โพลชี้เลือกตั้ง 2566 คนไทยไม่ทนต่อ “คอร์รัปชัน”

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทยในการเลือกตั้ง 2566 ชี้ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญลำดับแรกที่ประเทศต้องแก้ไข ตามมาด้วยการศึกษา และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

วันที่ 8 มี.ค.66 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมูลนิธิเพื่อคนไทย โดย นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และประธานกรรมการมูลนิธิ “เพื่อคนไทย” / ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) / รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมแถลง “ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทยในการเลือกตั้ง 2566” จากการสำรวจ 2,255 ตัวอย่างทั่วประเทศ ซึ่ง 82% ของกลุ่มตัวอย่างเคยเลือกตั้งมาก่อนหน้านี้ ขณะที่อีก 18% เลือกตั้งครั้งแรก

 

 

โดยส่วนใหญ่ 41% มองว่าพรรคการเมืองควรจะประกาศนโยบายที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณ รองลงมา 33% เป็นนโยบายกว้างๆ และ 26% เป็นนโยบายที่ระบุกระบวนการตรวจสอบที่สามารถตรวจสอบได้จริง

 

 

สำหรับปัญหาสำคัญของประเทศที่ต้องแก้ไขมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 25%, การศึกษา 14% และ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 13% ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่ากลุ่มตัวอย่างอายุ 40-49 ปี ให้ความสำคัญในเรื่องปัญหาการทุจริตฯ เป็นอันดับต้นๆ รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 18 – 19 ปี และ 30-39 ปี

 

 

ผลสำรวจส่วนใหญ่ 67% ของตัวอย่าง มองว่านโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองหรือนักการเมืองมีผลมากต่อการตัดสินใจลงคะแนนในการเลือกตั้ง 2566 แบ่งเป็น 66% ต้องการพรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่มีความชัดเจนต่อนโนยบายต่อต้านคอร์รัปชันและปฏิบัติได้จริง และ 23% โปร่งใส สุจริตในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบได้ / 8% ช่วยแก้ไขวัฒนธรรมการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ และ 3% ต้องการให้ประเทศมีทิศทางการพัฒนาที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ซึ่งส่วนใหญ่ป็นกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับกลุ่มค้าขาย นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ 3% ของตัวอย่างที่เห็นว่าไม่มีผลเลยเพราะเลือกคนที่ชอบ และคิดว่าเป็นเพียงแค่คำโฆษณาไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถทำได้จริง พร้อมพิจารณานโยบายอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงเลือกพรรคที่ชอบ

 

 

 

อีกทั้ง 79.3% ของตัวอย่างเห็นด้วยว่าพรรคการเมืองควรจะเสนอนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นนโยบายหลัก โดยมาตรการหรือนโยบายที่รัฐบาลควรให้ ความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน 3 ลำดับแรก คือ 19.1% ต้องเปิดเผยข้อมูลสาธารณะให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย , 17.9% รับฟังเสียงประชาชน ปกป้องและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน , 17.8% สนับสนุนให้องค์กรตรวจสอบ เช่น ป.ป.ช. ได้ทำงานอย่างเป็นอิสระ

 

 

 

ส่วนปัญหาคอร์รัปชัน 3 ลำดับแรกที่ส่งผลเสียและต้องการให้รัฐบาลเร่งจัดการ คือ 23.9% ปัญหาทุจริตในระบบราชการ , 21.6% กระบวนการยุติธรรม ซึ่งในส่วนนี้ยอมรับว่า ต้องเพิ่มโทษให้เข้มข้น จะเห็นจากกรณีคนมีฐานะสามารถหนีคดีไปต่างประเทศได้ และในช่วงห้าปีที่ผ่านมา มี 100 คดี เกี่ยวกับทุจริตที่อัยการไม่สั่งฟ้อง และให้ป.ป.ช. ยื่นฟ้องเอง ซึ่ง 80% ป.ป.ช. ยื่นฟ้องแล้วชนะ , 11.8% คือเรื่องเงินบริจาคแก่สถาบันและศาสนา

 

 

สำหรับปัญหาคอร์รัปชันที่รัฐบาลใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม 3 ลำดับแรก คือ 18% ควบคุม จัดการ สมาชิกในรัฐบาลและสมาชิกพรรคการเมืองเสียงข้างมากร่วมรัฐบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชัน, 16.7% เปิดเผยข้อมูลเรื่องที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, 12.4% นโยบายรับประโยชน์ทับซ้อนและการเอื้อประโยชน์พวกพ้อง

 

 

ที่สำคัญ พบว่า 83.6% ของกลุ่มตัวอย่าง หากพรรคการเมืองไม่มีนโยบายการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ก็จะไม่เลือกพรรคการเมืองนั้น และ 86.2% บอกว่าหากนักการเมืองมีการให้เงินซื้อเสียงก็จะไม่เลือกเช่นกัน

 

 

ผลสำรวจ ระบุว่า สิ่งที่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ ดำเนินการแก้ไข 20 ประเด็น โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 9.8% , การดูแลสวัสดิการ และคุณภาพชีวิตของประชาชน 7.8% , การเข้าถึงแหล่งเงินทุน / เงินกู้ 7.1% , การดูแลค่าครองชีพให้เหมาะสม 6.7% และดูแลราคาพลังงาน 6.3%

 

 

 

ด้านดร.มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า เสียงตรงนี้คือเสียงของประชาชนที่ต้องการจะบอกให้นักการเมืองที่จะเข้าสู่สนามการเลือกตั้งได้รับฟังและตอบสนองความต้องการของประชาชน ทำให้เกิดความหวังว่า ยุคสมัยของการเมืองที่เต็มไปด้วยการแบ่งพรรคพวก และตักตวงผลประโยชน์กำลังจะหมดไป เราคงได้ก้าวเข้าสู่การเมืองสมัยใหม่ที่นักการเมืองมุ่งมั่นที่จะบริหารบ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์ ด้วยความอยู่ดีกินดี ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ทุกพรรคการเมือง และนักการเมืองทุกคน จะต้องออกมาชี้แจงกับประชาชนว่าจะแก้ปัญหา จะตอบสนองความต้องการของประชาชน ที่สะท้อนจากโพลครั้งนี้ได้อย่างไร

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น