สายเค็ม “ติดเค็ม” ระวังให้ดี เสี่ยง 5 อันตราย รุนแรงไม่แพ้โรคไต

กินเค็ม, ติดเค็ม, เกลือ, โรคไต, ความดันโลหิต, เบาหวาน, หัวใจวาย, ภาวะคั่งของเกลือ, ไตเสื่อม, โซเดียม

สายเค็ม "ติดเค็ม" ติดเกลือ ระวังให้ดี เตือนภัย 5 อันตรายไม่แพ้โรคไต เสี่ยงดับไม่รู้ตัว พร้อมเปิด 5 เทคนิคลดเค็มยังไง ให้ไม่เสี่ยงโรค เช็ค

ใครชอบกินเค็ม “ติดเค็ม” เติมเกลือเก่ง ระวังให้ดี เปิดลิสต์ 5 อันตรายใกล้ตัวไม่แพ้โรคไต เผลอ ๆ รุนแรงยิ่งกว่า ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เช็คลิสต์ 6 โรคร้ายที่สายเค็ม “ติดเค็ม” ต้องระวัง

1. เกิดการคั่งของเกลือ และน้ำในอวัยวะต่างๆ

สายเค็มทั้งหลาย เคยสังเกตไหมว่า ทุกครั้งที่เรากินเค็ม “ติดเค็ม” มาก ๆ จะเริ่มรู้สึกกระหายน้ำประจำ รู้ไหมว่า อาการนี้เกิดจากคั่งของเกลือ 

  • ทำให้น้ำในหลอดเลือด (intravascular fluid, IVF) เพิ่มขึ้น ถ้าเพิ่มขึ้นมากจะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ
  • เป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้มีน้ำคั่งในปอดและเกิดการบวมน้ำได้

2. หัวใจวาย

หากร่างกายไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ เกิด

  • ภาวะคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ เช่น แขนขา หัวใจ และปอด
  • ทำให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย
  • แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
  • ในผู้ป่วยโรคหัวใจ น้ำที่คั่งในร่างกายจะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายมากขึ้น

 

กินเค็ม, ติดเค็ม, เกลือ, โรคไต, ความดันโลหิต, เบาหวาน, หัวใจวาย, ภาวะคั่งของเกลือ, ไตเสื่อม, โซเดียม

 

3. ความดันโลหิตสูง

ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้น มีหลายปัจจัย ได้แก่

  • กรรมพันธุ์
  • ความอ้วน
  • ระดับไขมันในเส้นเลือด
  • ความเครียดทางจิตใจ
  • รวมทั้งพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เคยชิน เช่น
    • การรับประทานอาหารรสเค็ม โดยในภาวะปกติร่างกายมีกลไกการปรับความดันโลหิตให้มีค่าอยู่ในระดับปกติและคงที่อยู่เสมอ
    • แต่หากร่างกายอยู่ในภาวะไม่ปกติเมื่อไร กระบวนการปรับความดันโลหิตอาจทำงานได้ไม่เต็มที่ และทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้

4. ส่งผลต่อไต

  • การที่มีการคั่งของน้ำและระดับความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย
  • เกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น 
  • นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่าง ซึ่งทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย

5. ส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย

  • การได้โซเดียมมากเกิน เป็นสาเหตุทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ เช่น
    • หัวใจและสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
    • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วหากรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่กับยาลดความดันโลหิต สามารถลดความดันโลหิตได้ดีกว่าผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต แต่ได้รับโซเดียมเกินกำหนด

 

กินเค็ม, ติดเค็ม, เกลือ, โรคไต, ความดันโลหิต, เบาหวาน, หัวใจวาย, ภาวะคั่งของเกลือ, ไตเสื่อม, โซเดียม

5 เทคนิค ลดกินเค็ม “ติดเต็ม” ลดเสี่ยงโรค

1. ลดปริมาณในการปรุงรสชาติอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียมสูง

  • เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสมะเขือเทศ น้ำซุป ซอสปรุงรส น้ำจิ้มต่าง ๆ เป็นต้น

2. ใช้เครื่องเทศในการปรุงรสชาติของอาหารให้มากขึ้น

  • เพื่อทดแทนการใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูง

3. เลือกบริโภคเครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียมต่ำกว่าปกติ

 

กินเค็ม, ติดเค็ม, เกลือ, โรคไต, ความดันโลหิต, เบาหวาน, หัวใจวาย, ภาวะคั่งของเกลือ, ไตเสื่อม, โซเดียม

 

4. ลดการซดน้ำซุปต่าง ๆ น้ำจากผัดผัก น้ำแกงต่าง ๆ เป็นต้น

5. หลีกเลี่ยงหรือลดการบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยรสเค็มจัด

  • เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ปลาส้มแหนม ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง อาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

6. เช็คปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการก่อนทุกครั้ง

  • โดยเราไม่ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม)

ข้อมูล : กรมโรคไม่ติดต่อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด สาวขับเบนซ์พุ่งชน จยย.กระเด็นเสียชีวิต 2 ราย กลางถนนเสนานิคม-จตุจักร
รัฐบาลเตือนมิจฉาชีพอ้างเป็น “กรมบัญชีกลาง” ลวงดูดเงินประชาชน
สายสีแดง ชวนเที่ยวแลนด์มาร์คแห่งใหม่ สูดอากาศบริสุทธิ์ สะดวก เดินทางง่าย ติดรถไฟฟ้า
“สาวไทย” โคตรแสบ! ช่วยแฟนผิวสีขนโคเคนเข้าเมือง โดนชาร์จคา ตม.สระแก้ว
‘ผอ.อผศ.’ จัดกิจกรรม นักรบ พบ รด. ปลุกจิตสำนึกเยาวชนต่อความเสียสละของทหารผ่านศึก
ผบช.น. สั่งเอาผิดขั้นเด็ดขาด เก๋งหัวร้อนพุ่งชนไรเดอร์ดับ แจ้ง 2 ข้อหาหนัก-ค้านประกันตัว
"ปอศ.-สรรพสามิต" บุกยึดบุหรี่เถื่อน ลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
"ตำรวจ" เตือน "Jagat" แอปฯล่าเหรียญ สัญชาติอินโดฯ ไม่ได้จดทะเบียนในไทย อันตรายหลายจุด
กรมอุตุฯ เผยไทยอุ่นขึ้น 1-2 องศาฯ อากาศยังเย็นอยู่  กทม.หนาวสุด 19 องศาฯ
"กรมวังฯ" ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจฯ ณ เรือนจำ จ.ภูเก็ต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น