“ไนโตรเจน” ในอาหาร กาง 3 เทคนิค ทานอย่างไรให้ปลอดภัย

รู้หรือไม่ กระแสควันในละอองอาหารที่หลายคนชื่นชอบ เป็น "ไนโตรเจน" ในอาหาร แนะ 3 เทคนิค ทานอาหารหน้าตาสวย ๆ แบบนี้อย่างไรให้ปลอดภัยไร้พิษสง

องค์การอาหารและยา แนะ 3 เทคนิค ที่สายกิน สายโซเชียล ต้องรู้ ก่อนทาน “ไนโตรเจน” ในอาหารให้ปลอดภัย ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เทรนด์อาหารมีควัน เป็นอีกหนึ่งกระแสมาแรงที่ใคร ๆ ก็ชื่นชอบ เพราะนอกจากจะทำให้อาหารดูแพงแล้ว ยังถ่ายรูปเก๋ ๆ ให้หลายคนได้เช็คอินสวย ๆ บนโลกโซเชียลอีกด้วย แต่รู้ไหมว่า ควันละอองที่ใคร ๆ ชอบนั้น คือ “ไนโตรเจน” เหลว ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีข่าวออกมามากถึงอันตรายของเมนูเหล่านี้ วันนี้ TOP News มี 3 เทคนิค ให้สายกิน สายเช็คอิน ได้ทานอาหารแบบอิ่มกายสบายใจไร้พิษสงมาฝากกันค่า

 

ไนโตรเจน, ไนโตรเจนในอาหาร, อางค์การอาหารและยา, สายกิน, ไนโตรเจนเหลว, ก๊าซไนโตรเจน, อาหารมีควัน

ไน โตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) คืออะไร?

  • การนำก๊าซไน โตรเจนที่มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟและไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา มาผ่านกระบวนการผลิต
  • เพื่อเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว ที่เรียกว่า Liquefaction โดยการเพิ่มความดันพร้อมกับการลดอุณหภูมิ
  • นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลายรวมถึงถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในขั้นตอนการปรุงอาหารที่ต้องการความเย็นจัด เนื่องจากสามารถทำให้อาหารลดอุณหภูมิลงและเกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็ว
  • ซึ่งหลังจากที่ราดหรือเทลงบนอาหารแล้วไน โตรเจนเหลวจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลับสู่สถานะก๊าซ จนมีลักษณะคล้ายไอเย็นหรือควันลอยออกมาจากอาหารดังกล่าว

 

ไนโตรเจน, ไนโตรเจนในอาหาร, อางค์การอาหารและยา, สายกิน, ไนโตรเจนเหลว, ก๊าซไนโตรเจน, อาหารมีควัน

การนำก๊าซไน โตรเจนหรือไน โตรเจนเหลวมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือประกอบอาหารสามารถทำได้ หากมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารและใช้ในเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ การใช้ก๊าซไน โตรเจนหรือไน โตรเจนเหลวในรูปแบบที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค จะถือว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และมีโทษตามกฎหมาย

 

ไนโตรเจน, ไนโตรเจนในอาหาร, อางค์การอาหารและยา, สายกิน, ไนโตรเจนเหลว, ก๊าซไนโตรเจน, อาหารมีควัน

 

3 เทคนิค ทานอาหารที่มี “ไนโตรเจน” อย่างไร ให้ปลอดภัยไร้พิษสง

1. หลีกเลี่ยงการรับประทานหรือสัมผัสโดยตรง

  • เพราะ ไน โตรเจนเหลวมีอุณหภูมิที่ต่ำมากอันตรายจากความเย็นจัด
  • เมื่อไน โตรเจนเหลวสัมผัสถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อโดยตรง ไน โตรเจนเหลวจะดูดซับความร้อนจากผิวหนังเพื่อการระเหยอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย บวมพอง เกิดเนื้อตาย
  • โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนของทางเดินอาหาร มีอาการคล้ายกับผิวหนังที่ถูกเผาไหม้

2. ไม่สูดดมก๊าซไน โตรเจนที่เกิดขึ้นโดยตรง

  • การสูดดมก๊าซไน โตรเจนอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ลดลง
  • ดังนั้น ต้องรอให้ก๊าซของไน โตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะรับประทานได้

 

ข้อมูล : องค์การอาหารและยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เทพไท” เชื่อ 44 อดีตสส.ก้าวไกล ลงชื่อรื้อ แก้ 112 ถูกตัดสิทธิ์ กระทบหนักยิ่งกว่าถูกยุบพรรค
"หม่องชิต ตู่" ส่งกำลังทหารกว่า 150 นาย คุมเข้มเคเคปาร์ค จับหัวหน้าแก๊งคอลเซนเตอร์ กวาดต้อน 450 เหยื่อต่างชาติ
ใต้ป่วนต่อเนื่อง คนร้ายลอบวางบึ้มหน้าร้านสะดวกซื้อ บันนังสตา ตร.เจ็บ 7 นาย-ชาวบ้านอีก 4 เช้านี้บึ้มรถยนต์อีก หน้าห้างสนามบินนราฯ
พรรคไทยก้าวหน้า แถลงขอโทษปชช. แจงคดี “สส.ปูอัด” ขอรอผ่านชั้นอัยการ ก่อนตัดสินใจขับพ้นพรรค
"นิด้าโพล" คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อ "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย" ขัดแย้งจริง แต่เคลียร์จบได้
มาแน่ เช็กรายชื่อ 39 จังหวัด รับมือพายุฝนถล่ม ลมแรง กทม.โดนด้วย ร้อนสุด 37 องศา
"ตม." งัดข้อมูลซัด "โรม" หน้าหงาย ระบบ Biometrics บันทึกข้อมูลทุกคน ระบบ PIBICS คุมคนต่างด้าว
สธ.แจงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ใน "ค้างคาว" ยังไม่แพร่ระบาดสู่คน
“อี้ แทนคุณ“ เปิดเส้นเงิน 3 ล้าน โยง “ฟิล์ม รัฐภูมิ” พร้อมเผยปมใหม่เอี่ยวหลอกขายเหรียญคริปโต
"กรวีร์" ส่งหนังสือเชิญ "ธนดล" พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ชี้แจง กมธ.ปกครอง ปมที่ดิน สปก.เขาใหญ่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น