โพลสะท้อนเสียงเอกชน จี้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหาพลังงาน-ค่าไฟแพงให้เสร็จใน 90 วัน

โพลสะท้อนเสียงเอกชน จี้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหาพลังงาน-ค่าไฟแพงให้เสร็จใน 90 วัน

29 มี.ค.66 นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 27 ในเดือนมีนาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “สิ่งที่อยากให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการใน 90 วันแรก” พบว่า สิ่งที่ผู้บริหาร ส.อ.ท. อยากให้รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศเร่งดำเนินการภายใน 90 วันแรกของการทำงาน

 

โดยการสำรวจความเห็นครั้งนี้ แบ่งตามปัญหา 5 ด้านที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาราคาพลังงานและค่าไฟฟ้าแพง ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบแพง ปัญหาต้นทุนทางการเงิน ปัญหาแรงงาน และปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

นายมนตรี ระบุว่า ในแต่ละเรื่องมีข้อเสนอที่ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเลือกสูงสุด ดังนี้

 

1. ปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้ง ปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้าให้สมดุล

2. ทบทวนปรับลดโครงสร้างอัตราภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบที่ไม่กระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ

3. ออกมาตรการช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้แก่ SMEs ที่อยู่ในระบบภาษี เช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น

4. สนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) และรัฐปรับปรุงระบบสวัสดิการแรงงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับแรงงาน

5. ปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาตภาครัฐ และที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ รวมทั้งยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยส.อ.ท. ได้มีการนำเสนอผลสำรวจ FTI Poll นี้ ให้แก่ผู้แทนพรรคการเมืองทั้ง 9 พรรค ที่เข้าร่วม เสวนา “วิสัยทัศน์การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย” ในการประชุมสามัญ ส.อ.ท. ประจำปี 2566 พร้อมทั้งได้ส่งมอบรายงานข้อเสนอแนะต่อภาครัฐเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบการจากปัญหาเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสะท้อนความเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรม และเป็นการบ้านสำคัญให้กับพรรคการเมืองที่จะเข้ามาบริหารประเทศในอนาคตต่อไป

 

 

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 427 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 27 จำนวน 5 คำถาม ดังนี้
1. รัฐบาลใหม่ควรเร่งแก้ไขปัญหาราคาพลังงานและค่าไฟฟ้าแพงในเรื่องใด (Multiple choices)

 

 

อันดับที่ 1 : ปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้ง ปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้าให้สมดุล 77.8%
อันดับที่ 2 : ปรับลดอัตราค่า Ft ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2566 เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ 70.0%

อันดับที่ 3 : แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน (กรอ.พลังงาน) 50.6%
อันดับที่ 4 : เปิดให้เอกชนขายไฟฟ้าส่วนที่เกินจากการใช้ งานผ่านระบบส่ง/จำหน่ายของการไฟฟ้าฯ และมีระบบหักลบหน่วยใช้ไฟฟ้าที่ขายคืนการไฟฟ้าฯ เข้าระบบ (Net Metering) 49.6%

 

 

2. รัฐบาลใหม่ควรเร่งแก้ไขปัญหาต้นทุนวัตถุดิบแพงและการสร้าง Supply Chain Security ในเรื่องใด (Multiple choices)

อันดับที่ 1 : ทบทวนปรับลดโครงสร้างอัตราภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบที่ไม่กระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ 65.3%
อันดับที่ 2 : ลดขั้นตอนและค่าธรรมเนียมด้านศุลกากร และส่งเสริมการใช้งานแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย 58.3%

 

อันดับที่ 3 : จัดทำแผนพัฒนาและรองรับปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะสินค้าจำเป็นของประเทศ 54.6%
อันดับที่ 4 : เร่งให้ภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือสินค้าที่สามารถหมุนเวียนเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามหลัก Circular Economy 49.6%

 

3. รัฐบาลใหม่ควรเร่งแก้ไขปัญหาต้นทุนทางการเงินในภาคธุรกิจอย่างไร (Multiple choices)

อันดับที่ 1 : ออกมาตรการช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้แก่ SMEs ที่อยู่ในระบบภาษี เช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น 60.0%
อันดับที่ 2 : ปรับปรุงเงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs ให้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ 59.5%

 

อันดับที่ 3 : ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง และเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ประชาชน 58.3%
อันดับที่ 4 : ให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อ Supply Chain Finance ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้กับ SMEs 55.0%

 

4. รัฐบาลใหม่ควรแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : สนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) และรัฐปรับปรุงระบบสวัสดิการแรงงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับแรงงาน 65.8%
อันดับที่ 2 : จัดสรรงบประมาณในการ Up-skill/Re-skill/Multi-skill/Future-skill บุคลากรให้เหมาะสมกับธุรกิจยุคใหม่ 65.1%

 

อันดับที่ 3 : กำหนดให้การเพิ่มผลิตภาพแรงงานเป็นวาระแห่งชาติ (Labour Productivity) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการพัฒนาบุคลากรจากทุกภาคส่วน 63.0%
อันดับที่ 4 : พัฒนาระบบฐานข้อมูล Big data เพื่อวางแผนพัฒนากำลังคนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน 48.5%

5. รัฐบาลใหม่ควรแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : ปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาตภาครัฐ และที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ รวมทั้งยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย 74.7%
อันดับที่ 2 : ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ปัญหาการฮั้วประมูล 62.1%

 

อันดับที่ 3 : ปรับรูปแบบจากระบบการขออนุมัติอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ มาเป็นการรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายและตรวจติดตามผล 58.3%
อันดับที่ 4 : เร่งรัดหน่วยงานภาครัฐในการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามพ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 55.5%

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น