ข่าวดีวงการแพทย์ ม.มหิดลสุดเจ๋ง คิดนวัตกรรม Ultrasound Markers ตรวจ โรค "หัวใจพิการ" แต่กำเกิดตั้งแต่ในท้อง สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของความพิการแต่กำเนิด
ข่าวที่น่าสนใจ
เป็นเรื่องน่ายินดีอีกครั้ง เมื่อม.มหิดล สามารถคิดค้น Ultrasound Markers บ่งชี้โรค “หัวใจพิการ” แต่กำเนิดตั้งแต่ในครรภ์ ผลงานของทีมแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยต้องการที่จะรักษาโรคนี้ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของความพิการแต่กำเนิด ซึ่งมีความไวและความจำเพาะในอัตราสูง ทำให้โอกาสในการรอดชีวิตแรกเกิดสูงขึ้นไปด้วย และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Ultrasound in Obsterics and Gynecology เมื่อเร็ว ๆ นี้
เด็กเกิดใหม่ 1,000 จะมีอัตราการเป็นโรคหัว ใจพิการ (TAPVR) แต่กำเนิด ราว 8 คนที่มีการไหลเวียนเลือดของหัวใจผิดปกติ ทำให้เด็กว่า 50% ของคนที่เป็นโรคเกิดอาการที่เรียกว่า ตัวเขียว ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตในท้ายที่สุด
ทางทีมแพทย์จึงนำข้อมูลค่าระยะความยาวของส่วนต่าง ๆ ในหัวใจมาทำการคำนวณจนสร้างเป็นอัตราส่วนค่าหนึ่ง ที่เป็นค่าของเด็กปกติ จากนั้นใช้ค่านี้เป็นมาตรฐานเพื่อตรวจวัดในเด็กคนอื่น ๆ หากพบว่า คนไหนมีอัตราส่วนที่มากกว่าค่าที่กล่าวมา นั่นคือความผิดปกติที่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดทันที ทำให้ทีมแพทย์สามารถเตรียมพร้อมการรักษาได้ตั้งแต่ระยะก่อนคลอดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ต่อไป
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังพบการเกิดโรคหัว ใจพิการแต่กำเนิด TAPVR ไม่บ่อยนัก เนื่องจาก เป็นโรคหัวใจ พิการแต่กำเนิดที่พบน้อยมาก นอกจากนี้ ยังเป็นโรคให้การวินิจฉัยก่อนคลอดได้ยาก ได้น้อยกว่า 10% และยังมีการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวไม่มาก จึงทำให้มีรายงานที่เกี่ยวข้องออกมาไม่มากนัก
ข้อมูล : นิตยสารสาระวิทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง