เปิดความเห็นศาลปกครองเสียงข้างน้อยชี้ชัดรฟม.ผิดแก้ TOR รถไฟฟ้าสีส้ม

เปิดความเห็นศาลปกครองเสียงข้างน้อยชี้ชัดรฟม.ผิดแก้ TOR รถไฟฟ้าสีส้ม

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ฝ่ายเสียงข้างน้อย มีความเห็นแย้ง ว่าประการที่หนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอำนาจแก้ไขหลักเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอที่ปรากฎอยู่ในเอกสาร RFP มากน้อยเพียงใด

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ว่ามาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติรราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการกำหนดข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่การสงวนสิทธิดังกล่าว ปรากฏข้อความในเอกสารประกาศเชิญชวน เอกสารการคัดเลือกเอกน และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(บางขุนนนท์ มีนบุรี) ดังนี้

 

 

 

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อยเห็นว่า ข้อความสงวนสิทธิ์ที่ว่า “สงวนสิทธิ์ตามดุลพินิจที่จะยกเลิกการประกาศเชิญชวนข้อเสนอ หรือยกเลิกการคัดเลือกโดยไม่ พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเลย…”  ย่อมหมายถึง การยกเลิกการดำเนินการประกาศเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งอาจใช้ในกรณีที่เมื่อประกาศให้ยื่นข้อเสนอแล้ว ปรากฎว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือจำนวนน้อยเกินกว่าที่จะมีการแข่งขันกันหลายๆ ราย จึงจำเป็นต้องยกเลิกการเชิญชวนเพื่อประกาศเชิญชวนครั้งใหม่ เป็นต้น ข้อสงวนสิทธิ์ดังกล่าว ย่อมต่างจากข้อสงวนสิทธิ์ที่จะ ยกเลิก “ประกาศ” เชิญชวน กล่าวคือ การยกเลิก “การดำเนินการประกาศเชิญชวน” ย่อมนำไปสู่การดำเนินการประกาศเชิญชวนรอบใหม่โดยที่เอกสารที่เป็นประกาศเชิญชวนฉบับเดิมที่ได้ผ่านกระบวนการจัดทำตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ กำหนดไว้ยังคงดำรงอยู่ ส่วนการยกเลิกประกาศเชิญชวนย่อมทำให้เอกสารที่เป็นประกาศเชิญชวนนั้นสิ้นสุดลง และนำไปสู่การต้องจัดทำเอกสารฉบับใหม่ตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบ ดังนั้น ในเมื่อการสงวนสิทธิ์ไม่ได้พูดถึงการยกเลิกประกาศเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะยกเลิกหรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขประกาศเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอโดยพลการ

นอกจากนั้น การสงวนสิทธิ์ ตามข้อ 12.2 ของประกาศเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอก็ดี ตามข้อ 35.2 ของเอกสาร RFP ก็ดี ระบุให้สิทธิ์ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงลด หรือขยายระยะเวลาของการคัดเลือกตามประกาศเชิญชวนข้อเสนอเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ รฟม. และมติของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น มิใช่เป็นการสงวนสิทธิ์ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1  เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอันได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจัดทำจากหน่วยงานต่างๆ  ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องมาแล้ว

 

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1  เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นประกาศเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอก็ดี เอกสารการคัดเลือกเอกชนหรือ RFP ก็ดี ย่อมเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ที่จะทำได้

 

ประการที่สอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนตามที่ปรากฎอยู่ในเอกสาร RFP เป็นการแก้ไขสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ไม่ใช่การแก้ไขรายละเอียด

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนตามที่ปรากฎอยู่ในข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารการคัดเลือก และร่างสัญญาร่วมลงทุน ลงวันที่ 5 เมษายน 2563 (ในเอกสาร RFP ข้อ 9 ข้อ 10  และข้อ 11  เป็นข้อความเดียวกับประกาศข้างต้น)   กำหนดไว้ว่า

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมา เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  จึงได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนซื้อเอกสารการคัดเลือก โดยกำหนดให้ยื่นข้อเสนอ ระหว่างวันที่  10 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2563  มีผู้ซื้อเอกสารการคัดเลือก จำนวน 10 ราย หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกชนที่ปรากฎในเอกสาร ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 กำหนดไว้ว่า ผู้ยื่นข้อเสนอต้องจัดทำข้อเสนอแบ่งเป็น 4 ซอง  ได้แก่ ซองที่ 1  ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอ ด้านการลงทุนและผลตอบแทน และซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการ และการดำเนินงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยในการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค นั้น ประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินคะแนนเทคนิคในแต่ละหมวดไว้แล้ว โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชน ทั้งนี้ ในส่วนของลำดับขั้นตอนการพิจารณาซองข้อเสนอนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะพิจารณาข้อเสนอทีละซองข้อเสนอ เมื่อผู้ยื่นข้อเสนอผ่านการประเมินในซองแต่ละลำดับแล้ว จึงจะได้รับสิทธิในการพิจารณาซองลำดับถัดไป กล่าวคือ เมื่อผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของซองข้อเสนอที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งหากเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงจะประเมินซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน โดยผู้ยื่นข้อเสนอที่มีมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของประโยชน์

