งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ชี้ "มลพิษ" ทางอากาศ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ข่าวที่น่าสนใจ
ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน ส่งกระทบในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติต่าง ๆ รวมไปถึงโรคภัยต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลา ทำให้หลายประเทศเล็งเห็นถึงความสำคัญ และออกมาตรการในการควบคุม “มลพิษ” ทั้งทางอากาศ น้ำ เสียงและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ซึ่งนอกจากมล พิษเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติแล้ว ล่าสุด ทางมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยงานงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างค่ามล พิษทางอากาศ มีผลทำให้มวลกระดูกในร่างกายเสื่อมสลายเร็วขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างหญิงวัยหมดประจำเดือน 9,041 คน เป็นเวลา 6 ปี โดยพิจารณาเฉพาะความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางอ้อมของโรคกระดูกพรุนและความเสี่ยงกระดูกหัก
เปรียบเทียบกับระดับมล พิษทางอากาศ โดยเฉพาะก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์ในพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ พบว่า เมื่อมล พิษเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของกระดูกทุกส่วนในร่างกายลดลง คอ กระดูกสันหลัง และสะโพก
โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณเพิ่มถึง 10% ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียปริมาณมวลในกระดูกกระดูกสันหลังส่วนเอวเฉลี่ยต่อปีละ 1.22% ซึ่งมากถึง 2 เท่าหากเทียบการสูญเสียตามอายุ
จากการศึกษาเพียงอย่างเดียวอาจะไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ขอสันนิษฐานดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาจากงานวิจัยจำนวนมากในขณะนี้ ดูเหมือนว่าสมมติฐานดังกล่าวจะมีความที่น่าเชื่อถือมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีวัยหมดประเดือน เพราะงานวิจัยในครั้งนี้ครอบคลุม
- กลุ่มชาติพันธุ์
- สถานที่
- วิถีชีวิต
- ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลาย
ทำให้มีแนวโน้มว่าระดับมล พิษจะเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการสูญเสียมวลกระดูก
ปัจจุบัน นักวิจัยหลายฝ่ายต่างเรียกร้องให้รัฐบาลและประเทศต่าง ๆ หันมาใส่ใจส่ิงแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดปริมาณ “มลพิษ” ทางอากาศ เช่น
- การจราจรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์
Andrea Baccarelli นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวว่า การลดการปรับปรุงมล พิษทางอากาศ โดยเฉพาะไนโตรเจนออกไซด์ จะช่วยลดความเสียหายของกระดูกในสตรีวัยหมดประจำเดือน
- ป้องกันกระดูกหัก
- ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
ข้อมูล : sciencealert
ข่าวที่เกี่ยวข้อง