แพทย์เตือนภัย “เล่นมือถือ” ในห้องน้ำ เสี่ยง 4 อันตรายไม่รู้ตัว

เล่นมือถือ, ติดโทรศัพท์, ขับถ่าย, ห้องน้ำ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวาร, ท้องร่วง, หน้ามืด เหน็บชา, หน้าจอโทรศัพท์

เตือนภัย สายโซเชียลระวังให้ดี ใครชอบนั่ง "เล่นมือถือ" ในห้องน้ำ เสี่ยง 4 อันตรายไม่รู้ตัว เช็ค

แพทย์เตือนภัย ใครชอบนั่ง “เล่นมือถือ” ติดโทรศัพท์ ขณะขับถ่ายในห้องน้ำบ่อย ๆ ระวังให้ดี เสี่ยง 4 อันตรายย่างกรายไม่รู้ตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตในปัจจุบัน กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทุกคนต้องมีติดตัว ไม่ว่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังใช้ในการติดตามข่าวสาร ท่องโลกโซเชียลอีกด้วย และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลายคนติดโทรศัพท์หนักมา จนถึงขั้นไปนั่ง “เล่นมือถือ” ขณะขับถ่ายในห้องน้ำ ล่าสุด แพทย์เตือนภัย ใครที่มีพฤติกรรมนี้ ระวังเสี่ยง 4 อันตรายมาเยือนโดยไม่รู้ตัว

1. ท้องผูก

  • นอกจากเรื่องอาหารการกินแล้ว การนั่งขับถ่ายอยู่บนชักโครกนาน ๆ รวมถึงการนั่งเฉย ๆ ก็เพิ่มความเสี่ยงท้องผูกมากยิ่งขึ้น
  • เนื่องจาก การใช้โทรศัพท์ขณะขับถ่ายอาจดึงสมาธิ และความสนใจในการถ่ายไปจากเรา
  • ทำให้ต้องใช้เวลาขับถ่ายนานกว่าปกติ และอาจทำให้หายปวดท้องจนไม่ได้ถ่ายไปเลยก็ได้

เล่นมือถือ, ติดโทรศัพท์, ขับถ่าย, ห้องน้ำ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวาร, ท้องร่วง, หน้ามืด เหน็บชา, หน้าจอโทรศัพท์

 

2. ริดสีดวงทวาร

  • การนั่งถ่ายนาน ๆ และการเบ่ง เป็นการเพิ่มแรงดันบริเวณปากทวารหนักโดยไม่รู้ตัว
  • ทำให้เลือดคั่งบริเวณทวารหนัก จนเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร

3. ท้องร่วง

  • โทรศัพท์เป็นหน่ึงในอุปกรณ์ที่เราใช้งานมากที่สุด แน่นอนว่าถ้าเรานำโทรศัพท์เข้าห้องน้ำ ก็ต้องมีการวางตามพื้นที่ต่าง ๆ ในห้องน้ำ กลายเป็นช่องทางส่งผ่านเชื้อโรคที่พบได้ในห้องน้ำ
  • ยิ่งเราไม่ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
  • การหยิบโทรศัพท์แล้วไปหยิบอาหารเข้าปาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคท้องร่วงมากกว่าเดิม

 

4. หน้ามืด เหน็บชา

  • การนั่งบนโถส้วมแบบชักโครก เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดอาการเหน็บชา หน้ามืดได้
  • เนื่องจาก ท่าก้มตัวลงเอาศอกยันต้นขาหรือเข่า เสี่ยงทำให้เกิดเหน็บชาที่ขา และหน้ามืดจากการก้มมองหน้าจอโทรศัพท์ แล้วลุกขึ้นจากโถส้วมอย่างรวดเร็ว จนเกิดอาการหน้ามืดขึ้นได้เช่นกัน
  • หากเกิดอาการหน้ามืดอย่างรุนแรงในห้องน้ำ อาจเกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงชีวิต โดยเฉพาะ
    • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
    • พักผ่อนน้อย
    • ทานอาหารไม่เพียงพอ
    • โลหิตจาง
    • เบาหวานกำเริบ
    • ผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

เล่นมือถือ, ติดโทรศัพท์, ขับถ่าย, ห้องน้ำ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวาร, ท้องร่วง, หน้ามืด เหน็บชา, หน้าจอโทรศัพท์

 

คำแนะนำในการขับถ่ายในห้องน้ำอย่างถูกวิธี

  • ไม่ควรใช้เวลาขับถ่ายในห้องน้ำเกิน 10-15 นาที
  • ควรเข้าไปเพื่อตั้งใจขับถ่ายจริง ๆ หากนั่งนานแล้วยังไม่ถ่ายให้ออกมาจากห้องน้ำก่อน  อาจดื่มน้ำ นม หรือผลไม้ให้มากขึ้น แล้วค่อยรอจนกว่าจะปวดท้อง เพื่อขับถ่ายอีกครั้ง
  • เมื่อขับถ่ายเสร็จให้รีบออกมาจากห้องน้ำทันที

 

ข้อมูล : chulalongkornhospital

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ
นายกฯ รับรายงาน ตร.ไทย-กัมพูชา ร่วมมือทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฝั่งปอยเปต ช่วยเหยื่อคนไทยนับร้อย หลุดพ้น
“เทพไท” เชื่อ 44 อดีตสส.ก้าวไกล ลงชื่อรื้อ แก้ 112 ถูกตัดสิทธิ์ กระทบหนักยิ่งกว่าถูกยุบพรรค
"หม่องชิต ตู่" ส่งกำลังทหารกว่า 150 นาย คุมเข้มเคเคปาร์ค จับหัวหน้าแก๊งคอลเซนเตอร์ กวาดต้อน 450 เหยื่อต่างชาติ
ใต้ป่วนต่อเนื่อง คนร้ายลอบวางบึ้มหน้าร้านสะดวกซื้อ บันนังสตา ตร.เจ็บ 7 นาย-ชาวบ้านอีก 4 เช้านี้บึ้มรถยนต์อีก หน้าห้างสนามบินนราฯ
พรรคไทยก้าวหน้า แถลงขอโทษปชช. แจงคดี “สส.ปูอัด” ขอรอผ่านชั้นอัยการ ก่อนตัดสินใจขับพ้นพรรค
"นิด้าโพล" คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อ "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย" ขัดแย้งจริง แต่เคลียร์จบได้
มาแน่ เช็กรายชื่อ 39 จังหวัด รับมือพายุฝนถล่ม ลมแรง กทม.โดนด้วย ร้อนสุด 37 องศา
"ตม." งัดข้อมูลซัด "โรม" หน้าหงาย ระบบ Biometrics บันทึกข้อมูลทุกคน ระบบ PIBICS คุมคนต่างด้าว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น