สงครามครั้งสุดท้าย “ชวน หลีกภัย”

เจาะเบื้องลึกผลโพลความนิยม "จุรินทร์" สวนทางกระแสพรรคประชาธิปัตย์ที่ดีวันดีคืน พร้อมบทพิสูจน์ "ชวน หลีกภัย" กับการเป็นเสาหลักนำทัพประชาธิปัตย์ที่อาจเป็นสงครามครั้งสุดท้ายหรือไม่ ย้อนเส้นทางการเมืองกว่า 50 ปี นายหัวชวนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหัวหน้าพรรคค่ายสีฟ้า

การเมืองภายในประชาธิปัตย์ในช่วงก่อนการลือกตั้งเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองชนิดห้ามกระพริบตา โดยเฉพาะประเด็นจุดขายในเรื่องความนิยมของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคที่ดูจะเป็นรองบรรดาแคนดิเดดนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองต่าง ๆ อยู่พอสมควร ทั้งที่ความจริงนายจุรินทร์ เป็นคนมุ่งมั่นทำงานมีความสามารถรู้ความสามารถระดับสูงที่พรรคประชาธิปัตย์วางใจให้ถือธงนำในตำแหน่งหัวหน้าพรรค พร้อมการันตีด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีหลายสมัย

ล่าสุดนิด้าโพลเปิดเผยผลสำรวจของพี่น้องชาวจังหวัดสงขลาถึงบุคคลที่คนสงขลาจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้พบว่า นายจุรินทร์ หล่นไปอยู่อันดับ 6 โดยอันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย ) อันดับ 3 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อันดับ 4 (ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้) และอันดับ 5 นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

ขณะที่พรรคการเมืองที่คนสงขลามีแนวโน้มจะเลือกเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคการเมืองที่คนสงขลามีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย

เมื่อย้อนผลโพลนิด้าของคนเมืองคอนโดยบุคคลที่คนนครศรีธรรมราชให้เป็นนายกรัฐมนตรีพบว่า นายจุรินทร์ อยู่ในอันดับ 5 โดย อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร อันดับ 3 ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 4 นายพิธา

สำหรับพรรคการเมืองที่คนนครศรีธรรมราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจ ส่วนพรรคการเมืองที่คนนครศรีธรรมราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพบว่า อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจ

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คะแนนนิยมส่วนตัวของนายจุรินทร์ยังไม่ค่อยเข้าตาพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะการสำรวจความนิยมจากโพลค่ายต่าง ๆ ยิ่งพบว่า ความนิยมส่วนตัวของนายจุรินท์สวนทางกับความนิยมในตัวพรรคประชาธิปัตย์ที่พุ่งสูงอย่างสิ้นเชิง

ความนิยมของนายจุรินทร์สร้างความแปลกใจกับ “นายชวน หลีกภัย” ถึงขนาดตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดนายจุรินทร์ไม่ได้รับควมนิยมจากผลสำรวจของโพลค่ายต่าง ๆ

“ในความเห็นผมนายจุรินทร์ ซึ่งเคยเป็นเลขาฯ ผมมาก่อน เป็นคนเก่งคนหนึ่งแต่ผมแปลกใจว่าเวลามีการหยั่งเสียง และผลโพลที่ออกมา ทำไมนายจุรินทร์ จึงอยู่ในลำดับท้ายๆ แม้ตอนนี้จะขยับขึ้นมาหน่อย ดังนั้นเมื่อมาถึงจุดนี้เราต้องมาช่วยกัน เมื่อมีการยุบสภาแล้วผมจะช่วยเต็มที่” นายชวน กล่าว

น่าสนใจยิ่งนักกับความเคลือบแคลงของนายชวนต่อกระแสความนิยมของนายจุรินทร์ เพราะในเส้นทางการเมืองกว่า 30 ปี ของนายจุรินทร์เติบโตมาอย่างแข็งแรงได้ดีเป็นหัวหน้าพรรคได้แรงส่งจากชายชื่อชวน หลีกภัย มาตั้งแต่แรกเริ่มโดยในปี 2531 นายชวนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุขก็มีนายจุรินทร์นั่งเป็นเลขารัฐมนตรี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาปี 35 นายชวนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากนั้นปี 2540 นายชวนดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง นายจุรินทร์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

