“ค่าดัชนีความร้อน” บางนา 50.2 ที่รู้สึก ไม่เท่าอุณหภูมิแสดง

ค่าดัชนีความร้อน

ทำความรู้จักกับ "ค่าดัชนีความร้อน" 6 เม.ย. บางนา 50.2 องศาฯ เป็นอุณหภูมิที่รู้สึก ไม่ใช่อุณหภูมิที่เครื่องวัดหรือโทรศัพท์แสดง

TOP News ห่วงใย “ค่าดัชนีความร้อน” ระดับอันตราย ที่นี่ บางนา สูงสุด 50.2 องศาฯ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ตั้งแต่วันที่ 4 – 6 เมษายน 2566 เช็คด่วน ผลกระทบต่อสุขภาพ ข้อแนะนำการรับมือ

ข่าวที่น่าสนใจ

ร้อน

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน (4 – 6 เม.ย.)

จังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค

วันที่ 4 เมษายน 2566 สูงสุด “บางนา” (36.6)

  • ภาคเหนือ : กำแพงเพชร (28.7)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มุกดาหาร (31.4)
  • ภาคกลาง : บ า ง น า (36.6)
  • ภาคตะวันออก : ชลบุรี (33.8)
  • ภาตใต้ : สงขลา (34.4)

วันที่ 5 เมษายน 2566 สูงสุด ชลบุรี (45.8)

  • ภาคเหนือ : แม่สอด จ.ตาก (41.0)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศรีษะเกษ (38.4)
  • ภาคกลาง : บ า ง น า (45.5)
  • ภาคตะวันออก : ชลบุรี (45.8)
  • ภาตใต้ : สงขลา (43.3)

วันที่ 6 เมษายน 2566 สูงสุด บางนา (50.2)

  • ภาคเหนือ : เพชรบูรณ์ (40.6)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศรีษะเกษ (41.5)
  • ภาคกลาง : บ า ง น า (50.2)
  • ภาคตะวันออก : แหลมฉบัง จ.ชลบุรี (49.4)
  • ภาตใต้ : ภูเก็ต (47.9)

ผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน

ระดับเฝ้าระวัง 27 – 32 องศาฯ

  • อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปสดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

ระดับเตือนภัย 32 – 41 องศาฯ

  • เกิดอาการตะคริวจากความร้อนและอาจเกิดอาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ระดับอันตราย 41 – 54 องศาฯ

  • มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด (Heat stroke) ได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ระดับอันตรายมาก >54 องศาฯ

  • เกิดภาวะลมแดด (Heat stroke)

คำแนะนำ

  • สังเกตอาการตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม
  • หลีกเลี่ยงดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ
  • เตรียมเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ 1669

ทั้งนี้ ดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยการนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น ไม่ใช่อุณหภูมิที่เครื่องวัดหรือโทรศัพท์แสดง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. ชวนประชาชนร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 2-8 เม.ย.นี้ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
“ว้าแดง” ขนยาเย้ยอาฟเตอร์ช็อก! “ทัพเจ้าตาก” ซัดโป้ง ยึด 1.2 ล้านเม็ด
"SEP GROUP" รุกสร้างท่าเทียบเรือแห่งแรก "บางปู" แก้ปัญหาจราจร กระตุ้นท่องเที่ยวทางทะเล
"กทม." แถลงความคืบหน้า อาคาร สตง.ถล่ม ค้นหาผู้สูญหาย 79 ราย เร่งเจาะคอนกรีตลึก 2 เมตร หวังพบผู้ติดค้าง
รวบแล้ว "2 โจ๋" ทดลองทำระเบิด โยนตามถนน เด็ก 9 ขวบเก็บมาเล่น ดับสลด
มาแน่ "กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 7 เตือน "ภาคใต้" ฝนตกหนักถึงหนักมาก จว.ไหนบ้างเช็กเลย
นักวิเคราะห์ชี้ทรัมป์จ้องเล่นอินโดจีนเพราะสนิทจีน
"กรมศิลปากร" จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
"ก.แรงงาน" จ่อฟ้อง 21 บริษัท เรียกร้องเงินเยียวยา ผู้ประสบเหตุอาคาร สตง.พังถล่ม พร้อมดูแลญาติเหยื่อต่อเนื่อง 10 ปี
"ตร.ไซเบอร์" เปิด 4 ปฏิบัติการ รวบ 7 ผู้ต้องหาแก๊งลวงออนไลน์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น