กางตัวเลขฟ้องปชช.เหตุค่าไฟแพงรัฐเอื้อเอกชนสุดๆ

กางตัวเลขฟ้องปชช.เหตุค่าไฟแพงรัฐเอื้อเอกชนสุดๆ

ยิ่งขุดยิ่งพบความไม่ปกติที่เป็นสาเหตุทำให้ราคาไฟฟ้าอยู่ในระดับสูง จนกลายเป็นภาระภาคประชาชนและภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ล่าสุด Top Biz Insight (27 มี.ค.) รายงานงบดุลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. สรุปแล้ว ณ สิ้นปี 2565 กฟผ.มีหนี้สะสม มากกว่า 1 ล้านล้านบาท และ มียอดคงค้างจ่ายคืนหนี้ให้กับกระทรวงการคลัง ราว 1 แสนล้านบาท

ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่เข้ามาผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. กลับมีตัวเลขเป็นบวกเพิ่มขึ้นทุกกปี เริ่มจากเข้าสู่วงการผลิตขายไฟฟ้า มียอดทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แต่วันนี้ทุนจดทะเบียนพุ่งสูงเกือบ 1 หมื่นล้าน นี่จึงเป็นคำถามว่าสุดท้ายแล้วรัฐบาลจะเลือกเก็บ กฟผ.เอาไว้ หรือ จะเดินหน้าเพิ่มผลกำไรให้กับภาคเอกชนต่อไป

ทั้งนี้ นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณี กกพ. เคาะค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2566 เป็นอัตราเดียวกัน คือ อัตราครัวเรือน กับอัตราภาคอุตสาหกรรม 4.77 บาท

ประเด็นสำคัญ คือ นายอิศเรศ อธิบายว่า เงินค่าไฟฟ้างวดเดือนม.ค.-เม.ย.ที่ประชาชนจ่ายอยู่ในระดับสูง มาจากสมมติฐานการคำนวณค่าไฟของ กกพ.ที่ไม่ตอบโจทย์ หรือ ไม่ควรใช้หลักเกณฑ์ช่วงเดือน ม.ค.มาเป็นหลักในการคำนวณ แต่ควรใช้ช่วงเดือน มี.ค. 2566 เพราะเมื่อเทียบกันแล้วถือเป็นช่วงที่ราคาพลังงานลดลงมากที่สุด โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ราคาเพียงแค่ 13 เหรียญสหรัฐต่อล้าน BTU ขณะที่ กกพ.กลับเลือกใช้ราคาเดือน ม.ค.2566 ที่ 20 เหรียญสหรัฐต่อล้าน BTU ซึ่งถ้าคำนวณจากฐานเดือนมี.ค.2566 ค่าไฟถึงภาคครัวเรือนจะอยู่ที่ 4.40 บาทเท่านั้น

“ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ในตลาดจร ณ เวลานี้ 13 เหรียญสหรัฐ แต่ปรากฎว่า กกพ. ไปใช้ฐานเดือน ม.ค. ซึ่งฐานเดือนม.ค.ใช้คำนวณค่า FT อยู่ที่20 เหรียญสหรัฐ ซึ่งต่างกัน 7 เหรียญ แทนที่จะใช้ฐานคำนวณในราคาถูก กลับไปใช้ฐานคำนวณในราคาแพง”

 

อีกด้านหนึ่งเมื่อพิจารณาถึงค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 ซึ่งเป็นช่วงต้นทุนพลังงานของโลกต่ำลง รวมค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จากการชะลอขึ้นค่าดอกเบี้ยของสหรัฐ แต่ภาครัฐกลับใช้สมมติฐานของเดือน ม.ค.ที่ไม่อัพเดตกับภาวะขาลงของราคาพลังงาน ทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องแบกรับตัวเลขค่าไฟฟ้าสูงเกินจริง จึงอยากจะถามภาครัฐว่าทำเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์ รวมถึงอยากฝากให้ไปปรับวิธีการคำนวณต่องวดเหลือ 2 เดือนเพื่อให้ต้นทุนค่าไฟฟ้ามีความแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ นายอิศเรศ ยังตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า รัฐบาลในช่วงปลายมีการเร่งรัดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนเพิ่ม ทั้งไฟฟ้าสีเขียวจำนวน 5,203 เมกะวัตต์ และส่วนเพิ่ม 3,668 เมกะวัตต์ แบบเร่งรีบ จนเป็นเหตุทำให้เอกชนหลายราย ตัดสินใจยื่นฟ้องขอการคุ้มครองจากศาลปกครอง ด้วยเห็นว่ากระบวนคัดเลือกมีจุดน่ากังขา ยังไม่นับรวมแผนการรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งๆที่ไทยเองมีการผลิตของโรงไฟฟ้ามากกว่าความต้องการกว่า 50 %

นายอิศเรศ ย้ำด้วยว่า “ประชาชนคนไทยต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพง ขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายราย มีผลประกอบการที่มีกำไรและเติบโตกันอย่างถ้วนหน้า ท่ามกลางสถานการณ์ที่ กฟผ. รัฐวิสาหกิจหลักในการดูแลไฟฟ้าของประเทศเหลือสัดส่วน 30 % เท่านั้น และเป็นฝ่ายแบกภาระยอดหนี้คงค้างจ่ายคืน ราว 1 แสนล้านบาท”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกันยังมีอีกหนึ่งประเด็นถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับปัญหาเชิงโครงสร้างและนโยบาย สืบเนื่องจากมาจากภาวะต้นทุนของค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นค่าพร้อมจ่าย และต้นทุนแฝงอื่นๆ โดยเฉพาะผลจากภาวะสำรองไฟฟ้าจนเหลือล้นมากกว่า 50 % แยกเป็นสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า ของกฟผ. 30 % ขณะที่สัดส่วนของเอกชน รวมการนำเข้าสูงถึง 70 %

