จุดยืน “อภิสิทธิ์” ไม่เอาลุงตู่-บนทางเลือกประชาธิปัตย์

เจาะลึกจุดยืน “อภิสิทธิ์” คำรบสองยังไม่สนับสนุน “พล.อ.ประยุทธ์” ทำประชาธิปัตย์สะเทือน หลังมีดีลดึงตัวนั่งส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับต้น ๆ หวังกอบกู้พรรค ย้อนบทเรียนเลือกตั้ง 62 อุดมการณ์ไม่เอาลุงตู่ ทำประชาธิปัตย์วอดวาย ภาคใต้ถูกเจาะ ส่วนกทม.สูญพันธุ์

การเมืองในพรรคประชาธิปัตย์กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศจุดยืนเป็นคำรบที่สองจะไม่สนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และน่าสนใจยิ่งนักเมื่อผู้สื่อข่าวย้อนถาม ถึงประกาศจุดยืนครั้งแรก ที่ส่งผลให้ประชาธิปัตย์ต้องพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้งปี 62 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ตอบกลับไปว่า คำประกาศที่ออกไปคือ “การยึดถืออุดมการณ์” ของพรรคตั้งแต่การก่อตั้ง

 

เช็กรายชื่อ สส.ล็อตใหญ่ จ่อโบกมือลาปชป. ซบรวมไทยสร้างชาติ-เพื่อไทย

 

 

นับตั้งแต่ปี 2489 ภาพของประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ถือมั่นในอุดมการณ์ ตั้งแต่ยุคนายควง อภัยวงศ์, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์, นายชวนหลีกภัย, และนายอภิสิทธิ์ และยังมีอีกหลายบุลคลที่ยึดหลักการความถูกต้องมาอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่นายอภิสิทธิ์พูดในครั้งนี้แม้จะเป็นการยืนยันตามอุดมการณ์ของหลักการประชาธิปไตย แต่ในวันนี้บริบทการเมืองเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ ที่วันนี้สามารถลบล้างภาพของนายทหารกระทำรัฐประหารมาสู่นักการเมืองเต็มตัว ในรั้วของพรรครวมไทยสร้างชาติ

 

 

ดังนั้นการประกาศจุดยืนครั้งที่สอง ที่จะไม่จับมือกับ พล.อ.ประยุทธ์ มีเรื่องต้องให้วิเคราะห์กันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะมีแนวทางจัดการในเรื่องดังกล่าวอย่างไร หากต้องการให้นายอภิสิทธิ์หวนคืนสู่สนามการเมืองในฐานะ ส.ส.ปาร์ตีลิสต์อันดับต้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้เป็นโจทย์ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคต้องดีดลูกคิดให้ถี่ท่วน

หากย้อนดูการเลือกตั้งปี 62 ต้องยอมรับว่ากระแสของลุงตู่แรงสุด ๆ ขณะที่กระแสของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในช่วงทรง ๆ แต่ไม่ถึงกลับขาลง เพราะด้วยตัวตนของพรรคประชาธิปัตย์ และความนิยมในตัวของนายอภิสิทธิยังเชื่อขนมกินได้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ประชาธิปัตย์ไม่เคยเป็นสองรองใคร

 

 

เช่นเดียวกับพื้นที่กรุงเทพหานคร พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ยังได้รับการตอบรับจากคนชั้นกลาง และแฟนคลัปอย่างเหนียวแน่ แต่ด้วยบริบทการเมืองที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะในช่วงรอยต่อปี 57 และปี 62 การเมืองไทยแบ่งขั้วกันชัดเจนระหว่างขั้วคนเอาทักษิณ ชินวัตร และคนเสื้อแดงกับขั้วอนุรักษ์นิยมที่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ เนื่องจากมีภาพความซื่อสัตย์สุจริต และเทิดทูนสถาบัน โดยไม่สนถึงการเข้ามาถือครองอำนาจจากการรัฐประหาร

 

 

จากรูปแบบการเมืองที่แตกเป็นสองขั้วชัดเจน ทำให้เกิดแรงผลักมายังพรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคตัวเลือกแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไปโดยปริยาย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นายอภิสิทธิ์เลือกแทงหวย ด้วยการประกาศจุดยืนไม่เอาเผด็จการ ไม่สนับสนัน พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์ ทราบดีถึงการที่ พล.อ.ประยุทธ์ กระทำรัฐประหารว่ามีสาเหตุมาจากความวุ่นวายของบ้านเมือง นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังเคยมีบทเรียนเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกลุ่มคนเสื้อแดงทุบรถจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการประกาศจุดยืนดังกล่าวทำให้ประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ได้รับบทเรียนอย่างเจ็บแสบจากขั้วอนุรักษ์นิยม โดยผลการเลือกตั้งปี 62 ทำให้ประชาธิปัตย์แทบจะวอดวายในทุกพื้นที่แม้กระทั่งใน 14 ภาคใต้ที่เคยถือครองยิ่งใหญ่ ประชาธิปัตย์ถูกพลังประชารัฐที่มาด้วยกระแสลุงตู่เจาะเก้าอี้ได้ถึง 1 3 นั่ง ส่วนประชาธิปัตย์ได้เพียง 22 ที่นั่งใน 50 เขต และที่ย่ำแย่ที่สุดคือ “กรุงเทพมหานคร” ประชาธิปัตย์ถูกคนกรุงสั่งสอนถึงกับสูญพันธุ์ไม่มี ส.ส.คนใดเข้ามานั่งในสภา

