“รอยช้ำ” ฟกช้ำ เป็นจ้ำง่าย ไม่ปกติ สัญญาณเตือนโรคร้าย

รอยช้ำ, แผล ฟกช้ำ, รอย ช้ำ ไม่รู้ สาเหตุ, รอยฟกช้ำ สีม่วง, แผลฟกช้ำ, รอยเขียว, รอยคล้ำ, เส้นเลือด, เลือดออก, จ้ำเลือด, เส้นเลือดฝอย, โรคฮีโมฟิเลีย, ภาวะเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก, โปรตีนแฟคเตอร์, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลูคีเมีย

ใครมี "รอยช้ำ" ฟกช้ำ เป็นจ้ำบ่อย ๆ ไม่ปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย อันตรายถึงชีวิต เช็คเลย เข้าข่ายไหม

รู้หรือไม่ “รอยช้ำ” แผล ฟกช้ำ รอย ช้ำ ไม่รู้ สาเหตุ รอยฟกช้ำ สีม่วง เกิดขึ้นบ่อย ไม่ใช่เรื่องปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ใครมีปัญหาแผลฟกช้ำ ดำเขียว บ่อย ๆ แบบไม่มีสาเหตุ มามุงตรงนี้ด่วน ๆ เช็คให้ดีเข้าข่ายอันตรายแค่ไหน แพทย์เผย มีอาการ “รอยช้ำ” ตามร่างกายบ่อย ๆ อย่าปล่อยไว้นาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายแรง เสี่ยงเสียชีวิตได้

รอย ช้ำ เกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุและโรค สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. อุบัติเหตุหรือกระแทกสิ่งของ

  • หากรอย ช้ำเป็นรอยเขียวและเป็นรอย ช้ำเพียง 1-2 จุด เฉพาะบนร่างกาย
  • กดลงไปแล้วมักจะเจ็บเบา ๆ อาจเป็นรอยฟกช้ำธรรมดาที่เราเดินไปชนสิ่งของหรือเดินไปกระแทกกับของแข็งโดยไม่รู้ตัว

2. อายุที่มากขึ้น

  • ผิวหนังจะบางลง ไขมันและคอลลาเจนที่ช่วยปกป้องเส้นเลือดก็ลดลงตามไปด้วย
  • ทำให้เส้นเลือดเปราะบางและแตกง่าย จึงเกิดเป็นรอยคล้ำเมื่อเลือดออกที่ผิวหนัง

รอยช้ำ, แผล ฟกช้ำ, รอย ช้ำ ไม่รู้ สาเหตุ, รอยฟกช้ำ สีม่วง, แผลฟกช้ำ, รอยเขียว, รอยคล้ำ, เส้นเลือด, เลือดออก, จ้ำเลือด, เส้นเลือดฝอย, โรคฮีโมฟิเลีย, ภาวะเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก, โปรตีนแฟคเตอร์, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลูคีเมีย

3. ขาดวิตามิน

  • โดยเฉพาะวิตามิน C และ K
  • วิตามิน C อาจจะขาดจากทานผลไม้ไม่พอ
  • วิตามิน K อาจเกิดจากได้รับยาฆ่าเชื้อติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้เลือดออกได้ง่าย
  • จุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดเกิดได้ทั่วร่างกาย หากปล่อยไว้นานอาจรุนแรงขึ้นจนมีเลือดออกในอวัยวะสำคัญได้

4. ใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

  • ผลข้างเคียงจากยา อาจทำให้เส้นเลือดฝอยเปราะบางและแตกง่าย จนเกิดรอย ช้ำตามร่างกายได้บ่อยครั้ง

 

รอยช้ำ, แผล ฟกช้ำ, รอย ช้ำ ไม่รู้ สาเหตุ, รอยฟกช้ำ สีม่วง, แผลฟกช้ำ, รอยเขียว, รอยคล้ำ, เส้นเลือด, เลือดออก, จ้ำเลือด, เส้นเลือดฝอย, โรคฮีโมฟิเลีย, ภาวะเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก, โปรตีนแฟคเตอร์, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลูคีเมีย

5. เกล็ดเลือดต่ำหรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ

  • “รอยช้ำ” มักจะเห็นได้ตามผิวหนังตื้น ๆ อาจเจอได้ชัดตามข้อพับ
  • เกล็ดเลือดต่ำเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ยาที่รับประทานไปจนถึงมะเร็ง หรือไขกระดูกฝ่อ ซึ่งต้องตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม

