“ธิดา” ยื่น ยธ. คืนความยุติธรรมให้คนเสื้อแดง 53 จี้ฟื้นคุกนักโทษการเมือง

“ธิดา” ยื่น ยธ. คืนความยุติธรรมให้คนเสื้อแดง 53 จี้ฟื้นคุกนักโทษการเมือง

วันนี้ ที่กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 หรือ คปช.53 นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ เลขาฯคปช.53 นายแพทย์เหวง โตจิราการ พร้อมทั้งตัวแทนญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มนปช. เมื่อปี 2553 และมวลชนคนเสื้อแดง ได้เดินทางมายื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยมี ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นตัวแทนผู้รับหนังสือแทน

โดย นางธิดา เปิดเผยว่า เรามานำเสนอข้อเรียกร้อง 4 ข้อ จริงๆ เราเริ่มต้นที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยต้องการให้ทำหน้าที่ที่เขายังไม่ได้ทำคือ สำนวนชันสูตรพลิกศพ 62 ศพ วันนี้เรามาที่กระทรวงยุติธรรมเพื่อมาถามหาข้อมูลทั้งหมด 4 ข้อ

ข้อที่ 1 คือ DSI ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบคดีการปราบปรามประชาชนในปี 2553 ทั้งหมด 99 ศพ ที่มีหลักฐานชัดเจน 94 ศพ เราไม่พบว่า DSI ได้สั่งฟ้องสักคดีเดียว เราจึงมาขอให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัด สอบสวน แล้วเปิดเผยข้อมูลให้สังคมไทยได้รับรู้ว่าคดีใดส่งไปอัยการแล้วบ้าง ไปอัยการทหาร หรือสำนักงานอัยการ เพราะมันมีความแตกต่างกัน อย่างเช่นคดี 6 ศพวัดปทุมฯ ส่งไปที่ไหน พูดง่าย ๆ ว่าเราไม่ต้องการให้คนตายฟรี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อที่ 2 ก็คือติดคุกฟรี มีพี่น้องเราจำนวนหนึ่งถูกจับตั้งแต่ปี 53 ไม่ได้รับการประกันตัวในข้อหาต่างๆ ตั้งแต่ยิงเฮลิคอปเตอร์ หรือคดีก่อการร้ายและอื่น ๆ แล้วศาลยกฟ้อง แม้กระทั่งคดีชายชุดดำ ติดคุกฟรีไม่ได้รับการเยียวยา เราจึงขอให้สั่งการไปยังกรมคุ้มครองสิทธิ หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ที่ถูกจับกุมคุมขัง ซึ่งศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง และล่าสุดเมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นคดีปาระเบิดก็ยกฟ้อง แต่ก็ไม่ได้รับการเยียวยา

ข้อที่ 3 คือชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่ถูกพิพากษาไปแล้ว หรืออยู่ในระหว่างประกันตัวของผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ควรจะมีสถานที่ที่อยู่แยกจากคดีอาชญากรรมอื่น ๆ เราเคยทำมาแล้วในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ เรามีเรือนจำพิเศษบางเขน ซึ่งพอมีการทำรัฐประหารเขาก็ยุบปิดเลย เราจึงขอเสนอสถานที่ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องหรูเริ่ด แต่อยากให้แยกจากคดีอาชญากรรมอื่น ๆ เป็นหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ ไม่ควรจะย่ำยีความเป็นมนุษย์

ข้อที่ 4 สำคัญที่สุด ก็คือเราขอให้กระทรวงฯ ได้หารือกับศาลเกี่ยวกับสิทธิประกันตัวของประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เราได้ไปลงนามในสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาสิทธิมนุษยชน ICCPR เป็นต้น

ดังนั้น เราเรียกร้องเฉพาะคดีขอปี 53 คือข้อเดียวคือข้อ 1 แต่ข้อ 2-3-4 เราเรียกร้องความยุติธรรมให้กับประชาชนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและประชาชนที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว สำหรับการเยียวยาทางท่านเลขานุการบอกว่าน่าจะทำได้ แต่ต้องไปแก้ไขในส่วนของระเบียบและกฎหมาย แต่ถ้ากระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยไม่สามารถให้ความยุติธรรมกับเราได้ เราก็จะนำข้อมูลเหล่านี้ส่งศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC นี่ไม่ใช่คำขู่ ไม่ใช่ว่าเราไม่เคยไป เราไปมาแล้วและได้ผลแล้ว เราจะไปอีกเพื่อไปเพิ่มข้อมูลว่าเวลาที่ผ่านมาประมาณ 9-10 ปี ทุกอย่างมันยิ่งเลวร้ายลงไปกว่าเดิม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น