“ภูเขาไฟ” บนดาวศุกร์ปะทุ เตรียมส่งยานสำรวจในภารกิจ VERITAS

ภูเขาไฟ, ภูเขาไฟบนดาวศุกร์, ภูเขาไฟ ปะทุ เกิด จาก ภูเขาไฟ ปะทุ สาเหตุ, NASA, ยานมาเจลลัน, ดาวศุกร์, VERITAS, นักวิทยาศาสตร์, ภารกิจ VERITAS, ภูเขาไฟออสซา, ภูเขาไฟมาอัต, ปากปล่องภูเขาไฟ

นักวิทย์ฯ พบหลักฐานชี้ว่า "ภูเขาไฟ" บนดาวศุกร์ยังปะทุอยู่เป็นครั้งแรก เตรียมส่งยานสำรวจภารกิจ VERITAS ศึกษาในอนาคต

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยความคืบหน้าทางวงการดาราศาสตร์ NASA เผยพบหลักฐาน “ภูเขาไฟ” ภูเขาไฟ ปะทุ เกิด จาก ภูเขาไฟ ปะทุ สาเหตุ บนดาวศุกร์ปะทุ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อมูลจากยานมาเจลลันของ NASA เปิดเผยถึงการปะทุของ “ภูเขาไฟ” ที่เกิดขึ้นบนดาวศุกร์ในยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่า ภู เขาไฟบนดาวศุกร์ยังคงปะทุอยู่ นับเป็นการพบหลักฐานโดยตรงครั้งแรกเกี่ยวกับกระบวนการทางภู เขาไฟบนดาวศุกร์ และกลายเป็นพื้นที่น่าสนใจที่ทาง NASA จะส่งยานในภารกิจ VERITAS ไปศึกษาในอนาคต

เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา NASA เผยว่า ค้นพบหลักฐานโดยตรงที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของภู เขาไฟบนพื้นผิวดาวศุกร์ได้เป็นครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบระหว่างการนำข้อมูลเก่าของยานมาเจลลัน (Magellan) ที่เคยใช้เรดาร์ในการศึกษาพื้นผิวดาวศุกร์ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ข้อมูลภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงปากปล่องภู เขาไฟที่เปลี่ยนรูปร่างและมีขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี ช่วยยืนยันว่าภู เขาไฟบนดาวศุกร์ยังคงมีการปะทุอยู่จริง

 

ภูเขาไฟ, ภูเขาไฟบนดาวศุกร์, ภูเขาไฟ ปะทุ เกิด จาก ภูเขาไฟ ปะทุ สาเหตุ, NASA, ยานมาเจลลัน, ดาวศุกร์, VERITAS, นักวิทยาศาสตร์, ภารกิจ VERITAS, ภูเขาไฟออสซา, ภูเขาไฟมาอัต, ปากปล่องภูเขาไฟ

 

นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์สนใจศึกษาภู เขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ เพื่อ

  • ทำความเข้าใจถึงกระบวนการที่โครงสร้างภายในของดาวเคราะห์หินส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของดาวเคราะห์
  • ส่งผลต่อเนื่องต่อสภาพเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

เป็นที่มาของโครงการสำรวจดาวศุกร์โครงการใหม่ของ NASA นั่นคือ VERITAS (ย่อมาจาก Venus Emissivity, Radio science, InSAR, Topography, And Spectroscopy) ที่คาดว่าจะส่งขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ.2031 เป็นยานโคจรรอบดาว เพื่อสำรวจพื้นผิวและโครงสร้างภายใน ศึกษากระบวนการที่ทำให้ดาวเคราะห์ฝาแฝดของโลกดวงนี้มีวิวัฒนาการจนมีสภาพแตกต่างจากโลกไปอย่างสิ้นเชิง

 

 

 

การเริ่มต้นโครงการ VERITAS ของ NASA ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์สนใจที่จะกลับไปศึกษาข้อมูลของยานมาเจลลันอีกครั้ง เพื่อค้นหาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของภู เขาไฟที่ยานอาจเคยบันทึกเอาไว้ได้ โดย Robert Herrick ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยอลาสกาแฟร์แบงค์ และสมาชิกทีมนักวิทยาศาสตร์ของภารกิจ VERITAS และเป็นผู้นำทีมในการค้นพบครั้งนี้ให้ข้อมูลว่า

“ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะค้นพบอะไรใหม่ แต่หลังจากการพยายามเปรียบเทียบภาพถ่ายจากยานมาเจลลันด้วยมือทีละรูปนานกว่า 200 ชั่วโมง ผมพบว่ามีภาพของพื้นที่เดียวกัน 2 ภาพที่ถ่ายห่างกัน 8 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาจากการปะทุของภู เขาไฟ

การค้นพบในครั้งนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิจัย Science และ Herrick ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ ที่รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา

 

 

ภูเขาไฟ, ภูเขาไฟบนดาวศุกร์, ภูเขาไฟ ปะทุ เกิด จาก ภูเขาไฟ ปะทุ สาเหตุ, NASA, ยานมาเจลลัน, ดาวศุกร์, VERITAS, นักวิทยาศาสตร์, ภารกิจ VERITAS, ภูเขาไฟออสซา, ภูเขาไฟมาอัต, ปากปล่องภูเขาไฟ

การจำลอง “ภูเขาไฟ”

  • การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ Herrick ค้นพบอยู่ในบริเวณพื้นที่แอตลา (Atla Regio) บริเวณพื้นที่สูงกว้างใหญ่ใกล้เส้นศูนย์สูตรของดาวศุกร์ และมีภู เขาไฟลูกใหญ่ที่สุดบนดาวศุกร์ 2 ลูก คือ
    • ภู เขาไฟออสซา (Ozza Mons)
    • ภู เขาไฟมาอัต (Maat Mons)
  • นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันมานานแล้วว่าพื้นที่แห่งนี้ยังมีพลวัตรทางภู เขาไฟ แต่ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงที่แน่ชัดว่ากระบวนการทางภู เขาไฟยังมีอยู่ในปัจจุบัน
  • ขณะที่กำลังวิเคราะห์ข้อมูลภาพจากระบบเรดาร์ของยานมาเจลลัน Herrick พบว่า ปากปล่องภู เขาไฟบนภู เขาไฟมาอัตมีความเปลี่ยนแปลงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ กับเดือนตุลาคม ค.ศ.1991

 

 

  • ในภาพถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 ปากปล่องภู เขาไฟมีรูปร่างเกือบกลม กินพื้นที่น้อยกว่า 2.2 ตารางกิโลเมตร มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าลาวาอาจไหลออกมาอยู่ตรงเนินเขาด้านนอก ส่วนภาพถ่ายจากเรดาร์ในเดือนตุลาคม แสดงปากปล่องภู เขาไฟที่มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า และมีพื้นที่ลาวาหลากทับถมใหม่ตรงเชิงเขา
  • แต่เนื่องจากการสังเกตการณ์ 2 ครั้งนี้ ยานมาเจลลันถ่ายภาพจากมุมมองที่ต่างกัน ทำให้เปรียบเทียบภาพได้ยากขึ้น อีกทั้งภาพถ่ายจากเทคโนโลยีเมื่อ 3 ทศวรรษก่อนมีความละเอียดค่อนข้างน้อย ทำให้การวิเคราะห์ภาพยากขึ้น
  • Herrick ได้ร่วมทีมกับ Scott Hensley นักวิทยาศาสตร์จาก JPL ของ NASA หนึ่งในทีมภารกิจ VERITAS ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากระบบเรดาร์ ได้สร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ของปากปล่องภู เขาไฟแห่งนี้ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาแบบต่าง ๆ (เช่น ดินถล่ม)
  • ซึ่งจากแบบจำลองทางทฤษฎีในคอมพิวเตอร์ พบว่ามีเพียงการปะทุของภู เขาไฟท่านั้นที่จะให้ผลสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงบนดาวศุกร์
  • มีแบบจำลองเพียงคู่เดียวที่ให้ผลสอดคล้องกับภาพถ่าย และสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของภู เขาไฟบนดาวศุกร์ในช่วงที่ยานมาเจลลันกำลังปฏิบัติภารกิจ

Henley กล่าว แม้ว่านี่จะเป็นการตัดสินสภาพของดาวเคราะห์ทั้งดวงจากข้อมูลเพียงจุดเดียว แต่ก็สามารถใช้ยืนยันได้ว่าในยุคปัจจุบันนี้ ดาวศุกร์ก็ยังคงมีการปะทุของภู เขาไฟอยู่

 

ภูเขาไฟ, ภูเขาไฟบนดาวศุกร์, ภูเขาไฟ ปะทุ เกิด จาก ภูเขาไฟ ปะทุ สาเหตุ, NASA, ยานมาเจลลัน, ดาวศุกร์, VERITAS, นักวิทยาศาสตร์, ภารกิจ VERITAS, ภูเขาไฟออสซา, ภูเขาไฟมาอัต, ปากปล่องภูเขาไฟ

 

มรดกจากยานมาเจลลัน

  • ทั้ง Herrick และ Henley รวมถึงสมาชิกคนอื่นของทีม VERITAS ต่างสนใจว่า ชุดเครื่องมือวิทยาศาสตร์รุ่นล่าสุดที่จะติดตั้งไปบนยาน VERITAS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า 30 ปี จะให้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูงยิ่งกว่ายานมาเจลลันมาก ช่วยเติมเต็มองค์ความรู้เกี่ยวกับดาวศุกร์ได้ดียิ่งกว่ายานมาเจลลันมาก
  • ยาน VERITAS จะใช้ระบบเรดาร์สร้างแผนที่ดาวศุกร์แบบ 3 มิติ และใช้อุปกรณ์ตรวจวัดสเปกตรัมในย่านรังสีอินฟราเรดศึกษาองค์ประกอบของพื้นผิวดาวศุกร์ และยังสามารถวัดความโน้มถ่วง ณ พื้นที่ต่าง ๆ ของดาวศุกร์ได้
  • เพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงกระบวนการทางธรณีวิทยาบนดาวศุกร์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  • ขณะที่ข้อมูลจากยานมาเจลลันจะนำมาใช้ศึกษาต่อได้ค่อนข้างยาก ทาง Herrick บอกว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้แผ่น CD จำนวนมากในการเก็บข้อมูลของดาวศุกร์ แล้วใช้การส่งทางไปรษณีย์ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
  • ซึ่งแตกต่างไปจากยุคปัจจุบันนี้โดยสิ้นเชิง VERITAS จะลงข้อมูลบนฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เข้าถึงได้อย่างสะดวก และสามารถใช้เทคนิคใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องเช็คข้อมูลเองทีละภาพ ก็จะยิ่งทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งภารกิจสำรวจดาวศุกร์นั่นคือ EnVision ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ที่จะส่งยานสำรวจดาวศุกร์ขึ้นสู่อวกาศในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2030
  • ยานลำนี้จะบรรทุกระบบเรดาร์ เรียกว่า VenSAR ที่พัฒนาโดย JPL และอุปกรณ์ตรวจวัดสเปกตรัมที่คล้ายกับยาน VERITAS โดยที่ Hensley และ Herrick จะเป็นสมาชิกในทีมนักวิทยาศาสตร์ของอุปกรณ์ VenSAR ด้วยเช่นกัน

เรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น