ขยายผลค่าไฟแพง คาใจ “กฟผ.” ซื้อเอกชนใหญ่ชื่อซ้ำๆมูลค่าแสนๆล้าน

ขยายผลค่าไฟแพง คาใจ "กฟผ." ซื้อเอกชนใหญ่ชื่อซ้ำๆมูลค่าแสนๆล้าน

เกาะติดสถานการณ์ราคาไฟฟ้ามีราคาแพงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด รายการ Top Biz Insight ( 21 มี.ค.) รายงานการสำรวจความเห็นประชาชนเพิ่มเติม โดยมีการตั้งคำถามว่า “เหตุที่ไฟฟ้าแพง จะมาจากเรื่องการปล่อยสัมปทาน หรือว่าเรื่องการขุดเจาะปิโตรเลียมหรือไม่อย่างไร ที่ให้ภาคเอกชนไปดำเนินการ”

ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าบางรายยอมรับว่า ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอาจจะมาจากตัวเองด้วยส่วนหนึ่ง เพราะว่า 2-3 เดือนที่ผ่านมา อากาศร้อน ใช้ไฟเยอะ ก็เลยอาจจะทำให้ค่าไฟแพง และอีกส่วนหนึ่งมองว่าราคาพุ่งขึ้นอย่างมาก บางครัวเรือน ราคาค่าไฟฟ้าปรับสูงสุดถึง 4,500 บาทต่อเดือน หรือบางครัวเรือนอยู่ในชุมชน มีการอาศัยหลายครอบครัวก็จะพบว่าค่าไฟฟ้าพุ่งกระโดดไปถึง 3,000 บาท จากเดิมอาจจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท บางบ้านหลักหมื่นบาทก็กระโดดขึ้นไป

 

และเมื่อถามถึงสาเหตุค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นรู้หรือไม่ บางรายให้ความเห็นว่าน่าจะมาจากค่า FT ที่สูงขึ้น รวมถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้ค่าไฟฟ้าบางบ้านแพง ขณะที่บางรายแสดงความเห็น ว่า สาเหตุอาจมาจากการปล่อยสัมปทาน เช่นเดียวกับธุรกิจปิโตรเลียมที่ให้เอกชนเข้าไปดำเนินการหรือไม่อย่างไร จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ทำไมเอาสัมปทานไปให้เอกชนดูแล ทำไมภาครัฐถึงไม่นำเรื่องนี้มาทำเอง

“พอรู้ดูข่าวอยู่ อยากให้รัฐบาลทำเอง ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟเพิ่มขึ้น มองว่า หน่วยละ 3 บาท กำลังดี ค่าไฟตอนนี้แพง แบ่งกันใช้ภายในญาติพี่น้อง เดือนที่แล้วเสียแค่ 26,000 กว่าๆ แต่เดือนนี้ 30,300 กว่าบาท แพงขึ้นมาเกือบ 5,000 บาท เพราะค่าFT ค่าอะไรมันก็ขึ้นแบบนี้”

ส่วนประเด็นเรื่องวิธีการให้สัมปทานไฟฟ้ากับเอกชน แล้วไปซื้อจากเอกชนมาขายต่อ ประชาชนตอบว่า “ไม่รู้ ไม่ทราบเลย เราอยากให้ค่าไฟมันถูก แต่ถามว่าทำไมถึงต้องเอาไปขายเขา แล้วกับมาซื้อคืน มันไม่ใช่ไง มันต้องเป็นของหลวงบริหารเอง แล้วก็ขายให้ประชาชน มันก็จะได้ไม่แพง อันนี้ให้เขาไป แล้วไปซื้อเขากลับมา มันก็ต้องแพงอยู่แล้ว เพราะเขาก็ต้องคิดค่าส่วนต่าง ค่าอะไรของเขาอยู่แล้ว”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ รายการ Top Biz Insight ยังขยายประเด็นว่าด้วย ความจำเป็นในการจัดซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน แม้ว่าจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนต้องเสียค่าไฟในราคาแพง โดยตั้งคำถาม ว่าทำไมภาครัฐไม่เอาไฟฟ้ามาทำเองในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น แทนการปล่อยไปให้เอกชนทำแล้วไปซื้อมาขาย จนทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต้องเสียค่าไฟแพงขึ้น หรือไม่ใช่ตอบแค่ว่า ราคาพลังงานแพง เพราะการที่นำเรื่องการผลิตไฟฟ้าไปให้เอกชนเป็นผู้กำหนด ทำให้เกิดข้อคำถามและข้อสงสัยมากมาย

