"หิวตลอดเวลา" หิวบ่อย หิวเร็ว เปิด 5 สาเหตุเบื้องต้นที่สายกินต้องรู้ เช็คให้ดีใช่สัญญาณโรคร้ายหรือไม่ มีคำตอบให้แล้ว
ข่าวที่น่าสนใจ
5 สาเหตุเบื้องต้นของอาการ “หิวตลอดเวลา” หิวบ่อย หิวเร็ว
- ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) : ฮอร์โมนควบคุมความอิ่มในร่างกายไม่สมดุล
- ความเครียด ความเศร้า ใช้อาหารบำบัดความเครียด
- การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง (อาหารบางประเภททำให้หิวมากขึ้น และหิวเร็วขึ้น)
- ปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น
- อาการ PMS
- ตั้งครรภ์
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ความเคยชิน กินจุกจิกทุก 1 ชั่วโมง
เพื่อความมั่นใจ ก่อนจะตัดสินใจกินต่อสายกินมาลองเช็คระดับความหิวก่อน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สับสนว่าหิวหรือกระหายน้ำ
หลายครั้งอาจเกิดความสับสนระหว่างความหิวและกระหายน้ำ โดยเฉพาะตอนที่อยากกินอะไรเฟรซ ๆ สุดท้ายดันจบที่ของหวานแบบงง ๆ แต่ก็ยังไม่หายหิวอยู่ดี นั่นเป็นเพราะว่า ร่างกายอาจจะแค่กระหายน้ำไม่ได้หิวอย่างที่เข้าใจ เบื้องต้น หากมีอาการแบบนี้ แนะนำให้เริ่มจากการ
- ดื่มน้ำเปล่าก่อน
- ถ้าหากยังมีอาการหิว ค่อยหาอาหารมื้อหลักที่มีประโยชน์มารับประทาน หรือให้เลือกเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำมาดื่ม
2. อาการหิวที่มาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง
- อาหารบางประเภท รับประทานแล้วรู้สึกว่าอิ่มได้ไม่นาน เผลอแป๊บเดียวก็หิวอีกแล้ว
- อาการหิวแบบนี้ มีสาเหตุมาจากอาหารที่ทานเข้าไปทำให้หิวมากขึ้น และหิวเร็วขึ้น เช่น
- อาการประเภทข้าว แป้งขาว น้ำตาล
- อาหารที่มีโซเดียมสูง ฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว
- น้ำผลไม้ที่แยกกากใยออกจนหมด
- รวมถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ทำให้ควบคุมความหิวได้ยากขึ้น
3. อาการหิวที่มาจากปัจจัยด้านร่างกาย และสุขภาพ
- สำหรับสาว ๆ ที่มีอาการหิวที่มากกว่าปกติ อย่าเพิ่งตกใจไป ลองเช็คตารางประจำเดือนก่อน อาจเป็นอาการของช่วงก่อนวันมีประจำเดือน (PMS)
- หรือเป็นสัญญาณเตือนว่าเรากำลังตั้งครรภ์ก็ได้
- โดยในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีความต้องการอาหารมากขึ้น ทำให้หิวบ่อยขึ้น
4. การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ก็ส่งผลต่อความหิวได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า การนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลกับการหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ตัวการควบคุมความหิว ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากขึ้น
- ในขณะที่ทำให้ระดับการหลั่งฮอร์โมนเลปติน (leptin) ที่ควบคุมความอิ่มลดลง
5. ความหิวที่เกิดจากปัจจัยทางอารมณ์
- ความเครียดมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนควบคุมความอิ่ม (Leptin) และฮอร์โมนควบคุมความหิว (Ghrelin)
- ซึ่งร่างกายแต่ละคนจะมีการหลั่งฮอร์โมนไม่เท่ากัน
นอกจากนี้ “หิวตลอดเวลา” อาการหิวที่มากกว่าปกติ อาจเป็นอาการของโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
1. โรค Hypoglycaemia หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- โดยมากจะพบอาการนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ใช้อินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำจะส่งผลให้อยากอาหารมากขึ้น หิวหนักขึ้น หิวเร็วขึ้น หรืออาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ และหน้ามืดได้
2. โรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)
3. ไทรอยด์ผิดปกติ
- อ้วนขึ้น หรือผอมลงอย่างผิดปกติ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น
- เหงื่อออกง่าย
- นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
- หิวบ่อย น้ำหนักลดแม้รับประทานมาก
- สมาธิสั้น เครียด นอนไม่หลับ
- ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นวันละ 2-3 ครั้ง
ถ้าหากมีอาการหิวโดยมีสาเหตุจากโรคเหล่านี้ แนะนำให้มาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
ข้อมูล : sikarin
ข่าวที่เกี่ยวข้อง