“ปานเทพ” แนะเจ็บ “ชูวิทย์” ดีกว่าเอาเงินสกปรกบริจาครพ.แน่ ถ้ายกที่ดินเป็นสวนสาธารณะจริง ๆ

“ปานเทพ” ตอกกลับ “ชูวิทย์” จะได้บุญใหญ่สมใจ ยก 10 ข้อ คำพิพากษา เทียบชัด ๆ ปมยกที่ดินเอกชน ให้เป็นสมบัติชาติ

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เคลื่อนไหว โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยอ้างถึง ๑๐ ประเด็นคำพิพากษาศาลฎีกา “คดีการอุทิศที่ดินของเอกชน”ให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อเทียบเคียงกับกรณีของที่ดินสวนสาธารณะสวนชูวิทย์ว่า เข้าหลักเกณฑ์ เงื่อนไข เหมือนกันหรือไม่เพียงใด จากรายการสนธิทอล์ค เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๖

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยระบุใจความดังนี้ว่า

เลขที่คดีคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวข้องกับการอุทิศที่ดินของเอกชนให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำนวน ๑๐ ประเด็นคำพิพากษา มีดังนี้

๑. การอุทิศที่ดินมีผลทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อีก อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๔๓๗๗/๒๕๔๙

๒. การอุทิศที่ดินมีผลทันทีเช่นกัน แม้หนังสืออุทิศจะระบุว่า จะต้องไปจดทะเบียน ก็ตาม อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๔๓๗๗/๒๕๔๙

๓.เมื่อการอุทิศที่ดินมีผลสมบูรณ์โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอน จะฟ้องศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนโอนไม่ได้ อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๑๒๗๒/๒๕๓๙

๔. การอุทิศที่ดินของเอกชนแม้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๒๖๔/๒๕๕๕

๕. การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถึงแม้ไม่ได้ถูกใครใช้ประโยชน์ก็ไม่อาจสูญสิ้นไป รวมถึงแม้ประชาชนส่วนใหญ่ จะมิได้ใช้ทางพิพาทตามวัตถุประสงค์ก็ตาม อ้างอิงตามฎีกา เลขที่ ๒๐๐๔/๒๕๔๔

๖. การแสดงเจตนาอุทิศที่ดิน ไม่จำต้องมีนายอำเภอ หรือนายก อปท. ในกรณีที่ดินในกรุงเทพมหานครก็ไม่จำเป็นต้องมีกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย หรือกรมธนารักษ์แสดงเจตนารับ ก็มีผลสมบูรณ์แล้ว อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๒๓๗๗/๒๕๔๙

๗. การที่ผู้อุทิศที่ดิน กลับเข้ามาครอบครองที่ดินที่อุทิศไปแล้ว แม้จะกลับมาครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ทำให้ที่ดินกลับมาเป็นของผู้อุทิศที่ดินนั้นอีก จะยกเอาอายุความต่อสู้กับแผ่นดิน ไม่ได้ อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๒๖๔/๒๕๕๕

๘. ผู้อุทิศที่ดินจะขอยกเลิกการอุทิศที่ดิน ไม่ได้ อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๑๑๐๘๙/๒๕๕๖

๙. เมื่อมีการอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ แม้หน่วยงานราชการยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้อุทิศ หรือตามเงื่อนไขการอุทิศให้ก็ตาม ที่ดินนั้นก็ยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อ้างอิงตามฎีกาเลขที่ ๒๐๐๔/๒๕๔๔

๑๐. การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อาจกระทำ “โดยปริยาย” ก็ได้ เช่น ยินยอมให้ประชาชนใช้สอยโดยไม่หวงห้าม อ้างอิงฎีกาเลขที่ ๖๐๖๗/๒๕๕๒,๒๕๒๖/๒๕๔๐ แต่ต้องเป็นการยินยอมให้ประชาชนทั่วไปที่มิได้มีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวกับเจ้าของ ไม่ว่าทางใดๆ

แต่ตอนนี้เมื่อสวนชูวิทย์มีการกระทำรื้อทำลายสวนสาธารณะสำเร็จไปแล้วประการหนึ่ง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารมิกซ์ยูสขนาดใหญ่เป็นอีกประการหนึ่ง

แต่เมื่อพิจารณาแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างฐานรากใต้ดินเท่านัั้น

ดังนั้นหากสมมุติว่าหยุดการก่อสร้างเพียงเท่านี้ แล้วสมมุติต่อว่าวันหนึ่งสามารถนำที่ดินแห่งนี้กลับคืนมาเป็นสวนสาธารณะได้ ชั้นใต้ดินเหล่านี้ยังสามารถนำกลับมาเป็นทึ่จอดรถของสวนสาธารณะได้นะครับ

ถึงเวลานั้นก็จะได้ทำบุญใหญ่สมใจจริง ๆ เสียที โดยไม่ต้องเอาเงินสกปรกไปบริจาคในโรงพยาบาลเพื่อไปได้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษี 2 เท่าแล้วนะครับ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โฆษกปธ.สภาฯ แจงปม “วันนอร์” ไหว้ “ทักษิณ” ไม่เข้าข่ายผิดจริยธรรม
กรมการจัดหางานสุ่มลำดับผู้สมัครโครงการ TIC ครั้งที่ 18 รับโควตา 13,000 อัตราไปทำงานภาคเกษตรในอิสราเอล
กระทรวงแรงงาน เปิดโอกาสทอง! เกาหลีใต้รับแรงงานไทย 3,000 อัตรา สมัครได้ 8-9 มี.ค.นี้ ผ่านระบบออนไลน์
"เนวิน" มาแล้ว จับตานัดถก พิเศษ "ทักษิณ" โรงแรมพูลแมนฯ
MWA X MEA ชวนคุณลดโลกร้อนไปด้วยกัน🌎
MEA SOLAR ลดจัดหนัก ประหยัดจริง คุ้มชัวร์ !
เครือซีพี Kick Off “CP SEACO CAMP ห้องเรียนมารีน เพื่อทะเลไทยยั่งยืน” ปลุกพลังเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
เทียบคำต่อคำ “ขวัญ-โม” ตอบสื่อคดี “แตงโม” บอกเลยหนังคนละม้วน!
“จิรายุ” เผย ปภ.ช.ย้ำทุกส่วนราชการ แก้ปัญหาฝุ่น หลัง "นายกฯ" สั่งเข้มปลายปีต้องลดให้มากที่สุด
มท.ผุด “Hajj 5G 5Good” พร้อมอำนวยความสะดวก ผู้แสวงบุญพิธีฮัจญ์ 6.6 พันคน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น