รู้หรือไม่ วันนี้ เป็น "วันหยุดเขื่อนโลก" 14 มีนาคม วันแห่งการต่อสู้และเรียกร้องให้ยุติการสร้างเขื่อน เพราะน้ำคือชีวิตไม่ใช่ความตาย
ข่าวที่น่าสนใจ
“วันหยุดเขื่อนโลก” เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ปี 1995 โดยขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (Brazil’s Movement of People Affected by Large Dams) ได้เล็งเห็นปัญหาและภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน โดยพวกเขามองว่าปัญหานี้ไม่ใช่แค่ปัญหาระดับประเทศ แต่มันคือปัญหาระดับโลก ทำให้ขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิลเสนอจัดการประชุม สำหรับภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนจากทั่วโลกขึ้น
ต่อมาในเดือนมีนาคมปี 1997 ประเทศไทยส่งผู้แทนจากเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมกับชาติอื่น ๆ ในการประชุมที่เมืองกูรีชีบา รัฐปารานา ประเทศบราซิล เพื่อแสวงหาแนวทางจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อนในเขตลุ่มน้ำต่าง ๆ
ครั้งนั้นผู้เข้าร่วมประชุมได้ตัดสินใจประกาศให้วันที่ 14 มีนาคมเป็น “วันหยุดเขื่อนโลก” โดยมีเป้าหมายสำคัญของการจัดตั้งวันนี้ขึ้นเนื่องจาก
- ต้องการเสริมสร้างเครือข่ายระดับภูมิภาคและระดับประเทศในการต่อต้านการสร้างเขื่อน
- ส่งเสริมการฟื้นฟูแม่น้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารทั่วโลก
- เรียกร้องให้มีการจัดการน้ำอย่างเท่าเทียมและยั่งยืนล
การสร้างเขื่อนสร้างผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการก่อสร้าง ทำให้เขื่อนมักจะถูกสร้างทับพื้นที่ป่าหลายร้อยล้านไร่ ซึ่งผืนป่านั้นเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งต่อทุกสิ่งมีชีวิต เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัยของเหล่าสรรพสัตว์ แต่ยังเป็นทั้งแหล่งอาหารและเป็นพื้นที่รักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อมด้วย หากเขื่อนถูกสร้างขึ้น ธรรมชาติก็จะเสียสมดุล
แน่นอนว่าสัตว์ป่าน้อยใหญ่ก็จะไม่มีที่ให้หลบภัยและไม่มีแหล่งอาหาร พืชมากมายก็ล้มตาย สูญเสียความสมดุลและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้นไปโดยปริยาย
นอกจากการสูญเสียพื้นที่ป่าแล้ว แม่น้ำลำธารเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศน้ำจืด เนื่องจาก เขื่อนเปรียบเหมือนกำแพงขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นการไหลของน้ำเอาไว้ การไหลของน้ำที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้ระบบนิเวศดั้งเดิมเปลี่ยนแปลง อย่าง
- การอพยพของปลา
- การวางไข่
- การเข้าถึงแหล่งอาหาร เป็นต้น
อาจะทำให้ปลาสูญพันธุ์จากธรรมชาติได้เลยทีเดียว
การสร้างเขื่อนนั้น ต่อให้ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดก็ต้องเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรืออาจสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นั้น ๆ ไปเลย แบบที่ไม่สามารถนำธรรมชาติเหล่านั้นกลับมาดังเดิมได้
ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง