“อีสท์ วอเตอร์” พร้อมส่งคืนท่อส่งน้ำ ขอแผนส่งมอบชัดเจน ห่วงกระทบผู้ใช้น้ำ

“อีสท์ วอเตอร์” เผยพร้อมส่งคืนท่อส่งน้ำสายหลักตามที่กรมธนารักษ์แจ้ง แต่อยากให้ทุกภาคส่วนพูดคุยหารือกัน เพื่อสร้างความพร้อมในการส่งมอบ-รับมอบทรัพย์สินที่ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า การเปลี่ยนผ่านจะเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่กระทบต่อผู้ใช้น้ำ พร้อมขอให้ภาครัฐเห็นการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมเป็นหลัก และทำทุกอย่างเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 กรมธนารักษ์ได้ส่งหนังสือการบอกเลิกการเช่า/บริหารโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ-แหลมฉบัง ระยะที่ 2 โดยหนังสือที่กรมธนารักษ์แจ้งมาระบุให้บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ ส่งคืนพื้นที่และทรัพย์สินในโครงการดังกล่าวให้แก่กรมธนารักษ์ ภายในวันที่ 11 เมษายน 2566 หากไม่ดำเนินการกรมธนารักษ์จะสงวนสิทธิ์ให้อีสท์ วอเตอร์ ปฏิบัติตามระเบียบที่บังคับใช้ ณ ปัจจุบัน และอนาคต พร้อมทั้งเรียกร้องค่าเสียหาย และ เงินอื่นใด (ถ้ามี) จากการที่อีสท์ วอเตอร์ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ราชการกำหนด โดยในวันที่ 22 มีนาคม 2566 อีสท์ วอเตอร์ได้ส่งหนังสือส่งให้แก่อธิบดีกรมธนารักษ์ เรื่องการโต้แย้งการบอกเลิกการเช่า/บริหารโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล – หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ – แหลมฉบัง (ระยะที่ 2) การเรียกให้ส่งมอบพื้นที่และทรัพย์สินแก่กรมธนารักษ์ และการเรียกค่าเสียหายพร้อมแจ้งข้อเสนอของอีสท์ วอเตอร์ เพื่อลดกระทบต่อผู้ใช้น้ำให้แก่กรมธนารักษ์

 

 

 

 

 

นายเชิดชาย ปิติวัชรากุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ ยืนยันว่า บริษัทพร้อมที่จะส่งคืนพื้นที่ให้แก่กรมธนารักษ์ตามที่ได้มีการร้องขอในวันที่ 11 เม.ย.66 แต่ขอให้มีแผนงานการส่งมอบ-รับมอบโครงการร่วมกัน ที่ชัดเจน เพราะเกรงว่า หากไม่ชัดเจนจะผลกระทบจะตกอยู่กับผู้ใช้น้ำ

“ถ้าเกิดว่าเราถูกขีดเส้นตายให้ส่งมอบอันนี้เราก็จำเป็นต้องส่งมอบตามนั้น แต่หลังจากนั้น มีอะไรเกิดขึ้น นี่คือความกังวลว่าความพร้อม หรือรอยต่อจะไม่มีปัญหา โดยยึดถือผู้ใช้น้ำเป็นหลัก ไม่ได้เอาบริษัทเป็นหลัก เพราะความเสียหายมากกว่าความเสียหายของบริษัท เราแค่เปลี่ยนมือเท่านั้น แต่น้ำที่ส่งไปจะกระทบต่อภาพรวมของผู้ใช้น้ำที่เป็นอุตสาหกรรมของประเทศ การอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยว โดยก่อนถึงวันที่ 11 เม.ย. บริษัทได้มีหนังสือถึงกรมธนารักษ์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของการบริหารจัดการน้ำ และเชิงนโยบายของประเทศ ว่าอยากให้มีการหารือ หรือพูดคุยกัน เพื่อให้การส่งมอบราบรื่น เราไม่ได้ขอเลื่อน แต่ขอให้มีการพูดคุย และมีการแสดงความพร้อมของทั้งผู้รับ ผู้ส่ง ให้พร้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับทางผู้ใช้น้ำ ว่าจะไม่มีผลกระทบ” นายเชิดชัย กล่าว

 

 

 

 

 

โดยบริษัทได้เสนอถึงแนวทางการส่งมอบพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบของผู้ใช้น้ำ ดังนี้

 