กว่า 5 ทศวรรษที่ผ่านมานายชวน ถือเป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงในประชาธิปัตย์ และถือเป็นบุคคลที่ยึดมั่นในหลักการเหนือสิ่งอื่นใด และหากใครยังจำกันได้นายชวนเคยให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญก่อนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 51 ว่า ช่วงที่พลังประชาชนถูกยุบพรรค นายเนวิน ชิดชอบ พาส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินออกจากพรรพลังประชาชนมาสนับสนุนประชาธิปัตย์ เพื่อรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล โดนตอนนั้นนายเนวิน และพรรคการเมืองต่างๆ ตั้งเงื่อนไขให้นายชวนต้องเป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่นายชวนปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงว่า “ใครเป็นหัวหน้าพรรคต้องเป็นนายกรัฐมนตรี”

“ตอนที่คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ คุณเนวินมาหนุน คนเหล่านั้นมีเงื่อนไขกับเราว่าให้คุณชวนเป็นนายกฯ ทำให้ต้องประชุมต่างหากมีคุณสุเทพ คุณบัญญัติ คุณนิพนธ์ เชิญผมไปด้วย ทุกท่านเล่าความจริงว่า จะตั้งรัฐบาลร่วมกัน มีข้อแม้ว่า คุณชวนต้องเป็นนายกฯ ผมเลยบอกว่าถ้าอย่างงั้นไม่ต้องเสียเวลามาก ใครเป็นหัวหน้าพรรค คนนั้นคือนายกฯ ให้บอกว่าผมปฏิเสธ”

นี่คือหนึ่งในวลีเด็ดในอีกหลากหลายเรื่องราวสำหรับนายชวนที่ยึดถือหลักการมากกว่าชีวิต ซึ่งคำปฏิเสธในครานั้นส่งผลให้นายอภิสิทธิ์ ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่ 27 ในทันที

บทบาทการเมืองภายในพรรคประชาธิปัตย์นายชวน และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคถือว่ามีบทบาทอย่างสูง และอาจกล่าวได้ว่าการเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนที่ 8 ของนายจุรินทร์ได้แรงส่งจากนายชวน นายบัญญัติ และนายอภิสิทธิ์ที่คอยผลักดันอยู่ในเบื้องลึก

ทั้งนี้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันที่ 15 พฤษภาคม ปี 2562 พรรคประชาธิปัตย์จัดประชุมใหญ่เพื่อให้ ส.ส. และสมาชิกพรรคเลือกหัวหน้าพรรค ประกอบไปด้วย 1.นายกรณ์ จาติกวณิช, 2.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 3.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 4.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างนายจุรินทร์ นายกรณ์ และนายพีระพันธุ์ ซึ่งตอนนั้นมีข่าวว่า กลุ่มของนายอภิสิทธิ์ ผลักดันนายกรณ์ให้เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนนายจุรินทร์มีแรงหนุนจากนายชวน และนายบัญญัติ แต่ในช่วงสุดท้ายกลุ่มนายอภิสิทธ์พลิกขั้วหันไปสนับสนุนนายจุรินทร์ ส่งผลให้นายจุรินทร์ชนะคู่แข่งขาดลอยด้วยคะแนน 160 เสียง

 

อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งครั้งนั้นกล่าวกันว่าเหตุที่นายอภิสิทธิ์พลิกขั้วไปสนับสนุนนายจุรินทร์เป็นเพราะกำลังภายในของนายชวน และนายบรรญัติที่หนุนนายจุรินทร์อย่างเต็มตัว และที่สำคัญเหตุการณ์ครั้งทำให้ความสัมพันธ์ของนายกรณ์และนายอภิสิทธิ์แทบจะกลายเป็นเส้นขนานจนถึงวันนี้