ส่วนค่าพร้อมจ่ายในที่นี้หมายถึง นาย ก. ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าและขายไฟฟ้า และเป็นผู้ตั้งโรงงานแต่ส่งไฟฟ้าเข้าระบบไม่ได้ เพราะทุกวันนี้ประเทศมีไฟฟ้าสะสมเกินความจำเป็นมากอยู่แล้ว สภาพโรงไฟฟ้าของ นาย ก. จึงแค่อยู่เฉยๆ แต่การอยู่เฉยๆนั้นยังคงได้รับเงินตามระบบ เท่ากับจะได้ทั้งค่าก่อสร้างและค่าไฟที่มีการคำนวณให้ คือเท่ากับเป็น “เสือนอนรับประทาน” ขณะที่หน่วยงานรัฐต้องนำจ่ายเงินค่าไฟ ทั้ง ๆ ที่เป็นต้นทุนไม่ควรจ่าย

นายอิศเรศ ย้ำด้วยว่า “ประชาชนคนไทยต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพง ขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายราย มีผลประกอบการที่มีกำไรและเติบโตกันอย่างถ้วนหน้า ท่ามกลางสถานการณ์ที่ กฟผ. รัฐวิสาหกิจหลักในการดูแลไฟฟ้าของประเทศเหลือสัดส่วน 30 % เท่านั้น และเป็นฝ่ายแบกภาระยอดหนี้คงค้างจ่ายคืน ราว 1 แสนล้านบาท”

 

และน่าสนใจว่าประเด็นนี้ กำลังถูกพูดถึงในหลายเวทีสาธารณะ อย่างเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา มีเวทีอภิปรายเรื่องค่าไฟแพงและการอนุญาตให้เอกชนผูกขาดพลังงานและการผลิตไฟฟ้า นางณิชารีย์ กิตตคุป ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบุว่า กฟผ.ไม่ใช่ผู้ผลิตหลัก แต่พยายามคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน และแบกรับภาระหนี้สินมาโดยตลอด

“ค่าไฟฟ้าที่แพงเกิดจากมีกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูง เนื่องจากมีการเอื้อให้โรงไฟฟ้าเอกชนผลิตเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ดูสัดส่วนหรือความต้องการไฟฟ้าที่เหมาะสม ถือเป็นความผิดพลาดของรัฐบาล เพราะกำลังการผลิตไฟฟ้านั้น เอกชนมีถึง 70 % ขณะที่ กฟผ.มีราว 30 % เท่านั้น”

โดยเฉพาะยิ่งเมื่อดูความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ในช่วงปลายปี 2565 ประมาณ 32,000 กว่าเมกะวัตต์ และความต้องการไฟฟ้าช่วงเดือน ม.ค. ปี 2566 ที่ผ่านมาประมาณ 1 เดือน พบว่าความต้องการลดลง 4.53% หรือ ประมาณ 25,800 กว่าเมกะวัตต์ ตัวเลขนี้บ่งบอกว่า กำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศมีสูงเกินถึง 40 % แ ละกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงเกินก็มาจากเหตุผลการเอื้ออนุมัติให้มีโรงไฟฟ้าเอกชนเข้ามาในระบบมากขึ้น

และนี่คือข้อเท็จจริงว่า ไฟฟ้าที่แพงไม่ได้เกิดจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียว แต่เกิดจากนโยบายของรัฐในการให้มีโรงไฟฟ้าเอกชนเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ได้ไปดูในเรื่องของสัดส่วน หรือ อัตราความต้องการไฟฟ้าของประเทศที่เหมาะสม

 

โดยการเปรียบเทียบ กำลังการผลิตไฟฟ้าเปรียบเทียบ กฟผ.กับบริษัทเอกชน

กำลังผลิต 49,174.8029 MV = 100 %
กฟผ.ผลิต 16,920.3200 MV = 34.41 %
เอกชนผลิต 32,254.4800 MV = 65.59 %

และเมื่อดูงบดุลของกฟผ. พบข้อมูลกระแสเงินสดตามสัญญากับสัดส่วนของหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565

-เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 8,6585 ล้านบาท
-เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 161,134 ล้านบาท
-หนี้สินตามสัญญาเช่าภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 577,269 ล้านบาท

รวมหนี้สินแล้ว 1,072,526 ล้านบาท

 

แต่หากดูค่าใช้จ่ายในการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน (เพื่อนำมาขายต่อให้ประชาชน) และผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กฟผ. ช่วงปี 2561- 2565 พบข้อมูลดังนี้

พ.ศ. 2565 ค่าใช้จ่าย 293,802.00 ล้านบาท ผลกระทบ 559,232.00 ล้านบาท
พ.ศ. 2564 ค่าใช้จ่าย 218,910.00 ล้านบาท ผลกระทบ 378,313.00 ล้านบาท
พ.ศ. 2563 ค่าใช้จ่าย 206,357.00 ล้านบาท ผลกระทบ 348,306.00 ล้านบาท
พ.ศ. 2562 ค่าใช้จ่าย 210,589.92 ล้านบาท ผลกระทบ 380,849.25 ล้านบาท
พ.ศ. 2561 ค่าใช้จ่าย 180,924.23 ล้านบาท ผลกระทบ 352,933.20 ล้านบาท

*ตัวเลขปี 2565 / 559,232.00 ล้านบาท คือตัวเลขที่ปรากฎอยู่ในงบดุล ในบัญชีหนี้สินของกฟผ.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น