“ดร.กิตติ์กวิน” เผย”ซีเซียม -137″ ควบคุมได้ ไม่ฟุ้งในอากาศ อยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีลมพัดผ่าน

ดร.กิตติ์กวิน เผย ซีเซียม -137 ควบคุมได้ ไม่ฟุ้งในอากาศ อยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีลมพัดผ่าน ห่างที่เก็บซีเซียมในบิ๊กแบ็ก 2 เมตร ถือว่าปลอดภัย ขณะที่“ดร.สนธิ” ชี้ ซีเซียม-137 ถูกหลอม ต้องเฝ้าระวัง 5 -10 ปี อาจกลายเป็นมะเร็งได้

จากกรณีท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ซึ่งอยู่ภายในบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 ถนนทางหลวง 3079 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยท่อบรรจุซีเซียม-137 มีลักษณะเป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ถูกใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับขี้เถ้าในไซโลของโรงไฟฟ้า โดยวานนี้ (20 มี.ค.66) ที่ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณู (ปส.) ดร.กิตติ์วิน อรามรุญ รองโฆษกฯ และหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ปส. และคณะ พร้อมด้วย นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี พล.ต.ต.วินัย นุชขา ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ปราจีนบุรี และนายสุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณะสุข จ.ปราจีนบุรี ร่วมแถลงข่าวกรณี ซีเซียม-137 หรือ วัตถุซึ่งมีมวลสารกำมันตรังสี หายไป หลังตรวจพบสารดังกล่าวที่ โรงงานหลอมเหล็ก ในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ด้านนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการ ปส. เผย ซีเซียมไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดจากฝีมือมนุษย์ และก่อนนี้มีโรงงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งทำซอร์สหาย ซึ่งเป็นโรงงานที่ถือครองสารดังกล่าวมาแต่ปี 2538 และที่ผ่านมาทางโรงงานมีการดูแลสารนี้อย่างดีเยี่ยมมาตลอด กระทั่งมีข่าวซีเซียมหาย ตนจึงค่อนข้างมั่นใจว่าการหายไปของซีเซียมเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งจากกรณีนี้ โรงงานดังกล่าวที่ทำซอร์สหายไปตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ. 66 โดยไม่ได้แจ้งทาง ปส. ทันทีที่หาย แต่มาแจ้งให้ทราบในวันที่ 10 มี.ค. แล้ว กระทั่งถึงตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุเลยว่าซอร์สหายไปได้อย่างไร? ส่วนประเด็นที่ ซีเซียม ถูกหลอมไปแล้วนั้น นายเพิ่มสุข เลขา ปส. เผยว่า โรงหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิถึง พันองศาในการหลอม แต่ซีเซียม แค่ 600 องศามันก็แตกแล้ว ดังนั้นที่บอกว่าเจอซีเซียม คือ ซีเซียม-137 ถูกตรวจพบอยู่ในฝุ่นแดง หรือฝุ่นโลหะที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในโรงหลอมเหล็ก

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน ดร.กิตติ์กวิน อรามรุญ รองโฆษกฯ และหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เผย จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ พบเพียง ฝุ่นแดงที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี แต่ไม่พบว่า เหล็กที่หลอมไปแล้วมีการปนเปื้อน รวมถึงได้เก็บตัวอย่าง น้ำ ดิน มาวิเคราะห์ไม่พบว่าปนเปื้อน และตรวจวัดระดับรังสีแล้ว ไม่พบการฟุ้งกระจายในอากาศ เนื่องจาก ซีเซียม อยู่ในรูปของผลึกคล้ายเกลือ ทำให้มีน้ำหนัก ทั้งนี้อยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีลมพัดผ่าน มันจึงไม่ฟุ้งกระจายในอาคาร ระยะห่างจากที่เก็บซีเซียมในบิ๊กแบ็คตอนนี้ 2 เมตรถือว่าปลอดภัย ย้ำซีเซียม-137 ได้ถูกควบคุมให้อยู่ในพื้นที่จำกัดได้ คืออยู่ในฝุ่นโลหะ หรือฝุ่นแดงดังกล่าว ภายในโรงงานหลอมเหล็กที่พบไว้แล้ว ไม่มีการปนเปื้อนออกมาภายนอก

ขณะที่ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก กรณีซีเซียม 137 หายจากโรงงาน ก่อนพบว่าถูกหลอมไปแล้ว ระบุว่า ความจริงที่ต้องยอมรับเพื่อนำไปสู่การจัดการสำหรับCs137ที่ถูกหลอมไปแล้ว

1.ข้อมูลกรมโรงงานแท่งCs137ถูกหลอมกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานหลอมเหล็กใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีแลัวได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวน การรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 66

2.กระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม จะนำเศษเหล็ก(ซึ่งกรณีนี้มีแท่งCs137มารวมด้วย) มาอัดกันเป็นก้อนแล้วเทเข้าสู่เตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงถึง1200องศาขณะที่เพิ่มความร้อนจะมีฝุ่นเหล็กละเอียดออกมาลอยผ่นHoodขึ้นไปสู่ถุงกรองฝุ่นหรือBaghouse filterซึ่งจะทำ การกรองฝุ่นละเอียดไว้ได้ถึง90%อีก10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศขณะที่ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กหรือSlagที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย

3.ดังนั้นที่ปลายปล่องมีฝุ่นละเอียดกับCs137 ระบายออกไปสู่บรรยากาศรอบๆโรงงานหลอมเหล็กซึ่งอาจไปไกลมากกว่า5กม. ส่วนฝุ่นแดงกับCs137ในถุงกรองหรือBaghouse filterจะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่นำไปรีไซเคิลยังโรงงานบริษัท จ.ระยอง เพื่อสกัดธาตุสังกะสีออกมาซึ่งการสกัดต้องใช้การถลุงที่ใช้ความร้อนสูงจึงอาจมีCs137ปนเปื้อนออกมาที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศรอบๆโรงงานนั้นในจ.ระยองด้วยส่วนตะกรันเหล็กหรือSlagทราบว่าโรงงานหลอมเอาไปฝังกลบไว้รอบๆโรงงาน ดังนั้นจึงอาจมีสารCs137ปนเปื้อนในดิน น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้

4.สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสารCs137ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ ดินและอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ วิทยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้ง การหายใจและทางอาหาร เช่น Cs137ลงในน้ำเข้าสู่ตัวปลาและมนุษย์จับปลามากิน เป็นต้นหรือหาย ใจเอาฝุ่นของCs137เข้าไปจะสะสมอยู่ในร่าง กายซึ่งสารCs137จะปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้าออกมา การสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่นCs137จะทำให้เซลในร่างกายเกิดMutationหรือกลายเป็นเซลที่ผิดปรกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้น DNAในยีนส์ให้เปลี่ยนรูป สุดท้ายประมาณ 5-10ปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้

5.ผลกระทบต่อสุขภาพในปัจจุบันอาจไม่ค่อยเห็นแต่ระยะยาวหากรับสารนี้เข้าไปไม่ว่าทาง การหายใจหรือการกินมีผลกระทบแน่ ดังนั้นภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนรวมทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาหารสัตว์น้ำ พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกใกล้เคียงโรงงานอย่างน้อย1-2ปี ให้แน่ใจว่าไม่มีสารCs137 ตก ค้างในห่วงโซ่อาหารแล้วจึงค่อยวางมือ ขณะเดียวกันต้องบอกความจริงเกี่ยวกับผลของการตรวจวัดรังสีและผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบรวมทั้งเฝ้าระวังสุขภาะประชาชนกลุ่มเสียงในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างน้อย 5ปีด้วย

มาตรฐานค่ารังสีที่ปล่อยออกมาจากวัสดุรังสี Cs137 ต้องมีค่าไม่เกิน 0.15 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง จึงจะระบุได้ว่าปลอดภัยจากรังสีที่ ปล่อยออกจากCs137…ดูได้จากเครื่องวัดรังสีที่ตรวจวัดของเจ้าหน้าที่ที่สุ่มเช็คว่าเกินหรือไม่…///
ลิงก์ภาพ

ขณะเดียวกัน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ “อาจารย์อ๊อด” อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong มีข้อความว่า เตรียมไว้เลย ผ่อนหนักให้เป็นเบา ยาปรัสเซียนบลู

ในทางการแพทย์ ยาปรัสเซียนบลูที่ใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษ สำหรับพิษจากโลหะหนักบางชนิดเช่น โดยแทลเลียม(I) และไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีของซีเซียม-137 ซีเซียมสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์ ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น