6. ขาดโปรตีนแฟคเตอร์ 8

  • หากเป็นตั้งแต่กำเนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม เรียกว่า โรคฮีโมฟิเลีย
  • แต่อาจถูกกระตุ้นจากโรคอื่น ๆ ได้ด้วย ทำให้การแข็งตัวของเลือดลดลงจนเกิดภาวะเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก
  • และเกิดรอยฟกช้ำจ้ำใหญ่ทั่วร่างกาย
  • ส่วนใหญ่มักจะมีเลือดออกค่อนข้างรุนแรง ตามการขาดโปรตีนแฟคเตอร์

7. โรคไขกระดูกบกพร่อง

  • เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำ เพราะ ร่างกายสร้างได้ไม่ปกติ ทำให้มีรอยจ้ำหรือรอยช้ำเลือดตามร่างกาย เลือดออกง่าย เช่น
    • เลือดกำเดา
    • เลือดออกในช่องปาก
  • หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

 

รอยช้ำ, แผล ฟกช้ำ, รอย ช้ำ ไม่รู้ สาเหตุ, รอยฟกช้ำ สีม่วง, แผลฟกช้ำ, รอยเขียว, รอยคล้ำ, เส้นเลือด, เลือดออก, จ้ำเลือด, เส้นเลือดฝอย, โรคฮีโมฟิเลีย, ภาวะเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก, โปรตีนแฟคเตอร์, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ลูคีเมีย

8. มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย

  • เป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย จะเกิดขึ้นในไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือด
  • โดยเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติและไม่สามารถกลายเป็นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ได้ จนไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่น ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อง่าย
    • อ่อนเพลีย
    • เลือดออกง่ายผิดปกติ
    • เกิดจ้ำเลือดตามร่างกาย
  • หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วและถูกวิธีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ง่าย

9. ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

  • ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มักแป็นบริเวณขาและเกิดรอยจ้ำเขียว รู้สึกปวดร่วมกับมีอาการบวม
  • แต่ถ้าลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่ปอดอาจทำให้รู้สึก
    • เจ็บหน้าอก
    • ไอ ไอปนเลือด
    • เวียนศีรษะ
    • หายใจถี่และหมดสติ
  • ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต รอย ช้ำที่ไม่เป็นอันตรายส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นและค่อย ๆ จางหายไปเองใน 3 – 7 วัน
  • และมักจะเป็นเฉพาะที่ แต่หากเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือรอย ช้ำมีสีเข้มขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคร้ายแรงได้

ดังนั้น ควรสังเกตร่างกายตัวเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นรอย ช้ำหรืออาการอื่น ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลเวชธานี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

DSI หารือ 3 หน่วยงาน แบ่งภารกิจคลี่ปม "ตึกสตง." ถล่ม
จนท.นำรถแบคโฮเคลียร์พื้นที่ ทำทางขึ้นรถเครนยักษ์ เพื่อนำร่างผู้สูญหายที่เหลือออกมา
"นฤมล-ธรรมนัส" ร่วมต้อนรับ "วีระพงษ์" นายกอบจ.มุกดาหาร สมัครสมาชิก พรรคกล้าธรรม มั่นใจอนาคตเลือกตั้งสนามใหญ่
"เสธหิ" พูดกระแทกใจ "อันที่สุดของไทยนั้นคือชาติ หากพินาศแล้วใครอยู่ได้หนอ"
สาวสุดช็อก จองตั๋วเครื่องบินไป จ.สกลนคร ราคาสูงทะลุ 1.4 หมื่นบาท
เกาหลีใต้จ่อเพิ่มการนำเข้าก๊าซ LNG จากสหรัฐ
สิงคโปร์ชี้สหรัฐทำลายระบบการค้าเสรีที่สร้างมากับมือ
เกาหลีใต้ประกาศเลือกตั้ง 3 มิถุนายน
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม พรุ่งนี้น้ำมันลด "เบนซิน-แก๊สโซฮอล์" ทุกชนิด ปรับราคาลง
“ปลัดฯแรงงาน” เผยจ่ายชดเชยลูกจ้างเสียชีวิต “ตึกสตง.ถล่ม” แล้ว กว่า 19 ล้าน พร้อมดูแลสิทธิผู้บาดเจ็บ ว่างงานเต็มที่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น