ทำความรู้จัก "Impostor Syndrome" กับอาการยอดฮิต ขาดความมั่นใจ ด้อยค่าตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่เก่ง จริง ๆ แล้วเราเป็นคนไม่เก่ง หรือคิดไปเองกันแน่?
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อสังคมปัจจุบันคาดหวังให้ทุกคนเป็นคนเก่ง แน่นอนว่าผู้คนต่างก็พยายามเพื่อให้ได้เขเาศึกษาโรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ดี ซึ่งรวมไปถึงการแข่งขันในหน้าที่การงาน เพื่อให้ได้เงินเดือนที่มากกว่าเดิม
สร้างภาระและความกดดันใหญ่หลวงให้กับจิตใจและร่างกาย และเมื่อสิ่งที่คาดหวังไม่เป็นดังฝัน ต่างก็ผิดหวังและเริ่มฝังใจจนขาดความมั่นใจและคิดว่าตัวเองไม่เก่ง วันนี้ TOP News จะพาทุกคนมาหวนเช็คสภาพจิตใจ ลองทวนดูสิ จริง ๆ แล้วเราเป็นคนไม่เก่ง หรือคิดไปเองกันแน่?
รู้จัก “Impostor Syndrome” (โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง)
- เป็นภาวะที่บุคคลหนึ่งไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเองและมักตั้งคำถามกับความสำเร็จที่ตัวเองได้รับ
- จึงตั้งมาตรฐานของตัวเองไว้สูงมากและพยายามทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดความกดดันในการทำงานและการใช้ชีวิต และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
Impostor Syn drome ไม่ได้จัดเป็นโรคและความเจ็บป่วยทางจิตใจ แต่เป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ความเครียด และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหลายด้าน ทั้ง
- การทำงาน
- การทำสิ่งที่ตัวเองรัก
- ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
Imposter Syn drome เกิดจากอะไร
1. บุคลิกส่วนตัว
- อาจพบในผู้มีปัญหาในการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy)
- คนที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์
- คนที่ขาดความทะเยอะทะยานและไม่สามารถทำตามแบบแผนที่ถูกกำหนดได้
- หรือบางครั้งอาจพบในคนที่มีนิสัยรักความสมบูรณ์แบบ ซึ่งหากสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะรู้สึกไม่พอใจและโทษตัวเอง
2. การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก
- เช่น ความกดดันในการเรียน
- การถูกเปรียบเทียบกับลูกพี่ลูกน้อง
- ครอบครัวที่ควบคุมการใช้ชีวิต
- และครอบครัวที่ปกป้องดูแลลูกมากเกินไป
3. ปัญหาสุขภาพจิต
- อย่างโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจทำให้สภาพจิตใจของบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดความสงสัยในตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเองลดลง และกังวลว่าคนอื่นจะมองตัวเองไม่ดี
ผู้ที่มีอาการเข้าข่าย Impostor Syn drome มักมีความคิดและความเชื่อ ดังนี้
1. คิดว่าตัวเองไม่ควรได้รับความสำเร็จ แม้จะได้รับคำชื่นชมจากคนอื่น ๆ
- คนกลุ่มนี้มักคิดว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลจากความโชคดี
- และยกความดีความชอบให้กับคนที่ช่วยเหลือมากกว่าที่จะเห็นคุณค่าในตัวเอง
2. คิดว่าความสำเร็จไม่ใช่เรื่องสำคัญที่น่ายินดี
- เพราะ เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้
3. รู้สึกไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเองบ่อยครั้ง
- โดยเฉพาะเมื่อเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ
4. กลัวคนอื่นจะรู้ว่าตัวเองไม่เก่งจริง
- พยายามปิดบังความรู้สึกและชดเชยด้วยการทำงานหนักขึ้น
5. หากเกิดความผิดพลาดเล็กน้อย
- ก็จะคิดว่าตัวเองขาดความรู้ความสามารถทันที
ผู้ที่มีภาวะ Imposter Syn drome มักมีความมั่นใจในตัวเองและการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง และนำไปสู่อาการเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจจากความเครียดและความวิตกกังวลในอนาคตได้
วิธีรักษาภาวะ “Impostor Syndrome” อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดด้วยวิธีดังนี้
- เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะ ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จในทุกเรื่อง ข้อผิดพลาดและความล้มเหลวเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
- ประเมินตัวเองข้อดีข้อด้อยของตัวเอง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
- ชื่นชมความสำเร็จของตัวเองบ่อย ๆ เช่น นึกถึงผลงานที่ตัวเองทำได้ดี และคำชมเชยที่ได้รับจากหัวหน้างาน
- พ่อแม่ควรชื่นชมของลูกโดยให้ความสำคัญกับความพยายามมากกว่าการชมว่าเก่งเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองทำมีคุณค่า และสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับความผิดหวังได้ด้วยตัวเอง
- ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ๆ เพราะ ทุกคนมีความสามารถและความถนัดที่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบจะยิ่งทำให้ความมั่นใจในตัวเองลดลง
- ปรึกษาคนใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัว เพื่อนสนิท และเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น และอาจได้คำแนะนำในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
การยอมรับความล้มเหลวในชีวิตไม่ใช่เรื่องผิด ไม่ใช่การยอมแพ้ ไม่ใช่เราไม่เก่ง เพราะ ทุกคนผิดพลาดกันได้ ให้คิดว่าเป็นอีก 1 บทเรียนผลักดันให้เราสู้ต่อไป ทั้งนี้หากรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์อาจเป็นวิธีที่ช่วยปรับความคิดและทัศนคติต่อตัวเองให้ดีขึ้น
ข้อมูล : Pobpad
ข่าวที่เกี่ยวข้อง