“เมื่อดูตาราง เป็นการที่กฟผ. ต้องรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัทเอกชน IPP ก็คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ ก็ถือว่าเป็นรายใหญ่ ตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย. 66 ที่จะต้องซื้อ เป็นเงิน 74,770 ล้านบาท ซึ่งแค่ 4 เดือน แล้วถ้าปีนี้จะต้องซื้อต่อไปอีก เพราะกลุ่มเหล่านี้เขาได้สัมปทาน 20-25 ปี ก็คือสร้างโรงไฟฟ้าแล้วก็นอน แล้วก็รับประทานไปเรื่อย ๆ เขาเรียกว่า “เสือนอนกิน” สรุปแล้ว ถ้าคูณ 3 ไป ดังนั้น ปีนี้ ก็น่าจะประมาณ 2 แสนกว่าล้าน”

 

โดยเมื่อมาพิจารณารายชื่อบริษัทเอกชน 5 อันดับแรก ขายไฟฟ้าให้ กฟผ.สูงสุด ประกอบด้วย
1. GSRC (บจก.กัลฟ์ เอสอาร์ซี) ปริมาณ 3,742.98 (ล้านหน่วย) / ราคา 4.3491 (บาท/หน่วย) / ค่าใช้จ่าย 16,278.48 (ล้านบาท)
2. BLCP (บจก. บีแอลซีพี เพาเวอร์) ปริมาณ 3,212.58 (ล้านหน่วย) / ราคา 1.5440 (บาท/หน่วย) / ค่าใช้จ่าย 4,960.23 (ล้านบาท)
3. GUT (บจก.กัลฟ์ เจพี อุทัย) ปริมาณ 1,468.97 (ล้านหน่วย) / ราคา 7.0300 (บาท/หน่วย) / ค่าใช้จ่าย 10,331.93 (ล้านบาท)
4. GPSC (บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่)ปริมาณ 1,459.91 (ล้านหน่วย) / ราคา 6.1080 (บาท/หน่วย) / ค่าใช้จ่าย 8,917.11 (ล้านบาท)
5. GOC-T1 (บจก.GHECO-ONE หน่วยที่ 1 ปริมาณ 1,029.60 (ล้านหน่วย) / ราคา 5.1719(บาท/หน่วย) / ค่าใช้จ่าย 5,324.98 (ล้านบาท)

 

ส่วน 5 อันดับราคาไฟฟ้าสูงสุดที่เอกชนขายให้ กฟผ. และเป็นราคาที่กฟผ.ต้องซื้อตามที่ กกพ.กำหนด คือ 9.8500 บาท/หน่วย ปรากฎข้อมูลว่าเอกชนรายใหญ่ ซึ่งกัลฟ์ มาอันดับที่ 1-3 มูลค่ารวมที่ซื้อเขามาประมาณ เกือบ 2 หมื่นล้านบาท เพียงแค่ 4 เดือน

 

 

ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ กัลฟ์ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้า พบว่าภาพรวมในการดำเนินการ มีปริมาณกำลังการผลิตรวม 5,800 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 7,766 เมกะวัตต์

 

 

ประเด็นเมื่อดูชื่อบริษัทคู่สัญญาผลิตไฟฟ้าขายให้รัฐ เฉพาะที่ใช้คำนำหน้าว่า “กัลฟ์” พบว่ามีทั้งหมดถึง 32 บริษัท กำลังการผลิตรวม 14,508.20 เมกะวัตต์ และถ้าบริษัทเหล่านี้เป็นเครือของบริษัทกัลฟ์ อาจแสดงให้เห็นว่าบริษัทของกัลฟ์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) และแจ้งมีกำลังการผลิตเพียงแค่ 5,800 เมกะวัตต์ คือโชว์รูมหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องเดินหน้าตรวจสอบกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้วเรื่องดังกล่าว มีข้อบ่งชี้หรือเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเราคนไทยต้องใช้ไฟฟ้าที่ราคาแพงจริงหรือไม่??

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น