logo

“ไทยแลนด์” เอกชนอู้ฟู่ค่าไฟแพง-รัฐผลักกฟผ.ผลิตไฟฟ้าน้อยลง

"ไทยแลนด์" เอกชนอู้ฟู่ค่าไฟแพง-รัฐผลักกฟผ.ผลิตไฟฟ้าน้อยลง

“TOP News” เดินหน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงปัญหาค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง ประชาชนเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการซื้อไฟฟ้าสำรองจากภาคเอกชนในปริมาณสูงกว่าสัดส่วนควรจะเป็น จนส่งผลกระทบต่อการคำนวณค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟในระดับต่าง ๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน

ล่าสุด รายการ Top Biz Insight ( 22 มี.ค.) นำเสนอข้อมูลกำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และจากการซื้อจภาคเอกชน โดยเน้นย้ำให้เห็นว่ากฟผ.ต้องซื้อไฟฟ้าจากเอกชน รวมๆแล้วเกิน 50 % แล้วผลิตเองในปริมาณกว่า 30 % เท่านั้น ขณะที่ถ้าเทียบกับอัตราสำรองไฟฟ้าของไทย ปี 2563 อยู่ที่ 41.1% , ปี2564 อยู่ที่ 42.1% , ปี 2565 อยู่ที่ 33.1%

 

โดยปี 2563 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นแห่งการแพร่ระบาดโควิด-19 ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ภาคบริการ ถึงแม้จะหยุดชะงัก การท่องเที่ยวมีปัญหา โรงแรมส่วนใหญ่ต้องปิดให้บริการ แต่ปรากฎว่าอัตราสำรองไฟของไทยกลับสูงถึง 41.1% ส่วนปี 2564 ซึ่งต้องเผชิญภาวะวิกฤตโควิดอีกครั้ง อัตราสำรองไฟฟฟ้าของไทย ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 42.1% และปี 2565 เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มจะดีขึ้น แต่มีสัญญาณบ่งชี้ว่านโยบายเรื่องอัตราสำรองไฟฟ้าของไทยจะถูกทำให้ลดลง

 

 

ทั้ง ๆ ที่กรณีดังกล่าวภาครัฐควรมีระบบการจัดการมาก่อนหน้า โดย ณ เวลานี้ 2566-2568 ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนภาคธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมขึ้นไปเกือบ 100 แต่ปรากฎว่าหน่วยงานภาครัฐบอกจะลดอัตราสำรองไฟฟ้าลงเหลือ 15 % หลังจากเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเรื่องค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง เพราะปริมาณการสำรองไฟฟ้าที่มากเกินความจำเป็น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

และเมื่อขยายความจะยิ่งชัด กับข้อมูลกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยว่าล้นเหลือขนาดไหน โดยตัวเลข ณ วันที่ 15 มีนาคม 2566 พบว่า 1. กฟผ.มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 16,920.32 MW หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.41 และ 2.ภาคเอกชน อยู่ที่ 32,254.48 MW หรือ เท่ากับสัดส่วน ร้อยละ 65.59 ทำให้เกิดคำถามว่าอนาคตจากนี้ กฟผ.จะยังสัดส่วนการผลิตไว้เท่าเดิมต่อไปเรื่อย ๆ หรือไม่ อย่างไร ในขณะที่ปริมาณการสำรองไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศ มาจากการรับซื้อบริษัทเอกชนเป็นหลัก และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัว

อีกหนึ่งข้อมูลสำคัญ คือ ตัวเลขกำลังการผลิตไฟฟ้า ปี 2565 ทำให้เห็นเลยว่า กฟผ.จากที่เคยผลิต 100 % ณ เวลานี้เหลือเพียง 34.41% ในขณะที่เอกชนพุ่งขึ้นเป็น 65.59% และ ช่วงปี 2532 สมัยรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ปีนั้นประเทศไทยตั้งเป้าหมายว่าจะโชติช่วงชัชวาล เราจะมีอีสเทิร์นซีบอร์ด เราจะต้องมีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องการจ้างเอกชน เข้ามาผลิตไฟฟ้ามาจนถึงทุกวันนี้ จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่าสุดท้ายแล้วปี 2568 กำลังการผลิตของกฟผ.จะเหลือถึง 10% หรือไม่ แล้วเอกชนจะเข้ามาครอบครองไฟฟ้าทั้งประเทศหรือไม่ แล้วสุดท้ายความมั่นคงทางพลังงานของประเทศจะอยู่ตรงไหน

 

 

ยิ่งยวดกว่านั้น เมื่อมีการพูดถึงว่าประเทศไทย กำลังมีเป้าหมายลดอัตราการสำรองไฟฟ้า ลงสู่ระดับ 15% ตามมาตรฐานสากล คำถามตามมาก็คือ อนาคตสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.จะเป็นแบบไหน ตลอดจนโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งหมดที่มีอยู่จะไปไว้ไหน จะจัดการอย่างไร ทั้งโรงไฟฟ้า และปริมาณไฟฟ้าจัดซื้อแล้วรอส่งเข้าระบบ หรือ จะปล่อยให้ภาคเอกชนกลายเป็นเสือนอนกินเต็มรูปแบบ เพราะเม็ดเงินที่กฟผ.จ่ายให้ทุกเดือนตามสัญญา

 

แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีข้อแนะนำว่า “รัฐโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องดำเนินการกำหนดกรอบหรือเพดานของสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเอกชนในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ และกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองอันเกี่ยวกับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเอกชน

อันส่งผลต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนให้สอดคล้องและใกล้เคียงกับความเป็นจริง ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของทั้งประเทศในแต่ละช่วงเวลา หากกำหนดกำลังไฟฟ้าสำรองสูงเกินสมควรและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะอาจถูกดำเนินการโดยองค์กรอื่นหรือศาลอื่นได้”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น