลายไปหมดอ้างว่าเกิน 10 ปี จึงได้ทำลายทิ้งไปหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทนายความและกลุ่มผู้เสียหาย มองว่าคดีสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคดีกล่าวหาของสำนักงาน ป.ป.ช.เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดมีความเชื่อมโยงกัน จึงมาขอให้อธิบดีดีเอสไอ เร่งพิจารณา และส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เพื่อจะได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดไปทำลายพยานหลักฐานอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ
ชวนเที่ยวงาน "เที่ยวถิ่น กินอร่อย สมุทรปราการ" ปี 67 จัดใหญ่จัดเต็มส่งท้ายความสุขช่วงปลายปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น