เปิดภาพ “ดาวฤกษ์” WR 124 ขนาดยักษ์ ก่อนระเบิดซูเปอร์โนวา

ดาวฤกษ์, ดาวฤกษ์ มี อะไร บ้าง, วิวัฒนาการ ของ ดาวฤกษ์, สี ของ ดาว ฤกษ์ บอก อะไร, ซูเปอร์โนวา, ดาวฤกษ์มวลมาก, Wolf-Rayet, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, Supernova, ดาว WR 124, กำเนิดดาวฤกษ์, นักดาราศาสตร์, ฝุ่นในอวกาศ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) เผยภาพ "ดาวฤกษ์" WR 124 ขนาดยักษ์ ก่อนระเบิดซูเปอร์โนวา ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจความลับของฝุ่นจักรวาลมากขึ้น

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตข่าวดีวงการดาราศาสตร์ หลังกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) จับภาพ “ดาวฤกษ์” ดาว ฤกษ์ มี อะไร บ้าง วิวัฒนาการ ของ ดาว ฤกษ์ สี ของ ดาว ฤกษ์ บอก อะไร ขนาดใหญ่ ก่อนจะระเบิดซูเปอร์โนวา ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตความคืบหน้าวงการดาราศาสตร์อีกครั้ง โดยคราวนี้ เป็นภาพใหม่ผลงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) เผยให้เห็น “ดาวฤกษ์” ประเภท Wolf-Rayet ซึ่งเป็นประเภทของดาว ฤกษ์มวลมากที่อยู่ในช่วงวิวัฒนาการสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นอายุขัย

เกิดการปลดปล่อยมวลสารออกสู่อวกาศอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความสว่างสูงกว่าปกติมาก และมีอุณหภูมิพื้นผิวได้สูงถึง 200,000 เคลวิน ซึ่งเป็นประเภทของดาว ฤกษ์ที่พบได้ยาก เนื่องจากเป็นช่วงชีวิตสั้น ๆ ช่วงหนึ่งของดาว ฤกษ์เท่านั้น ก่อนที่จะเข้าสู่วาระสุดท้ายกลายเป็นการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (Supernova)

 

ดาวฤกษ์, ดาวฤกษ์ มี อะไร บ้าง, วิวัฒนาการ ของ ดาวฤกษ์, สี ของ ดาว ฤกษ์ บอก อะไร, ซูเปอร์โนวา, ดาวฤกษ์มวลมาก, Wolf-Rayet, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, Supernova, ดาว WR 124, กำเนิดดาวฤกษ์, นักดาราศาสตร์, ฝุ่นในอวกาศ

 

เผยให้เห็นรายละเอียดของดาว WR 124 ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากโลกประมาณ 15,000 ปีแสง บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)

  • มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 30 เท่า
  • มวลสารที่ดาวปลดปล่อยออกมาล้อมรอบดาวนั้นมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 10 เท่า

ซึ่งกลุ่มฝุ่นและแก๊สเหล่านี้จะค่อย ๆ เย็นตัวลงเมื่อเวลาผ่านไป กลายไปเป็นสสารระหว่างดวงดาวที่สังเกตเห็นได้ในช่วงคลื่นอินฟราเรด

ฝุ่นในอวกาศ เป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่จะทำให้เกิดการก่อตัวไปเป็นวัตถุและโครงสร้างต่าง ๆ ในเอกภพ ทั้ง

  • การก่อกำเนิด “ดาวฤกษ์”
  • การก่อกำเนิดดาวเคราะห์
  • มีส่วนสำคัญให้โมเลกุลต่าง ๆ รวมตัวกันกลายมาเป็นโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

 

ดาวฤกษ์, ดาวฤกษ์ มี อะไร บ้าง, วิวัฒนาการ ของ ดาวฤกษ์, สี ของ ดาว ฤกษ์ บอก อะไร, ซูเปอร์โนวา, ดาวฤกษ์มวลมาก, Wolf-Rayet, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, Supernova, ดาว WR 124, กำเนิดดาวฤกษ์, นักดาราศาสตร์, ฝุ่นในอวกาศ

ซึ่งจากแบบจำลองการอธิบายกำเนิดเอกภพในปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่า ฝุ่นในอวกาศที่เราพบในปัจจุบันนี้ มีปริมาณมากกว่าที่แบบจำลองทำนายเอาไว้ และนักดาราศาสตร์ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด ที่ผ่านมานักดาราศาสตร์ไม่สามารถศึกษาวัตถุที่มีฝุ่นและแก๊สเหล่านี้ได้ดีมากนัก เนื่องจากฝุ่นและแก๊สมีความทึบแสงที่บดบังรายละเอียดภายในเอาไว้ นักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถบอกได้ว่าที่ใจกลางของกลุ่มฝุ่นและแก๊สที่พฤติกรรมเป็นอย่างไร

 

ดาวฤกษ์, ดาวฤกษ์ มี อะไร บ้าง, วิวัฒนาการ ของ ดาวฤกษ์, สี ของ ดาว ฤกษ์ บอก อะไร, ซูเปอร์โนวา, ดาวฤกษ์มวลมาก, Wolf-Rayet, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, Supernova, ดาว WR 124, กำเนิดดาวฤกษ์, นักดาราศาสตร์, ฝุ่นในอวกาศ

 

การจะศึกษาวัตถุที่มีฝุ่นและแก๊สหนาแน่นให้ดีที่สุดนั้น จำเป็นต้องศึกษาในช่วงคลื่นรังสีอินฟราเรด เนื่องจากฝุ่นทึบแสงเหล่านี้จะสว่างขึ้นในย่านอินฟราเรด รวมถึงข้อมูลของดาว ฤกษ์ที่อยู่ภายในก็สามารถเดินทางทะลุฝุ่นเหล่านี้ออกมาในช่วงคลื่นนี้ได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ที่ทำงานในช่วงคลื่นอินฟราเรด จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือในอุดมคติที่สามารถสังเกตการณ์ฝุ่นเหล่านี้ได้อย่างดีเยี่ยม

 

ดาวฤกษ์, ดาวฤกษ์ มี อะไร บ้าง, วิวัฒนาการ ของ ดาวฤกษ์, สี ของ ดาว ฤกษ์ บอก อะไร, ซูเปอร์โนวา, ดาวฤกษ์มวลมาก, Wolf-Rayet, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, Supernova, ดาว WR 124, กำเนิดดาวฤกษ์, นักดาราศาสตร์, ฝุ่นในอวกาศ

 

และด้วยเทคโนโลยีอันทรงพลังของเจมส์ เว็บบ์ ไม่ว่าจะเป็นเป็น

  • กล้อง NIRCam ที่สังเกตการณ์ในช่วงอินฟราเรดใกล้ (Near-infrared)
  • MIRI ที่สังเกตการณ์ในช่วงอินฟราเรดกลาง (Mid-infrared)

จึงสามารถบันทึกภาพรายละเอียดของดาว WR 124 อย่างที่ไม่เคยมีกล้องใดทำได้มาก่อน

การศึกษา “ดาวฤกษ์” ประเภท Wolf-Rayet เป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจ

  • วิวัฒนาการดาว ฤกษ์มวลมาก
  • วิวัฒนาการกาแล็กซี
  • วิวัฒนาการของเอกภพในยุคแรกเริ่ม

ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ที่ไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางดาราศาสตร์ แต่ยังช่วยไขปริศนาต่าง ๆ ที่จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจของธรรมชาติของเอกภพได้นั่นเอง

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น