จากแม่วาง ฝาง ถึงพร้าว “พาณิชย์” ผนึก ผปก.รับซื้อหอมใหญ่ในราคานำตลาด

จากแม่วาง ฝาง ถึงพร้าว “พาณิชย์” ผนึก ผปก.รับซื้อหอมใหญ่ในราคานำตลาด

ถ้าข้าวหอมมะลิ105 ถูกยกให้เป็นของดีอ.พร้าว จ.เชียงใหม่ หอมหัวใหญ่ก็ไม่ต่างกัน จะต่างก็แค่ราคาที่ลูดลงมาจนแทบเกษตรกรผู้ปลูกหอมร้องจ๊ากแทบจะทุกปี จุดเด่นหอมหัวใหญ่อ.พร้าวจะต่างจากพื้นที่อื่นตรงที่ผลไม่เล็กไม่ใหญ่เกิน เปลือกบาง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ผู้บริโภคชอบ ตลาดต้องการมาก
ทว่าปีนี้(2566) กลับโชคดีที่กรมการค้าภายได้ กระทรวงพาณิชย์ผนึกผู้ประกอบการลงพื้นที่ซื้อหอมหัวใหญ่จากกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ กว่า 33,507 ตันในโครงการบริหารจัดการพืช 3 หัวในราคานำตลาดตามนโยบาย”ตลาดนำการผลิต”ของรัฐบาลผ่านแนวคิด”อมก๋อย โมเดล”ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์มุ่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
ปัจจุบันแหล่งปลูกหอมหัวใหญ่อยู่ในหลายพื้นที่ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ กาญจนบุรีและแม่ฮ่องสอน แต่กว่าร้อยละ65 อยู่ในพื้นที่จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 อำเภอได้แก่ อ.แม่วาง อ.ฝาง และอ.พร้าว โดยเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลิตมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2566 ที่อ.แม่วาง คิกออฟ(Kick off)โดยนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ
จากนั้นกลางกุมภาพันธ์ 2566 มาคิกออฟ(kick off)ที่อ.ฝาง โดยอธิบดีกรมการค้าภายใน นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยมเช่นกัน และล่าสุด(ณ วันที่ 9 มี.ค.66)อ.พร้าว คิกออฟ(kick off) เป็นจุดสุดท้าย โดยรองอธิบดีกรมการค้าภายในนายกรนิจ โนนจุ้ย นำผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อหอมหัวใหญ่ถึงแหล่งผลผลิต

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะอ.พร้าวนั้นปีนี้คาดว่ามีผลผลิตหอมหัวใหญ่รวมประมาณ 800 ตัน โดยมีเป้าเข้าไปรับซื้อประมาณ 200 ตันในราคานำตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาทส่งผลราคารับซื้อหอมหัวใหญ่ในท้องตลาดเริ่มขยับตัวขึ้นตาม หลังก่อนหน้านี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 บาทเท่านั้น
นายจตุรงค์ ถนอมบุญ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่เผยว่าหอมหัวใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจของอ.พร้าวที่เกษตรกรปลูกกันมากรองจากข้าวหอมมะลิ105 แต่ราคาจำหน่ายกลับสู้ข้าวหอมไม่ได้ ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรปลูกหอมหัวใหญ่เริ่มหันไปหาพืชชนิดอื่นปลูกแทน
“ปีนี้ผลผลิตหอมหัวใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 800 ตัน ขณะนี้ถอนไปแล้วประมาณ 20-30% ปีก่อนหน้านี้พ่อค้าในพื้นที่รับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 10-12 บาท ราคานี้ยังไงเกษตรกรก็อยู่ไม่ได้ ยิ่งปุ๋ยแพงต้นทุนการผลิตยิ่งเพิ่ม ยิ่งไปกันใหญ่ แต่ปีนี้ราคา 15 บาทรับได้และเก็บผลผลิตได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็พออยู่ได้”
ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อ.พร้าวกล่าวขอบคุณกรมการค้าภายในที่พาผู้ประกอบการเข้ามาช่วยยกระดับราคาหอมหัวใหญ่ให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยนำผู้ประกอบการเข้ามารับซื้อในราคานำตลาดกิโลกรัมละ 15 บาท ทำให้ช่วยต่อลมหายใจพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ในพื้นที่อ.พร้าว เป็นกอบเป็นกำ

“ปีนี้กรมการค้าภายในพาผู้ประกอบการเข้ามารับซื้อหอมหัวใหญ่ในพื้นที่อ.พร้าว ในราคานำตลาด ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้รับซื้อราคานี้ไปเรื่อย ๆ เพราะถ้าราคาไม่ต่ำกว่า 15 บาทเกษตรกรอยู่ได้แน่นอน ต่างจากที่ผ่าน ๆ มาจะมีพ่อค้าในพื้นที่มารับซื้อแต่เป็นไปตามราคาที่เขากำหนด โดยเกษตรกรไม่สามารถต่อรองอะไรได้เลย ”นายจตุรงค์กล่าว
เขายอมรับว่าปีนี้หอมหัวใหญ่ราคาดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่ทว่าผลผลิตปีนี้กลับมีน้อยกว่าปีก่อนเนื่องจากช่วงที่เริ่มปลูกประมาณเดือนตุลาคม 2565 มีฝนตกลงมาทำให้หน่อเน่าได้รับความเสียหายทำให้ปีนี้ได้ผลผลิตน้อยกว่าปีก่อน แต่ขายได้ราคาดีกว่า
ด้านนายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวถึงการนำผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อหอมหัวใหญ่ในพื้นที่อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ตามมาตรการบริหารจัดการพืช 3 หัว โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยระบุว่าสำหรับอำเภอพร้าวจะเป็นพื้นที่ให้ผลผลิตหอมหัวใหญ่เป็นช่วงสุดท้ายของจังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมฯ มั่นใจว่าการเดินหน้าเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่องที่ดำเนินการมานั้น จะสามารถดูแลราคาให้กับเกษตรกรให้อยู่ในระดับสูงตลอดทั้งฤดูกาลผลิตปีนี้

ทั้งนี้ กรมฯ มั่นใจว่าหอมหัวใหญ่จะเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้ ตลาดรองรับผลผลิต ทั้งร้านอาหาร โรงแรม สถานบริการต่าง ๆ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ทำอาหารบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลดีจากการเดินทางท่องเที่ยว และจากการเปิดประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวมีความคึกคักเพิ่มมากขึ้น และกรมฯ จะประสานให้ผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ เข้าไปรับซื้ออย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน จะติดตามและประเมินสถานการณ์การผลิต ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามสถานการณ์เป็นระยะ และเตรียมพร้อมดำเนินการรับมือด้านปริมาณและราคาไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูแลพี่น้องเกษตรกรให้สามารถขายสินค้าเกษตรได้ในเกณฑ์ดีตลอดฤดูกาล โดยหากประชาชนและเกษตรกร พบเห็นการจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น