เคล็ด (ไม่) ลับ 10 เทคนิค “นอนหลับ” อย่างไรให้มีสุขภาพดี

นอนหลับ, วัน นอน หลับ โลก 2566, World Sleep Day, วัน นอน หลับ โลก 2023, นอน ไม่ หลับ ทำ ไง, การนอน, งีบหลับ, ห้องนอน, เตียงนอน, ที่นอน

รู้หรือไม่ วัน "นอนหลับ" โลก 2566 ตรงกับ 17 มีนาคม ให้อาหารชีวิตด้วยการหลับให้เต็มอิ่ม เผยเคล็ด (ไม่) ลับ 10 เทคนิค "นอนหลับ" อย่างไรให้มีสุขภาพดี ลดเสี่ยงโรค

รู้หรือไม่ วันนี้ เป็นวัน “นอนหลับ” โลก 2566 17 มีนาคม หรือ World Sleep Day วัน นอน หลับ โลก 2023 เผย เคล็ด (ไม่) ลับ 10 เทคนิค นอน ไม่ หลับ ทำ ไง นอนอย่างไรให้มีสุขภาพดี ลดเสี่ยงโรค ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้หรือไม่ ทุกวันศุกร์ที่ของเดือนมีนาคมทุกปี ตรงกับวัน “นอนหลับ” โลก หรือ World Sleep Day ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม 2566 ย้ำเตือนความสำคัญของการนอน ให้อาหารชีวิตด้วยการหลับให้เต็มอิ่ม

การนอน หลับที่ดีต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

1. ระยะเวลาการนอน หลับที่เหมาะสมตามวัย

  • ทารก 0-2 เดือน ต้องการนอน 12 – 18 ชม.
  • ทารก 3 – 11 เดือน ต้องการนอน 14 – 15 ชม.
  • เด็กต้องการนอน 11 – 12 ชม.
  • วัยรุ่นต้องการนอน 8 – 9 ชม.
  • ผู้ใหญ่และวัยสูงอายุต้องการนอน 7 – 8 ชม.
  • สตรีมีครรภ์ต้องการนอน อย่างน้อย 8 ชม.ขึ้นไป

2. คุณภาพการนอน หลับที่ดีไม่ถูกรบกวนให้ตื่นระหว่างหลับ

  • การนอน หลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ

ข้อดีของการนอน หลับ หรือพักผ่อนเพียงพอ

  • สร้างภูมิคุ้มกันและควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
  • เพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ
  • ลดการหลั่งของฮอร์โมนที่เพิ่มการย่อยสลายพลังงาน เพื่อเก็บสงวนพลังงานไว้ใช้ยามจำเป็น ทำให้ร่างกายได้พักผ่อน
  • ช่วยให้ความทรงจำและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

 

นอนหลับ, วัน นอน หลับ โลก 2566, World Sleep Day, วัน นอน หลับ โลก 2023, นอน ไม่ หลับ ทำ ไง, การนอน, งีบหลับ, ห้องนอน, เตียงนอน, ที่นอน

 

ในทางกลับกัน หากนอน หลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบ ดังนี้

1. ผลกระทบระยะสั้น ได้แก่

  • มีอาการง่วงนอนระหว่างวัน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกช้าลง
  • มีอาการวูบหลับใน
  • มีโอกาสเกิดอันตรายจากการขับรถหรือการทำงานที่ใช้ความระมัดระวังสูง มีความผิดพลาดในการตัดสินใจ
  • สมาธิความจำไม่ดีส่งผลต่อการเรียน การทำงานในแต่ละวัน

2. ผลกระทบระยะยาว

  • เกิดภาวะเจ็บป่วยง่าย
  • โรคประจำตัวที่เป็นอยู่อาจกำเริบหรือควบคุมได้ยาก

 

นอนหลับ, วัน นอน หลับ โลก 2566, World Sleep Day, วัน นอน หลับ โลก 2023, นอน ไม่ หลับ ทำ ไง, การนอน, งีบหลับ, ห้องนอน, เตียงนอน, ที่นอน

10 เคล็ด (ไม่) ลับ “นอนหลับ” อย่างไรให้มีสุขภาพดี ลดเสี่ยงโรค

1. ควรเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน

  • ทั้งวันทำงานและวันหยุด
  • ควรนอน หลับในระยะเวลาที่เหมาะสมกับช่วงอายุ

2. ไม่แนะนำให้งีบกลางวันนานเกินกว่า 30 นาที

  • ไม่งีบหลับหลังบ่าย 3 โมง (เฉพาะในผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรนอนกลางวันตามปกติ)

3. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน

4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน

5. ควรผ่อนคลาย

  • เพื่อลดความวิตกกังวลก่อนนอน

 

นอนหลับ, วัน นอน หลับ โลก 2566, World Sleep Day, วัน นอน หลับ โลก 2023, นอน ไม่ หลับ ทำ ไง, การนอน, งีบหลับ, ห้องนอน, เตียงนอน, ที่นอน

 

6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใกล้เวลานอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

7. รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน

  • หลีกเลี่ยงแสงสว่างตอนกลางคืน

8.ควรใช้เตียงนอนเพื่อการนอนเท่านั้น

9. ห้องนอนและเตียงนอนควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเย็นสบาย

  • ระบายอากาศดี
  • ไม่ควรมีแสงเล็ดลอดเข้ามาและไม่ควรมีเสียงดัง

10. หากขึ้นเตียงนอนแล้วนอนไม่หลับภายใน 30 นาที

  • ควรลุกจากที่นอนไปทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น
  • เมื่อรู้สึกง่วงจัดค่อยกลับมานอนใหม่อีกครั้ง

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น