ฮือฮา นักวิทย์ฯ พบแบคทีเรียสุดเจ๋ง เปลี่ยนอากาศเป็น "ไฟฟ้า" จุดประกายความหวังสร้างแหล่งพลังงานสะอาดใหม่
ข่าวที่น่าสนใจ
ฮือฮาหนักมาก นักวิทยาศาสตร์พบเอนไซม์ไฮโดรจีเนส (Huc) ในแบคทีเรีย Mycobacterium smegmatis มีคุณสมบัติพิเศษสามารถเปลี่ยนไฮโดรเจนในชั้นบรรยากาศ เป็นพลังงาน “ไฟฟ้า” คาดสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ได้ในอนาคต
การค้นพบดังกล่าวตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature โดยระบุว่า “เราคิดว่าชั้นบรรยากาศที่มีเอนไซม์ไฮโดรจีเนส สามารถพัฒนาเป็นแบตเตอรีจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กได้อย่างยั่งยืน เช่น
- นาฬิกาดิจิตอล
- เครื่องคิดเลข
- คอมพิวเตอร์ทั่วไป
จุดประกายแหล่งพลังงานไร้ขีดจำกัดในอนาคต
จากรายงานแสดงให้เห็นว่า แบคทีเรีย Mycobacterium smegmatis มีเอนไซม์ไฮโดรจีเนส เปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนในอากาศ และดึงพลังงานโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีการสร้างพลังงานท้าย ๆ ที่แบคทีเรียจะเลือกใช้เมื่อไม่มีอาหารให้กิน โดยเอนไซม์ไฮโดรจีเนส จะเข้าไปสลายพันธะของไฮโดรเจนที่เชื่อมต่อกัน ก่อนจะได้เป็นอิเล็กตรอน หรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ Huc สามารถดึงกระแส “ไฟ ฟ้า” ออกได้โดยตรงเลยนั่นเอง
แต่กว่าจะแยกสำเร็จ ทีมวิจัยต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะทำให้ เอนไซม์ไฮโดรจีเนสมีเสถียรภาพในการทำงานที่อุณหภูมิ -80℃-80℃ โดยมีเพียง 0.00005% ของชั้นบรรยากาศยังมีน้อย ทำให้ผลิตออกมาได้ไม่มากนัก
แต่ก็แสดงให้เห็นว่า เอนไซม์ไฮโดรจีเนส ทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมเสหมือนเป็นแบตเตอรีธรรมชาติ สามารถผลิตกระแส “ไฟ ฟ้า” ต่อเนื่อง เมื่อเติมอากาศเข้าไปนั่นเอง
ข้อมูล : livescience
ข่าวที่เกี่ยวข้อง