1. อีสท์ วอเตอร์ ได้ให้ความร่วมมือในการเข้าตรวจสอบพื้นที่ในการส่งมอบทรัพย์สิน และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐลงพื้นที่ตรวจทั้ง 3 ครั้งตามที่ร้องขอ และให้การสนับสนุนข้อมูลเป็นอย่างดี โดยได้เข้าร่วมประชุมกับกรมธนารักษ์ และ เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สิน เพื่อจัดทำแผนงานตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการท่อส่งน้ำสายหลักร่วมกันแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง แต่ยังไม่มีข้อสรุป ทั้งขั้นตอนการดำเนินการส่งมอบ – รับมอบโครงการและประเด็นทรัพย์สินทับซ้อนเรื่องทรัพย์สินทับซ้อน อีสท์ วอเตอร์ เห็นว่าทุกฝ่ายต้องหาแนวทางที่ลดผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำร่วมกัน

2.ในการลงนามสัญญากับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก กรมธนารักษ์ได้รีบเร่งลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ทั้งที่ยังไม่ได้มีข้อยุติเรื่องการส่งมอบทรัพย์สิน ตามที่ประชุม คกก.ที่ราชพัสดุมีมติให้ดำเนินการตามข้อสังเกตุของอัยการสูงสุดที่ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนลงนามในสัญญา ดูเป็นการกระทำที่รีบเร่งสัญญา ดูเป็นการกระทำที่รีบเร่ง ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีแนวทางป้องกันผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ

3. ทรัพย์สินที่จะส่งมอบ หากต้องส่งมอบในวันที่ 11 เมษายน 2566 โดยไม่มีแผนการส่งมอบ – รับมอบโครงการทั้งสองอย่างเป็นขั้นตอน อาจส่งผลกระทบดังนี้

– ผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ โดยเฉพาะผู้ใช้น้ำบริเวณพื้นที่ ปลวกแดง ซึ่งมีการส่งจ่ายน้ำ 210,000 ลบ.ม. ต่อวัน และผู้ใช้น้ำตามแนวท่อหนองปลาไหล – มาบตาพุด – สัตหีบ อีก 300,000 ลบ.ม. ต่อวัน

– พื้นที่ทับซ้อน เนื่องจากมีทรัพย์สินของ อีสท์ วอเตอร์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกให้เป็น Water Grid ตาม

มติครม. เช่น มิเตอร์ ปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบ ระบบ SCADA ที่ใช้ควบคุมแรงดันน้ำจากระยะไกล ในส่วนพื้นที่บางส่วนซึ่งต้องส่งมอบคืนให้แก่กรมธนารักษ์ ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปเป็นที่ชัดเจนในการใช้พื้นที่ร่วมกัน

 

โดยกรมธนารักษ์ ควรตรวจสอบว่า เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกสามารถเริ่มการดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างถูกกฎหมายได้ทันทีหลังการส่งมอบโครงการหรือไม่ มิฉะนั้น ผู้ใช้น้ำอาจได้รับน้ำที่มีการสูบจ่ายโดยไม่ถูกต้อง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้การที่กรมธนารักษ์ส่งมอบทรัพย์สินโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ – แหลมฉบัง (ระยะที่ 2) ให้อีสท์ วอเตอร์ เมื่อปี 2540 และปี 2541 เป็นการเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และตามรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางและการกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนในการจัดให้เอกชนเช่า/บริหารระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ซึ่งกรมธนารักษ์ใช้ประกอบการคัดเลือกเอกชนครั้งแรก (กรกฎาคม 2564) และครั้งที่สอง (กันยายน 2564) มีเนื้อหาระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นโครงการที่มีอายุ 30 ปี และอยู่ระหว่างจัดทำสัญญาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมธนารักษ์ โดยสิ้นสุดในปี 2570 และ 2571 ตามลำดับ ไม่ใช่เป็นไปตามนัยหนังสือกรมธนารักษ์ ที่ กค 00420/948 ลงวันที่ 4 เมษายน 2543 และที่ กค 0305/17698 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นเรื่องการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล – หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ – แหลมฉบัง (ระยะที่ 2) ที่คำนวณจากรายได้ที่เกิดจากการขายน้ำดิบ และเป็นเอกสารที่เกิดจากการตกลงร่วมกันระหว่างกรมธนารักษ์ และอีสท์ วอเตอร์

 

