“อุตตม” ชี้สำรองไฟฟ้าไทยสูงเกินมาตรฐานสากล เหตุหลักค่าไฟแพง

"อุตตม" เผยอัตราสำรองไฟฟ้าไทยสูงเกินมาตรฐานสากล เป็นสาเหตุหลักทำค่าไฟแพง ชี้รัฐบาลต่อไปจะต้องเข้ามาดูอย่างจริงจัง ต้องปรับโครงสร้างจัดหาพลังงานประเทศ ยันพลังประชารัฐจะเอาจริงเรื่องนี้

นายอุตตม สาวนายน ประธานคณะกรรมการจัดทำนโยบาย พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ถึงสาเหตุที่แท้จริงของค่าไฟแพง ว่าเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าสำรองของไทยเกินความจำเป็นหรือไม่ โดยระบุว่า สาเหตุหลักที่ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงคือ ประเทศไทยมีไฟสำรองกำลังการผลิตที่ค่อนข้างมาก ประมาณ 50-55% ใน ขณะที่มาตรฐานสากลการผลิตไฟฟ้าสำรองจะอยู่ที่ 15-20% ก็เพียงพอ โดยปัญหาพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นถือเป็นปัญหาที่มีการสะสมมานาน และวันนี้จะต้องเร่งเเก้ไข

พรรคพลังประชารัฐจะเอาจริงในเรื่องนี้ โดยจะดูทั้งโครงสร้าง ในระยะสั้น ที่สามารถแก้ปัญหาได้ทันที อาทิ เรื่องค่าใช้จ่ายแพง อาจจะต้องพิจารณาเรื่องการปรับวิธีคิดค่าไฟฟ้า เเบบระบบมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อป Net Metering คือ ระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เองจากโซลาร์เซลล์บนหลังคากับไฟฟ้าที่เราใช้จากการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะจ่ายค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบแล้ว เนื่องจากปัจจุบันภาคประชาชนสามารถที่จะผลิตไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน อาทิ โซลาร์เซลล์ พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล โดยรัฐบาลจะต้องให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง และใช้ระบบ Net Metering เชื่อว่าจะลดค่าไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

และยังนำไปสู่ระยะต่อไป คือ เรื่องไฟฟ้าประชาชน ที่ผลิตด้วยประชาชน และใช้ด้วยประชาชน ดังนั้น รัฐบาลควรส่งเสริมในเรื่องของไฟฟ้าทางเลือก โดยเฉพาะไฟฟ้าชุมชน ซึ่งพรรคพลังประชารัฐจะเดินหน้าผลักดันอย่างจริงจัง และหากว่าสามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้เชื่อว่า การปรับโครงสร้างค่าไฟและพลังงานให้มีเสถียรภาพ

นายอุตตม ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องการปล่อยให้เอกชนเป็นผู้กำหนดทิศทางตลาดราคาพลังงาน ว่า ถึงเวลาที่จะต้องมาดูโครงสร้างการจัดหาพลังงานของประเทศ ซึ่งหากเป็นในเรื่องของค่าไฟฟ้าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้ซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนเอามาขายให้ประชาชน ซึ่งจะต้องเข้าไปดูให้ละเอียดในจุดนี้ว่า สัญญาที่ทำตลอดมามีการจ่ายค่า AP หรือ ค่าความพร้อมจ่าย ให้เอกชน แม้ว่าจะมียังไม่มีการผลิตไฟฟ้าก็ตาม และถือเป็นประเด็นที่รัฐบาลต่อไปจะต้องเข้ามาดูอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเจรจาต่อรอง แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายก็ตาม

 

ขณะเดียวกัน ในส่วนของแผนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จะเกิดใหม่อย่างรถไฟฟ้าที่ภาครัฐจะต้องมีการส่งเสริมอย่างจริงจัง เนื่องจากจะได้มีการนำเอาไฟฟ้าส่วนเกินมาใช้ได้ทันทีและยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการนำเอาระบบ Net Metering มาใช้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางที่ประชาชนจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า

นอกจากนี้ มองว่า ในเรื่องของค่าไฟฟ้า รวมถึงก๊าซธรรมชาติถือเป็นต้นทุนสำคัญของเศรษฐกิจ โดยในภาคอุตสาหกรรม ที่ถือเป็นเรื่องใหญ่คือ เรื่องที่รัฐจะช่วยเหลือภาคเอกชนในการลดต้นทุนที่มาจากพลังงานเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ หากต้นทุนไทย สามารถเทียบเคียงกับประเทศอื่นได้ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมจะทำให้ประเทศไทยหรือภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันได้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่ต้นทุนพลังงานถือเป็นต้นทุนใหญ่ของเศรษฐกิจไทย รวมถึงการสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนอีกด้วย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น