“การบินไทย”แถลงปี 65 กำไรสุทธิกว่า 1.1 หมื่นล้าน เร่งขายแอร์บัสยุคทักษิณ

"การบินไทย"แถลงปี 65 กำไรสุทธิกว่า 1.1 หมื่นล้าน เร่งขายแอร์บัสยุคทักษิณ

วันที่ 24 ก.พ.66 นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผย ผลการดำเนินการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยบริษัทและบริษัทย่อย ขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท จากปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 55,113 ล้านบาท ลดลง 101%

ขณะที่มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน 7,797 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุน 19,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 140% และมีรายได้รวมทั้งสิ้น 105,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 342% จากปีก่อนที่ 23,747 ล้านบาท

 

 

ทั้งนี้ ปี 2565 บริษัทฯมีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 97,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 341% จากปี 2564 จากกิจกรรมขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ที่เติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีค่าใช้จ่ายไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 86,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127% จากปี 2564 จากค่าใช้จ่ายผันแปรในส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่มีการปรับราคาขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และต้นทุนการบริการในกิจกรรมขนส่งด้วยปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็น EBIT เป็นเงิน 11,207 ล้านบาท ดีกว่าปี 2564 ที่ขาดทุน 15,906 ล้านบาท และมี EBITDA จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน 19,689 ล้านบาท ดีกว่าประมาณการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯต้องมี EBITDA จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบินไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่จะรายงานผลถึงผลสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ

 

 

และจากผลการดำเนินงานของบริษัทย่อย โดยเฉพาะบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด ซึ่งการดำเนินงานขาดทุน 4,248 ล้านบาท และรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิของบริษัทฯและบริษัทย่อยสุทธิที่เป็นรายได้ 1,187 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกลับรายงานผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ กำไรจากการขายสินทรัพย์ การขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากการตีมูลค่าทางบัญชีอันเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินบาท และต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) 11,148 ล้านบาท “ ส่งผลให้บริษัทฯและบริษัทย่อยขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท “ หรือคิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 0.12 บาท อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าประมาณการในแผนฟื้นฟูกิจการ

ขณะที่ ไตรมาสที่ 4 ของปี บริษัทฯมีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 36,902 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 367% มีค่าใช้จ่ายไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 28,020 ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว (EBIT) 8,882 ล้านบาท ดีกว่าปีก่อนหน้าซึ่งขาดทุน 2,579 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาส 4 ปี 2565 บริษัทฯมีกำไรจากการดำเนินงานติดต่อกัน 2 ไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 เป็นต้นมา จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว การปรับโครงสร้างทางธุรกิจและต้นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีกำไรสุทธิ 11,154 ล้านบาท

 

 

ปี 2565 การบินไทย และบริษัทย่อย มีปริมาณการผลิต (ASK) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 243% และมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้นถึง 1,118% มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 67.9% สูงกว่าปี 2564 ซึ่งเฉลี่ยเท่ากับ 19.1% มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 9.01 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 449% มีปริมาณการผลิตด้านการขนส่งสินค้า (ADTK) สูงกว่าปีก่อน 249% ปริมาณการขนส่งสินค้า (RFTK) สูงกว่าปีก่อน 134% อัตราส่วนการขนส่งสินค้า (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 63.1%

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ ในปี 2566 นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย กล่าวว่า ตั้งเป้ารายได้ทั้งหมด (รวมบริษัทย่อย) ที่ 1.3-1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 65

สำหรับตารางการบินฤดูร้อน ปี 2566 ให้บริการเที่ยวบินสู่ 39 เส้นทางบินทั่วโลก พร้อมเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อาทิ โตเกียว (นาริตะ และฮาเนดะ) โอซากา โซล ไทเป ฮ่องกง สิงคโปร์ กัลกัตตา มุมไบ เป็นต้น และกลับมาให้บริการเส้นทางบินเพิ่มเติมในเส้นทางประเทศจีนในช่วงต้นปีได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เฉิงตู กวางโจว เพื่อรองรับการเดินทางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งขยายขนาดฝูงบินให้เพียงพอต่อแผนเส้นทางบินและจำนวนเที่ยวบิน เพื่อบรรลุเป้าหมายการหารายได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ

 

 

