สธ.แจงปมจ่อออก กม.นิรโทษบุคลากรสาธารณสุขรักษาโควิด

สธ.แจงปม จ่อออกกฎหมายนิรโทษ บุคลากรสาธารณสุขรักษาโควิด ชี้ เป็นขวัญกำใจให้เจ้าหน้าที่ป้องกันการถูกฟ้อง ระบุเป็นโรคใหม่ การรักษาหลายอย่างมีข้อจำกัด ไม่ตัดสิทธิประชาชนเรียกร้องเยียวยา

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แถลงชี้แจงกรณีกระทรวงสาธารณสุขเตรียมออก ร่างพระราชกำหนดจำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ว่า โรคนี้เป็นโรคที่ใหม่ แนวทางการรักษา เรื่องยา วิธีการ และเมื่อมีจำนวนที่มากขึ้นจากการระบาดหลายครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธ์ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ จนต้องไปเปิดฮอสพิเทล หรือโรงพยาบาลสนาม ด้วยภาวะฉุกเฉินและข้อจำกัดต่างๆ ย่อมอาจจะมีเรื่องที่ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงทั้งหมด เพราะฉะนั้นความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ การมีภูมิต้านทานในเรื่องของการป้องกันที่จะถูกฟ้องร้อง จะทำให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในภาวะอย่างนี้ ทำให้มีข้อเสนอจากองค์กรวิชาชีพ จากสมาคมโรงพยาบาลเอกชนเสนอให้มีกฎหมายลักษณะนี้  เบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะทำงานยกร่าง โดยมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานหลัก มีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆมาช่วยกันพิจารณา เพื่อมีกฎหมายคุ้มครองผู้ทำงานในช่วงภัยพิบัติ  ให้ทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ ไม่ต้องพะวง

ส่วนร่างกฎหมายฉบับนี้ จะครอบคลุมใครบ้างนั้น นายแพทย์ธเรศ กล่าวว่า หลักสำคัญก็คือ เป็นการจำกัดการรับผิดบุคลากรสาธารณสุข ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งบุคลากรที่จะได้รับความคุ้มครองมีดังนี้ 1.บุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะในแขนงต่างๆ อาสาสมัครกระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครต่างๆ บุคคลหรือคณะบุคลต่างๆที่มีส่วนช่วยในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงยาต่างๆ และวัคซีน

สำหรับสถานที่ใดบ้าง ที่จะคุ้มครอง ประกอบด้วย สถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน โรงพยาบาลสนาม หรือการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่เฉพาะ อย่างไรก็ตามบุคลากรสาธารสุข หรือสถานพยาบาลที่กล่าวอ้างถึง ต้องทำในสถานพยาบาลหรือนอกสถานพยาบาลที่เรากำหนด อีกทั้งการดูแลนี้ต้องเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์สาธารณะ และก็ทำภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้ ที่สำคัญการดูแลคุ้มครองไม่ใช่ทุกกรณี ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กรอบใหญ่ๆ คือ การกระทำนั้นต้องเป็นไปโดยสุจริต ส่วนการกระทำที่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหาย จะไม่ได้รับการคุ้มครอง นอกจากนี้ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย ร่างกฎหมายก็เขียนไว้ว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ด้าน พลอากาศตรีนายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันเป็นสถานการณ์เช่นเดียวเดียวกับการเข้าสู่สงคราม พวกเราทุกคนปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ และจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากมาย สถานที่ไม่เอื้ออำนวย หลายครั้งต้องไปสถานที่ที่สร้างขึ้นใหม่ โดยอาจจะไม่ได้วางมาตรฐานไว้แต่เดิม และมีภาระงานมากกว่าปกติโดยไม่มีข้อจำกัด ท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด ซึ่งเป็นความยากลำบากของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง การมีกฎหมายคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานทุกคน ให้เขาปลอดภัย ทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อดูแลชีวิตประชาชนได้มากที่สุด ก็จะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ไมติดขัด และเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทุกภาคส่วนก็เห็นด้วยในการคุ้มครองนี้ แต่นั่นหมายความว่าไม่ได้ลดมาตรฐานในการรักษา อีกทั้งภาครัฐยังต้องดูแลและปกป้องประชาชนเหมือนเดิม

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น