การที่กรมธนารักษ์แจ้งกับอีสท์ วอเตอร์ ขอยกเลิกการเช่าและบริหารโครงการท่อส่งน้ำทั้งสองโดยอ้างนัยตามหนังสือกรมธนารักษ์ทั้งสองฉบับข้างต้น จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง และกรมธนารักษ์เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแจ้งขอยกเลิกข้อตกลงการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนกับอีสท์ วอเตอร์ได้

 

 

 

 

 

 

นายเชิดชาย กล่าวอีกว่า ในการหาข้อยุติเรื่องการส่งมอบ-รับมอบพื้นที่ และทรัพย์สิน โครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล – หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ – แหลมฉบัง (ระยะที่ 2) อีสท์ วอเตอร์ได้เสนอแนวทาง และขั้นตอนการส่งมอบ – รับมอบทรัพย์สินโครงการท่อส่งน้ำทั้งสอง และจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อประกอบการพิจารณาของกรมธนารักษ์ ดังต่อไปนี้

1. การวางแผนงานและขั้นตอนการส่งมอบทรัพย์สิน ระยะเวลา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อน การเปลี่ยนแปลงและขอใช้ระบบไฟฟ้า การกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงระบบ และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการท่อส่งน้ำของแต่ละฝ่ายเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ รวมทั้งการแสดงความพร้อมและกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นดำเนินการในเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไร้รอยต่อ และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ

2. การแสดงความพร้อมและการได้รับอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การขออนุญาตใช้และได้รับการจัดสรรน้ำดิบจากกรมชลประทาน การขออนุญาตและติดตั้งระบบไฟฟ้า การจัดทำสัญญาซื้อขายน้ำดิบกับผู้ใช้น้ำ เพื่อให้การสูบส่งและการซื้อขายน้ำดิบให้แก่ผู้ใช้น้ำเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สทนช., EEC, ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ควรมีส่วนร่วมการพิจารณาแผนการส่งมอบการทรัพย์สิน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ

นายเชิดชายกล่าวอีกว่า การส่งมอบทรัพย์สินจึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาและดำเนินการร่วมกันทุกฝ่าย และจัดทำแผนงานอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน เพื่อให้การส่งมอบ – รับมอบทรัพย์สินเป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย ไม่กระทบต่อผู้ใช้น้ำ สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีการหยุดจ่ายไฟและส่งน้ำ 3-4 ชั่วโมง รวมถึงเรื่องสัญญาการใช้ไฟและสร้างความมั่นใจว่าการส่งมอบทรัพย์สินจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ

 

ทั้งนี้ หากกรมธนารักษ์ยังคงยืนยันที่จะให้อีสท์ วอเตอร์ส่งมอบทรัพย์สินโครงการท่อส่งน้ำทั้งสองและดำเนินการต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 11 เมษายน 2566 โดยไม่มีแผนร่วมกันในการส่งมอบ – รับมอบอย่างเป็นขั้นตอน หากเกิดประเด็นข้อพิพาทหรือกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้เกิดผลกระทบและความเสียหายใด ๆ ต่อผู้ใช้น้ำ อีสท์ วอเตอร์ก็ถือเป็นความรับผิดชอบโดยลำพังเพียงฝ่ายเดียวของกรมธนารักษ์ โดยบริษัทฯ ไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่อย่างใด

นายเชิดชาย ยังยืนยันจะเร่งรัดการดำเนินการพัฒนาทั้งด้านการวางท่อและแหล่งน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อให้กลับมาเป็น Water Grid ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยอีกครั้ง ที่ผ่านมา มีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก และมีการลงทุนเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ อาทิ สถานีสูบน้ำ ท่อเชื่อมโยง ช่วยภาครัฐประหยัดงบประมาณในการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ขณะนี้มีการดำเนินงานการก่อสร้าง โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบและข้อบังคับของภาครัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม หากกรมธนารักษ์ จะมีการหารือร่วมกับบริษัทก็พร้อมที่จะเข้าร่วมเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในส่วนของประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุป และเชื่อว่า หากบริษัทมีการส่งมอบพื้นที่ได้ตามแผน ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องพื้นที่ โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ที่มีความทับซ้อนกันอยู่ และทรัพย์สินที่เป็นของบริษัทเอง โดยยึดถือประโยชน์ของผู้ใช้น้ำเป็นหลัก และต้องถูกกฎหมาย

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น