ตอบแทนสุทธิ ซึ่งก็คือเงินตอบแทนที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะเสนอให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 หักด้วยจำนวนเงินสนับสนุน ที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะขอรับจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 สูงที่สุดจะเป็นผู้ที่ผ่านการประเมินสูงสุด ซึ่งหลักเกณฑ์ตามประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการข้างต้น สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชน โดยในการพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้มีการกำหนดให้นำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมารวมพิจารณากับคะแนนข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนเพื่อหาผู้ชนะการประเมินแต่อย่างใด

 

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)  มีหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า ไม่ควรพิจารณาให้ผู้ชนะการคัดเลือกเป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ได้โดยพิจารณาถึงปัจจัยและผลประโยชน์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงขอให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาปรับปรุงการประเมินข้อเสนอ เพื่อหาผู้ชนะการคัดเลือกให้มีความเหมาะสมชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้องตามกฎหมาย

 

และในวันที่ 21 สิงหาคม 2563  ได้มีการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยได้มีการจัดทำร่างเอกสารปรับปรุงแก้ไขหัวข้อการประเมิน ข้อเสนอด้านเทคนิค โดยภายหลังการประชุม นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยแทนคณะกรรมการคัดเลือกฯ ว่า ได้มีมติเห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดผลตอบแทนใหม่

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือก RFP ใหม่ (Addendum No.1) คือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อยเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงแก้ไขดังกล่าว มิใช่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นหลักการอันเป็นสาระสำคัญของการคัดเลือกเอกชนที่จะร่วมทุนกับรัฐในด้านการลงทุนและผลตอบแทนซึ่งกระทบต่อผลประโยชน์ของรัฐโดยตรง

 

การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมหลักการอันเป็นสาระสำคัญของการคัดเลือกเอกชนเช่นนี้ ไม่อยู่ในข้อสงวนสิทธิ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะกระทำได้ภายในกรอบของการสงวนสิทธิ์ดังกล่าว

ประการที่สาม ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์หรือคำสั่งทางปกครองทั่วไปใด หากแม้ว่าเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะกระทำได้ เจ้าหน้าที่ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญของการจัดทำหลักเกณฑ์ หรือคำสั่งทางปกครองทั่วไปนั้นด้วย

 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ เป็นโครงการที่เริ่มต้นโครงการโดยได้เสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 อันเป็นช่วงที่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556   ต่อมา ในระหว่างที่ดำเนินโครงการได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2562

 

โดยที่มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ซึ่งอยู่ในบทเฉพาะกาล บัญญัติว่า

 

 

 

 

 

ปรากฎข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ว่า มีการเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม  เพื่อขอการอนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562 และวันที่ 28 มกราคม 2563 โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้ว ในขั้นตอนต่อไปของการดำเนินโครงการ ได้มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มาทุกขั้นตอน ได้แก่

การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 และได้มีการนำร่างประกาศเชิญชวนยื่นข้อเสนอ ร่างเอกสารการคัดเลือก และร่างสัญญาร่วมทุน ไปรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องตามมาตรา  35  วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563

 

ดังนั้น จึงต้องถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ. 2562 ที่บัญญัติให้โครงกรที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนตามหมวด 4 การเสนอโครงการแห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามทบัญญัติในหมวดดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ และให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เลือกที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 แทน

และโดยที่มาตรา 35 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและ เอกชน พ.ศ.2562 บัญญัติว่า

 

ในการจัดทำเอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำเอกสารตามวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ การรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกขนให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

โดยบทบัญญัติดังกล่าว ให้นำเอกสารร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารการคัดเลือก ร่างสัญญาร่วมทุน ไปรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจึงเป็นขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ ข้อเท็จจริงปรากฏจากคำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเองว่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ก็แสดงว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  ได้นำหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนในเอกสาร RFP  ไปรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องแล้ว ดังนั้น หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีความจำเป็นจะต้องแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก็จะต้องดำเนินการอย่างเดียวกันกับเมื่อตอนที่จัดทำเอกสารนี้ กล่าวคือ ต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ไม่อาจถือได้ว่า การรับฟังความเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมีขอบเขตลดลงเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะเอกชนผู้ซื้อเอกสาร RFP เท่านั้น

 

อนึ่ง โดยที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณของรัฐด้วยและที่ปรากฏตามเอกสารในสำนวนและในคำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองว่า ในการเสนอโครงการนี้เพื่อขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี “รับทราบหลักการขอบเขตและเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน” ด้วย ในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน อันมีผลกระทบต่องบประมาณที่จะใช้ในโครงการนี้ ก็ต้องนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย

 

ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยจึงเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจและมิได้ปฏิบัติตามรูปแบบขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

น้ำใจแทร่ๆ "เจ้าของเต็นท์รถ" สระแก้ว ส่งมอบรถกระบะคันใหม่ พร้อมจยย. ให้ลุงป้า "มูลนิธิธรรมนัสฯ" สมทบเงิน 4 แสนไว้รักษาตัว
“รองโฆษกรัฐบาล” ยืนยันค่าไฟไม่ได้เพิ่ม แต่ลดลงเหลือ 3.99 บ.ต่อหน่วย
โค้งสุดท้าย "พิพัฒน์" นำทีมภูมิใจไทย เคาะประตูบ้าน ชาวเมืองคอน ขอเสียงหนุน "ไสว" เป็นสส.เขต 8
ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น