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า เมื่อปี 2563 บมจ.การบินไทย ขายเครื่องบินแอร์บัส รุ่น A340-500 จำนวน 1 ลำ ให้กับกองทัพอากาศไทย ส่วนที่เหลืออีก 9 ลำ ได้แก่ รุ่น A340-500 จำนวน 3 ลำ และรุ่น A340-600 จำนวน 6 ลำ ถูกนำไปจอดรอการขาย ตั้งแต่ปี 2558

เรื่องดังกล่าว นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย ระบุว่า สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340 -600 จำนวน 9 ลำนั้น ขณะนี้ได้มีการขายออกไปแล้ว จำนวน 5 ลำ เหลือเพียง 4 ลำ ที่อยู่ระหว่างรอการขาย โดยจัดเก็บไว้ที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ทั้งนี้ เครื่องบิน 9 ลำดังกล่าวได้ทำการด้อยค่าไปแล้ว รับรู้ไปหมดแล้ว

โดยในปี 2566 การบินไทยมีเครื่องบินให้บริการ จำนวน 71 ลำ โดยเป็นเครื่องบินของการบินไทย 44 ลำ / ไทยสมายล์ 20 ลำ / เครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ER ที่อยู่ระหว่างการซ่อม 1 ลำ และเครื่องบินที่มีการเช่าซื้อและอยู่ระหว่างการจัดส่งจำนวน 6 ลำ

ทั้งนี้ นายปิยสวัสดิ์ กล่าวถึงกรณีการควบรวมสายการบินไทยสมายล์ ว่า แผนธุรกิจที่รวมเข้าไปในแผนฟื้นฟูและผ่านการเห็นชอบของศาล ได้มีเรื่องของสายการบินไทยสมายล์ รวมอยู่แล้ว โดยขั้นแรกเป็นเรื่องของการดำเนินการเชิงพาณิชย์ operation ส่วนขั้นต่อไปคือการบริหารจัดการให้เป็นองค์กรเดียวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และลดต้นทุนได้อย่างแท้จริง โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษา รายละเอียด ว่าจะดำเนินการเช่นไร รวมถึงขั้นตอนภายในและภายนอกในการขออนุญาต คาดว่า จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยรูปแบบจะเป็นเช่นเดียวกับช่วงก่อนการจัดตั้งไทยสมายล์ โดยการนำเครื่องบิน A320 มาบินในเส้นทางที่มีความคุ้มทุน เนื่องจากบางประเทศ ไทยสมายล์ไม่อนุญาตให้บินเข้าไปได้ ซึ่งเชื่อว่า เมื่อรวมเข้าด้วยกันจะทำให้เส้นทางบินมีความคล่องตัวมากขึ้น

 

ด้านนายชาย ระบุว่า ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริษัท จะยุบ จะรวม หรือปรับโครงสร้าง ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เพราะเมื่อตัดสินใจแล้ว ก็จะต้องมีการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ แจ้งต่อผู้ถือหุ้น จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าจะดำเนินการเช่นไร และปัจจุบันยังไม่ได้มีการตัดสินใจอย่างเป็นทางการ โดยจะต้องมีการรายงานต่อผู้บริหารแผนฟื้นฟูและคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อรับความเห็นชอบด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสียมาเปรียบเทียบรายละเอียด เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการเจ้าหนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปผลการศึกษาในเดือน เม.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการเพิ่มทุนของบริษัทการบินไทย เพื่อกลับไปเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถจะทำได้หรือไม่ นายปิยสวัสดิ์ ระบุว่า จากแผนฟื้นฟูที่ผ่านการเห็นชอบของศาลนั้น แม้ว่า กระทรวงการคลังจะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิม การบินไทยก็จะไม่กลับไปเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะหน่วยงานรัฐกระทรวงการคลัง แบะ กรุงไทย มีการถือหุ้นอยู่แค่ 44%

ส่วนของภาระหนี้ที่บริษัทถือไว้ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งการชำระหนี้ ได้มีการกำหนดไว้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นหนี้ที่บริษัทได้ทยอยจ่ายไปแล้วบางส่วน ตามที่ระบุไว้ในแผน อาทิ ตั๋วที่มีการรีฟันด์ หนี้ของกลุ่มหมายเหตุประกอบงบ และที่เหลือก็ชำระตามแผน ยกเว้นหนี้ Current การประกอบกิจการปกติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น