“โรคลมแดด” 6 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากภาวะฮีทสโตรก ภัยร้ายในฤดูร้อน

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

รู้ไว้ใช่ว่า 6 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น "โรคลมแดด" ภาวะฮีทสโตรก (Heatstroke) ภัยอันตรายที่มาพร้อมฤดูร้อน ยอดผู้เสียชีวิตพุ่ง 43 รายต่อปี

เปิด 6 ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก “โรคลมแดด” วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด (heat stroke) วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก ป้องกัน ฮี ท ส โตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรคลมแดด” ฮี ท ส โตรก เกิดจากอะไร

  • เกิดจากร่างกายไม่สามารถจัดการลดอุณหภูมิที่สูงมากลงให้เป็นปกติได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกายตามมา
  • โดยเริ่มจากการอยู่ในสถานที่ที่มีความร้อน โดยไม่จำเป็นว่าต้องอยู่กลางแจ้ง อาจจะเป็นในห้องหรือสรานที่ที่ไม่ระบายความร้อนก็ได้เช่นในรถ หรือมีการออกกำลังกายทำให้ร่างกายมีการผลิตความร้อนมากขึ้น
  • พอโดนแดดร้อนมาก ๆ ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ พอสูงมากเกินไปก็ทำให้
    • อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไป
    • เซลล์และปฏิกิริยาต่าง ๆ ก็หยุดทำงานไป
    • ตับไตสมองเสียหาย
  • โดยปกติร่างกายเราก็พยายามปรับตัวระบายความร้อนด้วยกลไกต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
  • โดยอุณหภูมิของร่างกายปกติอยู่ที่ 36 – 37.5 ดีกรีเซลเซียส
    • เส้นเลือดที่บริเวณผิวหนังจะมีการขยายตัว
    • หัวใจจะเพิ่มการสูบฉีดเลือด
    • ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น
    • เหงื่อออกเยอะก็จะเพิ่มการระบายความร้อน
    • แต่เมื่อเหงื่อออกมากก็จะทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ พอร่างกายเรารู้ตัวว่ามีการขาดน้ำร่างกายก็จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยเลือกที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไตมากกว่าส่งไปที่ผิวหนัง ทำให้มีการระบายเหงื่อลดลง
  • ในคนปกติก็จะสามารถจัดการควบคุมความร้อนได้ แต่ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ก็จะมีการปรับตัวตรงนี้ได้ไม่ดีจึงทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรค ลมแดดมากกว่าคนอื่น

 

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

 

โรค ลม แดด อาการ

  • อ่อนเพลีย
  • กระหายน้ำ
  • มีเหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ปวดมึนศีรษะ หน้าแดง
  • ไปจนถึงมีอาการมากและเป็นอันตรายอัน ได้แก่
    • อาการกระสับกระส่าย
    • มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
    • ไม่มีเหงื่อ เนื่องจากร่างกายขาดน้ำมาก จนนำไปสู่อาการหมดสติ ชัก
    • ความดันโลหิตต่ำในขั้นสุดท้าย อาจเกิด ไตวายและเสียชีวิตได้ หากวินิจฉัยและรักษาได้ไม่ทันท่วงที

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • ผู้ป่วยที่มีไข้หรือมีการติดเชื้อในร่างกายมาก่อน
  • ผู้สูงอายุและเด็ก
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคผิวหนังแข็ง
  • ผู้ที่กินยาบางชนิด เช่น
    • ยาขับปัสสาวะ
    • ยาจิตเวช
    • ยาโรคสมอง

ซึ่งยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ทำให้มีเหงื่อออกน้อยลง ในคนไข้ที่รับประทานยาประเภทนี้อยู่แนะนำ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุก ครั้งที่จะต้องทำกิจกรรม กลางแจ้งหรือออกแดดจัด ๆ หรือเป็นเวลานานและไม่ควรปรับเปลี่ยนยาเอง

  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดโคเคน ยาบ้าหรือดื่มสุรา
  • อดนอน
  • ผู้ที่ใส่เสื้อผ้าหนาระบายอากาศไม่ดี เสื้อผ้ามีสีเข้มซึ่งทำให้ดูดความร้อนมากขึ้น

 

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

การวินิจฉัย

ในรายที่สงสัยจะเป็น “โรคลมแดด” ส่วนมากจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ต้องอยู่ในที่ร้อน ๆ หรือมีการออกแดด
  • ตัวร้อนมาก วัดอุณหภูมิร่างกายได้มากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการหน้ามืด เป็นลม เวียนศีรษะ เดินไม่ตรง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

เราจะแยกคนเป็นลมแดดกับเป็นลมจากสาเหตุอื่นได้อย่างไร

  • อยู่กลางแดดหรือในที่ที่ร้อนจัด
  • ตัวร้อนจัด ผิวแห้ง ไม่มีเหงื่อ

6 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากโรค ลมแดด ภาวะฮีทสโตรก

  • พาออกมาจากสถานที่นั้น มาอยู่ในที่ร่มและมีอากาศเย็นถ่ายเทความร้อนได้ดี
  • หากคนไข้ใส่เสื้อผ้าที่หนาและไม่ระบายความร้อน ควรปลดเสื้อผ้าออก เพื่อเพิ่มการระบายความร้อน
  • ทำการจัดท่าคนไข้โดยยกขาสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความดันโลหิต

 

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

 

  • หากคนไข้พอรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำมาก ๆ จะเป็นน้ำธรรมดา หรือน้ำเย็น ก็ได้แต่ห้ามใช้น้ำร้อน
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอาจจะเป็นน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดา เช็ดตัวตามข้อพับ แขน ขา ซอกคอ ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
  • ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการมาก เช่น
    • เป็นลม
    • หมดสติ
    • ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานานโดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยในกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและมีการเตรียมตัวทั้งก่อนออกแดดและในช่วงที่อยู่กลางแดดด้วย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อน คนปกติควรดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตรหรือ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ในระหว่างที่ออกแดดควรเตรียมน้ำดื่มไปด้วย โ
  • ควรใส่เสื้อผ้าที่มีการระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย และมีสีอ่อน ควรมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น หมวก และ ร่ม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์

 

 

ข้อมูล : mahidol

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”
รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ฯ นำ จนท.ตรวจสารเสพติดทหารใหม่ 2,911 นาย เพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
รถบรรทุกปูนพลิกคว่ำขวางถนนรถติดยาวหลายกิโล
รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคอีสาน คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง
เลือกตั้งสหรัฐ: ทั้งสองพรรคมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
แคปซูลส่งกลับ 'เสินโจว-18' ของจีนแตะพื้นโลกปลอดภัย
ผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ "หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง" เอาผิดฐานฉ้อโกง หลังหลอกให้สั่งซื้อวัตถุมงคลแพงลิ่ว
แวะปั๊มก่อนเลย พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับทุกชนิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น