มีผลบังคับใช้แล้ว “พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมไซเบอร์” แบงก์เชื่อมต่อข้อมูล ระงับธุรกรรมได้ทันที

มีผลบังคับใช้แล้ว "พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมไซเบอร์" แบงก์เชื่อมต่อข้อมูล ระงับธุรกรรมได้ทันที

มีรายงานข่าวระบุว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่การประกาศใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 

 

พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สิน โดยผ่านโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละวันมีผู้ถูกหลอกลวงจำนวนมาก และมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก สมควรมีมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ให้หมดไปโดยเร็ว อันเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการระบุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีหลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จนทำให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นผ่านบัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออำพรางการกระทำความผิดซึ่งแต่ละวันประชาชนผู้สุจริตถูกหลอกลวงจำนวนมากและมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก และการหลอกลวงดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำความผิดได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจ าเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะต้องมีมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

สำหรับพระราชกำหนดฉบับนี้ มีทั้งหมด 14 มาตรา โดยมีสาระสำคัญ เช่น พระราชกำหนดฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปมาตรา 10 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับหรือที่เรียกกันว่า “บัญชีม้า” ที่เป็นการรับจ้างเปิดบัญชีเพื่อให้มีการหลอกลวงให้โอนเงินจากผู้เสียหายหรือเหยื่อ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ พระราชกำหนดฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งคือวันที่ 17 มีนาคม 2566

 

 

 

โดยมีรายละเอียดฉบับเต็ม ดังนี้

https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A018N0000000000100.pdf

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บขส.จัดรถโดยสารกว่า 4,800 เที่ยว รถเสริมอีก 1 พันคัน รองรับปชช.เดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่
เซเลนสกี้เดือดรัสเซียระดมยิงวันคริสต์มาส
"นิพนธ์" ชี้ "กระจายอำนาจ" สร้างเข้มแข็งชุมชน สำคัญต่อการพัฒนาปท.ยั่งยืน นโยบายรัฐแจกๆไม่ใช่คำตอบ
"รมว.สุดาวรรณ" ลงพื้นที่สกลนคร เป็นประธานกิจกรรมศาสนิกสัมพันธ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว
"นพดล" แถลง 6 ข้อ ปม MOU44 ย้ำชัดไทยไม่เสียดินแดน
ระทึก เพลิงไหม้รถบัสปลดระวางเสียหาย 9 คัน เร่งหาสาเหตุที่แท้จริง
“อนุทิน” เปิดศูนย์ป้องกันอุบัติเหตุปีใหม่ 2568 คุมเข้ม 10 วันอันตราย กำชับตำรวจใช้มาตรการกฎหมายเคร่งครัด
เปิดยอดผู้เสียชีวิต เหตุ 'เครื่องบินอาเซอร์ไบจาน' โหม่งโลก พบรอดตายปาฏิหาริย์เพียง 25 ราย
ศาลรธน.มติเอกฉันท์ ตีตก 2 คำร้อง ปมกกต.จัดเลือกตั้งสว.ปี 66 โดยมิชอบ
มิตรภาพกุศลจิต "อนุทิน" ขอบคุณ "หมอพัชร" เป็นสะพานบุญ โทรตามบินรับหัวใจ จากร้อยเอ็ดส่งกรุงฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น