พระราชกฤษฎีกานี่มี 2 ประเภท

ยุบสภานี่ประชาชนไม่ได้เสียประโยชน์อะไรนะครับ ดีเสียอีกที่จะได้เลือกตั้งใหม่โดยไม่ต้องรอให้อายุสภาสิ้นสุดลงตามปกติ ได้มีโอกาสแก้เบื่อและได้ตั้งสติคิดทบทวนกันใหม่ว่าที่ผ่านมาใครทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ หรือเลื่อนเปื้อนเลอะเทอะ จะได้เลือกให้ถูก

เกร็ดการร่างกฎหมาย โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

ประเภทที่หนึ่ง คือพระราชกฤษฏีกาที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเลย คือรัฐธรรมนูญกำหนดชัดเจนว่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เช่น การเรียกประชุม การขยายระยะเวลาประชุม การปิดประชุมสภา การยุบสภา พระราชกฤษฎีกาประเภทนี้จะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา

ประเภทที่สอง คือพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติทั่วไปของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา เช่น มาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พระราชกฤษฎีกาประเภทนี้จะเป็นการกำหนดเรื่องต่าง ๆ ตามกฎหมายแต่ละฉบับ หรือไม่ก็กำหนดเรื่องต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในทางบริหาร เป็นต้นว่า การจ่ายเงินเบี้ยประชุม ค่าเช่าบ้าน

ความแตกต่างในรูปแบบของพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ประเภทคือ ประเภทแรกจะไม่มีเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกา เขาจะเขียนเหตุผลไว้ในคำปรารภเลย เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำเป็นพระราชกฤษฏีกาอยู่แล้ว แต่ประเภทที่สองนี่จะมีเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วยเพราะเป็นการจำกัดสิทธิหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินงบประมาณตามกฎหมายแต่ละฉบับ

พระราชกฤษฎีกายุบสภานี่จัดอยู่ในประเภทที่หนึ่ง แต่รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขไว้เป็นพิเศษว่า “ให้กระทําได้เพียงคร้ังเดียว ในเหตุการณ์เดียวกัน

ที่กระทำได้เพียงครั้งเดียวเพราะเมื่อยุบสภาแล้ว สภาก็สิ้นอายุเลย ก็ต้องจัดเลือกตั้งทั่วไปตามลำดับเพื่อให้มีสภาใหม่ ยุบแล้วยุบอีกคงไม่ได้ ส่วนที่บอกว่า “ในเหตุการณ์เดียวกันนั้น” ความมุ่งหมายคือเขาให้ระบุ “เหตุแห่งการยุบสภา” ไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาด้วย ไม่ใช่อ้างบทศัยอำนาจอย่างเดียวเหมือนพระราชกฤษฎีกาประเภทที่หนึ่ง เนื่องจากผลคือสภาจะสิ้นสุดลง ต้องบอกเหตุผลในการยุบสภาไว้ด้วย

เหตุการณ์ที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ลงรอยกัน ระหว่างรัฐบาลกับสภา ถ้ารัฐบาลคะแนนเสียงดีอยู่ และจะยุบสภาเพื่อว่าเลือกตั้งใหม่แล้วจะได้ผู้แทนมากขึ้นก็ทำได้ อังกฤษ กับญี่ปุ่น ทำบ่อย ๆ ไป และไม่มีเงื่อนไขด้วยว่าจะต้องทำในระหว่างที่กำลังมีการประชุมสภา ระหว่างปิดสมัยประชุมก็ทำได้ เป็นมิติทางการเมืองในแต่ละกรณีโดยแท้

ยุบสภานี่ประชาชนไม่ได้เสียประโยชน์อะไรนะครับ ดีเสียอีกที่จะได้เลือกตั้งใหม่โดยไม่ต้องรอให้อายุสภาสิ้นสุดลงตามปกติ ได้มีโอกาสแก้เบื่อและได้ตั้งสติคิดทบทวนกันใหม่ว่าที่ผ่านมาใครทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ หรือเลื่อนเปื้อนเลอะเทอะ จะได้เลือกให้ถูก

ลืมบอกไปอีกอย่าง การยุบสภานี่เป็น acte de gouvernement นะถ้าจำไม่ผิด เพราะเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภา

ส่วนกระบวนการในการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาล่าสุดนี้ ก็เป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี 28 มกราคม 2563 นะครับ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น