สำหรับนายชวน หลีกภัย เป็น ส.ส.มาถึง 16 สมัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย และเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงต่าง ๆ มากมาย โดยตลอดชีวิตเส้นทางการเมืองกว่า 50 ปี นายชวนถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ล่อเลี้ยงประชาธิปัตย์ทั้งในยามสุข และทุกข์ และในภาวะที่ประชาธิปัตย์อยู่ในยุคที่ตกต่ำประสบปัญหาเลือดไหลไม่หยุด ในฐานะผู้อาวุโสที่เป็นเสาหลักจึงจำเป็นต้องฝืนสังขารมาร่วมกอบกู้พรรคให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง โดยยืนยันว่าหลังการยุบสภาจะช่วยนายจุรินทร์ และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ลงพื้นที่หาเสียงอย่างเต็มที่ แม้ก่อนหน้านี้นายชวนคิดจะวางมือทางการเมือง

“ผมมาเป็นหัวหน้าพรรคได้ไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่ระบบพรรคประชาธิปัตย์ที่ยอมรับเสียงข้างมากว่า คนไหนเหมาะสม ผมใช้เวลาพิสูจน์ 22 ปี ก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นหัวหน้าพรรคได้ เมื่อชนะเลือกตั้ง ผมได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้จ่ายเงินสักบาท บุญคุณเหล่านี้ ในชีวิตนี้ใช้ไม่หมด การที่มาจากเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงิน บุญคุณที่มีกับชาวบ้านในชีวิตนี้ก็ใช้ไม่หมด ผมจึงคิดว่าในช่วงปลายของชีวิตผม จะเดินทางไปเยี่ยมเพื่อขอบคุณคนที่เคยช่วยเหลือผมที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อเป็นการตอบแทนผ่านการทำงานอย่างซื่อสัตย์ และสุจริต ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คนในพรรคต้องระลึกว่า คุณได้อะไรไปจากพรรคบ้าง ”

บทพิสูจน์จากคำประกาศของนายชวนจะนำพาประชาธิปัตย์ไปในทิศทางใดคงต้องมาดูกัน ภาพนายชวนถือกลองสะบัดชัยเปรียบเสมือนการประกาศความพร้อมในการนำพลพรรคประชาธิปัตย์ลงสู่สนามลือกตั้ง และนี่อาจสงครามครั้งสุดท้ายของชายชื่อ “ชวน หลีกภัย” ก็เป็นไปได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"วีริศ" ผู้ว่าการรถไฟฯ เปิดสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) จัดวันเด็ก 68 สร้างรอยยิ้มให้เด็กๆ พร้อมเปิดโอกาสสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับกิจการรถไฟ
“วีริศ” ผู้ว่าการรถไฟฯ เปิดสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ 2568 สร้างรอยยิ้มให้เด็กๆ พร้อมเปิดโอกาสสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับกิจการรถไฟอย่างใกล้ชิด
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ส่งมอบสถานีโทรมาตรอัตโนมัติสนับสนุนการเตือนภัยน้ำท่วมแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ให้สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ณ สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 1 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
สุดสลด เกิดเหตุไฟไหม้บ้าน "ผู้สมัคร ส.อบจ.สุพรรณบุรี" เสียชีวิต 4 ราย
"จ่าเอ็ม" สารภาพหมดเปลือก ผู้มีพระคุณจ้างวานฆ่า "อดีต สส.กัมพูชา" ด้วยเงิน 6 หมื่นบาท
"แม่ จ่าเอ็ม" สะอื้นอยากเจอหน้าลูก ด้านตำรวจยังคงคุมตัวสอบเข้ม
แม่ทัพภาคที่ 2 เร่งคลี่คลายคุมสถานการณ์ไฟป่าปากช่องสั่งฮอลิคอปเตอร์พ่นน้ำสกัดเพลิงจนสงบ
"ปลัดกลาโหม" ชวนน้องๆ ร่วมกิจกรรมสุดพิเศษ สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
"พิพัฒน์" จัดใหญ่งานวันเด็ก 68 ย้ำคำขวัญ "ทุกโอกาสคือการเรียนรู้" พร้อมหนุนพัฒนาทักษะ กล้าแสดงออกสร้างสรรค์
ตร.คุมตัว "จ่าเอ็ม" สอบเข้มปมยิงอดีตส.ส.กัมพูชา เจ้าตัวรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น