ชาวบ้านตูม ร่วมสืบสานประเพณีโบราณ อัญเชิญพระอุปคุต ในงานบุญเดือนสี่

ชาวบ้านตูม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุต อธิษฐานขอความร่มเย็นเป็นสุข ผ่านพ้นภัยแล้ง และร่วมกันแห่ผ้าผะเหวดแบบโบราณ ก่อนเริ่มงานบุญมหาชาติ เพื่อสืบสานงานประเพณีบุญเดือน 4 ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณโบราณสถานโนนบ้านเก่าและศาลปู่หอใต้ บ้านตูม ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นางละมุล ภักดีนอก ผู้ใหญ่บ้านตูม หมู่ 4 พร้อมด้วยนายบรรเจิด สุธรรมมา พ่อขะจ้ำประจำหมู่บ้าน นำชาวบ้านกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุต ก่อนร่วมกันแห่ผ้าผะเหวดหรือผ้าพระเวส มาที่วัดโพธิ์ชัยบ้านตูม ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานบุญเดือน 4 ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ ของชาวอีสาน ที่ชาวบ้านได้ร่วมกับคณะสงฆ์ นำพาบุตรหลานสืบทอดมาเป็นประจำทุกปี

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายบรรเจิด สุธรรมมา พ่อขะจ้ำประจำหมู่บ้าน กล่าวว่า ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ก่อนเริ่มงานบุญมหาชาติ จะอัญเชิญพระอุปคุต ที่สถิตอยู่บริเวณสระน้ำตามความเชื่อ มาสถิต ณ บริเวณพิธีทำบุญ ทั้งนี้ จะมีการนำดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าหรือขันแปด มากราบไหว้และประกอบพิธีอัญเชิญ สำหรับสระน้ำของชาวบ้านตูมที่มีความเชื่อว่าพระอุปคุตสถิตอยู่ คือบ่อน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับศาลปู่หอใต้ ใกล้กับโบราณสถานโนนบ้านเก่า โดยบ่อน้ำดังกล่าวมีลักษณะเป็นบ่อน้ำซึม มีน้ำขังตลอด ชาวบ้านได้มาตักไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี

 

 

นายบรรเจิดกล่าวอีกว่า สำหรับพระอุปคุตนั้น ชาวพุทธยังมีความเชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลความร่มเย็นเป็นสุข สามารถดลบันดาลให้เกิดฝนตกลงมา การอัญเชิญพระอุปคุตและแห่ผ้าผะเหวดในงานบุญเดือน 4 หรือบุญมหาชาติ ชาวบ้านยังได้ร่วมกันอธิษฐานขอพรพระอุปคุต ตลอดทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอความเป็นสิริมงคล ไม่เกิดวิกฤติภัยแล้ง สภาพดินฟ้าอากาศไม่วิปริตแปรปรวน การประกอบอาชีพเจริญก้าวหน้า การทำนา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ค้าขายร่ำรวย

 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม พิธีอัญเชิญพระอปคุตและแห่ผ้าผะเหวด หรือผ้าพระเวส ก่อนเริ่มงานบุญเดือน 4 หรือบุญมหาชาติ แต่ละชุมชนอาจจะมีรูปแบบการจัดงานแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามความพร้อมของแต่ละชุมชน แต่มีจุดหมายเดียวกันคือการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ โดยชาวบ้านตูมร่วมกันจัดงานแบบโบราณ คือเน้นความเรียบง่าย ไม่มีการจัดขบวนแห่ยิ่งใหญ่ เพื่อความประหยัด พอเพียง จากนั้นร่วมกันฟังเทศน์มหาชาติ และร่วมบริจาคปัจจัย เพื่อทำนุบำรุงศาสนสถานและต่อยอดพระพุทธศาสนาอีกด้วย.

 

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว ชมพิศ ปิ่นเมือง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.กาฬสินธุ์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น