ทำความรู้จัก อาการ "ตุ่มใส" ตามนิ้วมือ คันยุบยิบบางครั้งเกิดจากอะไร ไขข้อสงสัย อันตรายแค่ไหน เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรได้บ้าง เช็ค
ข่าวที่น่าสนใจ
รศ. พญ.ณัฏฐา รัชตะนาวิน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อสงสัย อาการ “ตุ่มใส” ขนาดเล็ก ตามนิ้วมือคล้าย ๆ ไข่กบนั้น พบได้บ่อยมาก ซึ่งสาเหตุของตุ่ม ใสบนนิ้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
- ตุ่ม ใสที่เกิดจากการแพ้สัมผัสจากอาหารหรือสารเคมีต่าง ๆ
- ตุ่ม ใสที่อาจสัมพันธ์กับความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เช่น
ตุ่ม ใส บ่งบอกสัญญาณเตือน 6 โรคใกล้ตัว
1. โรคภูมิแพ้
- ลักษณะตุ่มที่ขึ้นจะเป็น ๆ หาย ๆ มักจะขึ้นในบริเวณที่ไม่ค่อยซ้ำกัน
- บ่งบอกได้ถึงภาวะภูมิแพ้ต่อสารบางอย่างในอาหาร หรือสารเคมีจากน้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ
- โดยตุ่ม ใสมักจะเกิดในคนที่มีประวัติเป็นภูมิแพ้มาก่อนตั้งแต่เด็ก ๆ
2. โรคเรื้อนกวาง หรือสะเก็ดเงิน
- โรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบนผิวหนังชั้นบน
- มีผื่นแดง บวม คัน
- ผิวหนังแห้ง ตกสะเก็ด หรือมีน้ำเหลืองไหลออกมา
- เคสนี้ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการรักษาต่อไป
3. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic eczema)
- ระยะแรกจะขึ้นเป็นจุดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดสาคู ที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือด้านข้างของนิ้ว
- ต่อมาจุดเล็ก ๆ จะรวมกันเป็นกระจุก และกลายเป็นตุ่มน้ำใสค่อนข้างหนาและแข็ง
- รู้สึกคันมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืนและช่วงที่อากาศร้อน
- บางครั้งตุ่มน้ำแตกและมีน้ำเหลืองไหลออกมา
- หากผ่านไป 3 สัปดาห์ ตุ่มน้ำอาจจะแห้งและลอกออกมา ทำให้ผิวเป็นขุย แตก รู้สึกเจ็บได้
- ดังนั้น หากมีตุ่มน้ำใสขึ้นและรู้สึกคันมาก ๆ ควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย
4. โรคงูสวัด
- กรณีที่ไม่เคยมีประวัติเป็นภูมิแพ้ และตุ่มน้ำบนนิ้วขึ้นในลักษณะเป็นแนว และขึ้นเพียงครึ่งซีกของนิ้วมือ
- อาจสงสัยถึงโรคงูสวัดไว้ก่อน และควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของ “ตุ่มใส” บนนิ้วที่แท้จริง
5. โรคเริม
- หากตุ่ม ใสขึ้นที่นิ้วเดิมซ้ำ ๆ รอยเดิมซ้ำ ๆ
- อาจเป็นสัญญาณของโรคเริมก็ได้ แนะนำให้พบแพทย์โดยด่วน
6. อีสุกอีใส
- ถ้ามีตุ่มน้ำใส ๆ และคัน ขึ้นตามนิ้วมือ และขึ้นตามร่างกายไปทั่ว
- ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร
- ต้องสงสัยโรคอีสุกอีใสเป็นอันดับแรก
- ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
นอกจากนี้ตุ่ม ใส ๆ ที่นิ้วอาจเกิดจากการทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสบริเวณนั้นเป็นเวลานาน ๆ เช่น
- เขียนหนังสือนาน ๆ
- เล่นเทนนิส
- ยกเวตเป็นประจำ กรณีนี้ไม่อันตราย
- บางทีก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความเครียดและการอดนอนได้เช่นกันะคะ
ดังนั้น หากมีตุ่ม ใสขึ้นที่นิ้วโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ลองสังเกตอาการดูสัก 2-3 วัน ร่วมกับนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกาย ตุ่ม ใสที่นิ้วก็อาจจะหายไปได้เอง
ตุ่ม ใสที่นิ้ว รักษาอย่างไร
- กรณีที่ตุ่ม ใสเกิดจากภูมิแพ้หรืออาการแพ้ต่าง ๆ ตุ่ม ใสมักจะหายไปได้เองและไม่ค่อยมีอันตราย
- แต่เมื่อไรก็ตามที่มีตุ่ม ใสขึ้นตามง่ามนิ้ว และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- มีไข้ อ่อนเพลีย
- ลักษณะผื่นขึ้นเป็นแนว เป็นกลุ่มขึ้นที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ
- ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
ตุ่ม ใสที่นิ้ว อันตรายไหม
- ปกติแล้วตุ่ม ใสตามนิ้วมักไม่อันตราย เพราะ มักจะเกิดจากการแพ้สารบางอย่าง ความเครียด หรือการพักผ่อนน้อย
- นอกจากนี้ ตุ่ม ใสบนนิ้วยังไม่เกี่ยวข้องกับการมีสารพิษตกค้างในร่างกาย หรือสัมพันธ์กับโรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคร้ายใด ๆ ด้วย
- แต่เป็นความผิดปกติทางผิวหนังมากกว่า ซึ่งก็สามารถรักษาให้หายได้ เพียงไปพบแพทย์ตั้งแต่แรก ๆ ที่มีอาการ
อย่างไรก็ตาม ตุ่ม ใสที่นิ้วในเคสที่อันตรายมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีประวัติเป็นภูมิแพ้มาก่อน และเพิ่งจะมีตุ่มขึ้นตามง่ามนิ้วหรือเนื้อตัว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคหลายโรค ดังนั้น หากพบเจอตุ่ม ใสในผู้สูงอายุควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและตรวจหาสาเหตุจะดีที่สุด
ข้อมูล : rama.mahidol และสมาคมแพทย์ผิวหนัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง