สรุปสาระสำคัญ แจงยิบรายละเอียด ครม.เห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาฯ

สรุปสาระสำคัญ แจงยิบรายละเอียด ครม.เห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาฯ

21 มี.ค.66 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี วันนี้ ( 21 มีนาคม 2566) เห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สถานะของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สรุป สาระสำคัญ ดังนี้

 

 

 

 

  • คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ไม่เรียกว่า รักษาการ การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรียังคงลงชื่อในตำแหน่งเดิม มิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง และยังคงได้รับเงินเดือนแต่ยังไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

 

  • คณะรัฐมนตรียังคงมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศเท่าที่จำเป็นทุกประการ กรณีมีสถานการณ์คุกคามความมั่นคงของชาติ มีอำนาจหน้าที่ที่จะประกาศ มาตรการเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติได้ เช่น ประกาศภาวะฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก เป็นต้น

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี

(1) การประชุมคณะรัฐมนตรี : ประชุมต่อไปได้ตามปกติจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เรื่องที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองแล้วเสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป

 

 

(2) การอนุมัติงานหรือโครงการ : ไม่อนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่กระทำการใด ๆที่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เช่น การกำหนดนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติ ที่มีผลต้องดำเนินการต่อเนื่อง

 

 

(3) การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง
-ไม่แต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
-การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ รักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

 

(4) การอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

-ไม่อนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน หรือทำเท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ รักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ
ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือเป็นการบรรเทาภัยพิบัติแก่ประชาชน และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน ซึ่งจะกระทำได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ที่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณนอกเหนือจากที่ได้รับการจัดสรร หรือที่ได้รับการจัดสรรไปแล้วแต่ไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

 

 

(5) การใช้ทรัพยากรหรือบุคลากรของรัฐ
-ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้งด้วยวิธีการ ดังนี้
-ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ ในลักษณะสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
-จัดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่นอกเหนือจากการประชุมตามปกติ เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
-กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการประชุม อบรม หรือสัมมนาบุคลากรของรัฐหรือเอกชน โดยใช้เงินงบประมาณของหน่วยงานของรัฐหรือเงินของกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ โดยอาจให้มีการแจกจ่ายทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่เป็นการประชุมตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
-กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการอนุมัติ โอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้หน่วยงานของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่แจกจ่ายทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ประชาชน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องไม่ใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
-กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการแจกจ่ายหรือจัดสรรทรัพยากรของรัฐให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่เป็นกรณีต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องไม่ใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

สำหรับการใช้ทรัพยากรของรัฐ เช่น คลื่นความถี่หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรืองบประมาณประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานของรัฐ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่จะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

 

 

 

(6) การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้แก่ -พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ. 2560 เช่น ห้ามมิให้ข้าราชการการเมืองใช้สถานะหรือตำแหน่งการเมือง เรี่ยไร หรือชักชวนให้มีการบริจาคให้พรรคการเมืองหรือผู้รับสมัครการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่รวมที่ข้าราชการการเมือง ผู้นั้นเข้าร่วมกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง

-พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2561
ห้ามไม่ให้กระทำการใด ๆ เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรืองดเว้นการลงคะแนนให้ผู้สมัคร หรือชักชวนไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใด เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร ด้วยการจัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันเป็นคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด หรือให้โดยตรงและโดยอ้อมแก่ ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์หรือสถาบันอื่นใด โฆษณาหาเสียงด้วยการจัดมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด

 

 

(7) การออกกฎหมาย
-การเสนอร่างกฎหมายใหม่โดยเฉพาะพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นนโยบายไม่สมควรดำเนินการเสนอในระหว่างยุบสภา ร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติหลักการและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี ตรวจพิจารณา

 

 

(8) การแต่งตั้งคณะกรรมการ
-สามารถดำเนินการจัดหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กระบวนการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อแต่งตั้งแล้วคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว สามารถปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่ละฉบับ อันเป็นงานประจำตามปกติได้

 

 

(9) การปฏิบัติเรื่องอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี
-กรณีการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมทางวิชาการ หากนัดหมายล่วงหน้าก่อนพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับใช้ และเป็นการปฏิบัติตามปกติตามที่เคยปฏิบัติรัฐมนตรีสามารถเข้าร่วมประชุมดังกล่าวได้ ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการหาเสียงเลือกตั้ง
– รัฐมนตรีที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ห้ามใช้เวลาราชการในการหาเสียงเลือกตั้ง หากประสงค์จะใช้เวลาหาเสียงเลือกตั้งให้ลากิจต่อนายกรัฐมนตรี และกรณีนายกรัฐมนตรีมีความประสงค์จะลากิจ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 หมวดการลาของข้าราชการการเมือง
-การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรี ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีการได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ ในฐานะของตำแหน่งรัฐมนตรีจะให้สัมภาษณ์ได้เฉพาะหน้าที่รัฐมนตรีเท่านั้น

นอกจากนี้ รัฐมนตรีระมัดระวังในการดำเนินการระหว่างที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับใช้ ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีรูปภาพของรัฐมนตรีปรากฏอยู่ ป้ายโฆษณาหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางวิทยุโทรทัศน์ ควรปลดป้ายหรือยกเลิกการโฆษณาประชาสัมพันธ์ดังกล่าวทั้งหมดเว้นแต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ใช้เงินของพรรคการเมืองที่ตนสังกัด การใช้รถประจำตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของราชการ ที่ไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ของในฐานะรัฐมนตรี การให้สัมภาษณ์รายการวิทยุและโทรทัศน์และการรับเชิญไปบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ ในรายการที่ทางหน่วยงานราชการซื้อเวลาไว้หรือจัดขึ้นยกเว้นรายการที่สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช่กิจการของรัฐบาลจัดขึ้นเอง

 

 

(10) การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
-คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ดังนี้ กรณีรัฐมนตรีมีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (วันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎร) และต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้งภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ)

 

 

– กรณีรัฐมนตรีไม่มีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (วันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ)

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวปฏิบัติและขั้นตอนนี้ ว่า เป็นการดำเนินงานเป็นการดำเนินการตามมาตรา 169 (2) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคคลของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้งพ.ศ. 2563 รวมทั้งยังได้อ้างอิงระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง สำหรับเป็นแนวปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น