 

 

 

ทั้งนี้ภายหลังการเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐของ พล.อ.ประยุทธ์ รวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลจากพรรคการเมืองต่าง ๆ โดยพรรคประชาธิปัตย์ถูกโจมตีอย่างหนักจากฝั่งตรงข้ามกรณีประกาศไม่สนับสนุนเผด็จการ แต่จะเข้าร่วมรัฐบาลคงเป็นเรื่องน่าอายเพราะเคยอวดอ้างเป็นพรรคการเมืองที่ยึดมั่นอุดมการณ์มาตลอด ซึ่งตอนนั้นหลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเห็นแย้งว่า การประกาศจุดยืนเป็นความเห็นส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่มติของพรรคแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องทำให้นายอภิสิทธิ์ ต้องประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเปิดทางให้พรรคเข้าร่วมรัฐบาล

 

 

จากนั้นต่อมาภาพของนายอภิสิทธิ์แทบจะเลือนหายไปจากประชาธิปัตย์ หลังจากนายจุรินทร์ขยับขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค แม้กระทั่งกลุ่มแกนนำ ส.ส.ที่เป็นฝั่งของนายอภิสิทธิ์ เริ่มถูกลดบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายเทพไท เสนพงศ์ นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ นายสาธิต ปิตุเตชะ นายศิริโชค โสภา ฯลฯ และปัจจุบันแกนนำบางคนย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์โดยไปช่วยงานลุงตู่ที่รวมไทยสร้างชาติ

มาถึงครั้งนี้นายอภิสิทธ์ กำลังถูกทาบทามนั่งในตำแหน่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อช่วยพรรคกอบกู้ชื่อเสียง และกระชากเรตติ้งให้ประชาธิปัตย์กลับมายิ่งใหญ่ในสถานการณ์การเมืองปี 66 ที่กำลังเดินหน้าสู่โหมดเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม ดังนั้นการประกาศจุดยืนของนายอภิสิทธิ์ในคำรบที่สองคาดว่าจะส่งแรงกระเพื่อมต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน

 

เรืองนี้เป็นโจทย์ที่นายจุรินทร์จะต้องไปจับเข่าพุดคุยกับนายอภิสิทธิ์ถึงบทบาทและท่าทีในการร่วมถือธงนำ เพราะบทเรียนที่ผ่านมาน่าจะทำให้ประชาธิปัตย์ รู้ซึ้งถึงทุกสถานการณ์ว่า การกลับมาของนายอภิสิทธิ์จะพาพรรคไปในทิศทางใดกันแน่ แม้ชื่อของนายอภิสิทธิ์ยังคงหอมหวานและดึงดูดบรรดาแฟนคลับเพียงใดก็ตาม.. แต่ในยุคสมัยที่การเมืองไทยเห็นผลประโยชน์เหนืออุดมการณ์เชื่อว่า ประชาธิปัตย์มีคำตอบในใจแล้วว่าจะวางนายอภิสิทธิ์ไว้ในจุดใด…?

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“นายกฯ” ดึง 5 หน่วยงาน สั่งทำโมเดลจำลอง หาสาเหตุ "ตึกสตง." ถล่ม ตีเส้น 90 วัน ลั่นต้องมีผู้รับผิดชอบ
งานเข้าหนัก "นายกฯ" แจ้งความแล้ว ปม "ไฮโซเก๊" แอบอ้างแชทไลน์ปลอม
“บางจากฯ” เปิดคัดสวิงเยาวชนลุยญี่ปุ่น พร้อมเก็บคะแนนสะสมโลก
โฆษกประธานสภาฯ ยัน "วันนอร์"งดออกเสียงร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ เท่าแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย
“พาณิชย์” ชี้เป้าผู้ส่งออก ขายสินค้าเสริมความงามจีน แนะเน้นกลุ่มธรรมชาติ
“พาณิชย์” ชี้เป้าผู้ประกอบการไทยลงทุน ทำการค้า ร่วมมืออาหารฮาลาลกับมาเลเซีย
ตั้งกรรมการสอบ 2 สห. นำขบวน "ไฮโซเก๊" รับสารภาพแล้วถูกจ้างไป อ้างดัดแปลงรถ ไม่ใช่ของหลวง
"ไฮโซเก๊" โดนแฉอีก มีรถนำขบวน แต่ขากลับนั่งวิน พบประวัติสุดฉาว คดีติดตัวเพียบ
จนท.พบเพิ่ม 4 ผู้สูญหาย ใต้ซากตึก สตง.โซน C เตรียมนำเครนยกแผ่นปูนเปิดทาง
จนท.ดีเอสไอ คุมตัวโบรกเกอร์แก๊ง “หมอบุญ” สอบเข้ม คาดส่งฟ้องในสัปดาห์นี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น